xs
xsm
sm
md
lg

“เต็งเส่ง” ผ่านกฎหมายที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนมองว่ามีเป้าหมายโจมตีชาวมุสลิม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ส่งเสริมแนวคิดชาตินิยมตีพิมพ์โดยกลุ่มมะบะธาวางอยู่ในสำนักงานกลุ่มชาวพุทธ ในนครย่างกุ้ง วันที่ 26 ส.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่งรับรองกฎหมายการมีคู่ครองคนเดียวหลังร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านรัฐสภาเมื่อวันที่ 21 ส.ค. โดยเป็น 1 ใน 4 ร่างกฎหมายที่กลุ่มพระสงฆ์หัวรุนแรงให้การสนับสนุน และถูกมองว่ามีเป้าหมายที่ชาวมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีพม่า ลงนามผ่านกฎหมายในร่างกฎหมายฉบับสุดท้ายจากทั้งหมด 4 ฉบับ ที่พระสงฆ์หัวรุนแรงให้การสนับสนุน แต่ถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชนประณามว่า มีเป้าหมายเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในประเทศ

ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ลงนามร่างกฎหมายการมีคู่ครองคนเดียว หลังร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านรัฐสภาเมื่อวันที่ 21 ส.ค. ซอ เต เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำสำนักงานประธานาธิบดี กล่าวต่อรอยเตอร์ โดยกฎหมายดังกล่าวถูกส่งกลับไปที่รัฐบาลเพื่อตรวจสอบเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนลงนาม โดยร่างกฎหมายนี้กำหนดบทลงโทษต่อผู้ที่มีคู่สมรสมากกว่า 1 คน หรืออาศัยอยู่กับคู่โดยที่ยังไม่แต่งงาน และไม่ใช่คู่สมรส

รัฐบาลปฏิเสธว่า กฎหมายมีเป้าหมายที่ชาวมุสลิม ซึ่งมีจำนวนราว 5% ของจำนวนประชากรในประเทศทั้งหมด และบางส่วนมีคู่ครองหลายคน

ประธานาธิบดียังลงนามกฎหมายอีก 2 ฉบับ ที่จำกัดการเปลี่ยนศาสนา และการสมรสระหว่างศาสนา เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ซอ เต กล่าว

มาตรการต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายคุ้มครองศาสนาและเชื้อชาติ 4 ฉบับ ที่คณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองเชื้อชาติและศาสนา หรือมะบะธา ให้การสนับสนุน

ด้านฮิวแมนไรท์วอช ระบุว่า กฎหมายเหล่านี้เป็นอันตรายสำหรับพม่า

“พวกเขาออกกฎหมายเลือกปฏิบัติต่อพื้นฐานทางศาสนา และมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างชุมชน สิ่งที่น่ากังวลคือ พวกเขาจะดำเนินการ และบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้อย่างไร” ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอชภูมิภาคเอเชีย กล่าว

ในเดือน พ.ค. ประธานาธิบดีลงนามร่างกฎหมายควบคุมประชากรที่มะบะธาให้การสนับสนุน ที่บังคับให้ผู้หญิงบางส่วนเว้นช่วง 3 ปี ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง

กลุ่มมะบะธาที่นำโดยพระสงฆ์ ยังแสดงความไม่พอใจต่อชาวมุสลิมด้วยการกล่าวหาว่า จะเข้าควบคุมพม่า และกลืนชาวพุทธ

ประชาชนหลายร้อยคนเสียชีวิตในเหตุความรุนแรงทางศาสนาในพม่า และในปี 2555 เหตุการณ์ในรัฐยะไข่ ทำให้ประชาชนมากกว่า 140,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมโรฮิงญาต้องไร้ที่อยู่อาศัย.
กำลังโหลดความคิดเห็น