xs
xsm
sm
md
lg

ไปดูดาวเทียมอีกดวงของ NASA ผ่าข้างตาไต้ฝุ่น “อัสนี” ด้วยเทคโนโลยีล้ำเลิศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<FONT color=#00003>ภาพสามมิติเมื่อมองจากทางทิศตะวันตกของไต้ฝุ่นอัสนี (Atsani) เมื่อวันที่ 19 ส.ค. ซึ่งองค์การนาซา นำออกเผยแพร่ตอนเช้าตรู่วันศุกร์ 21 ส.ค.นี้ ตามเวลาในประเทศไทย ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม MTSAT ของญี่ปุ่น กับดาวเทียมคลาวด์แส็ต (Cloudsat) ของสหรัฐ เป็นการ ผ่าด้านข้าง บริเวณนัยน์ตาแห่งพายุ (Eye of Storm) หรือ บริเวณใกล้ศูนย์กลางของซูเปอร์ไต้ฝุ่น ย่านสีแดงกับสีชมพูแทนมวลของเหลวกับไอน้ำที่ควบแน่นเป็นน้ำแข็ง สีฟ้าอ่อนแสดงละอองเมฆ ซึ่งต่างไปจากเมื่อมอง ผ่านัยน์ตา จากด้านบน ที่จะเห็นฝนตกหนักกับฟ้าคะนอง เทคโนโลยีสามมิติทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถมองเห็นทุกส่วนของพายุได้ชัดเจน. -- JAXA/NASA/Colorado State University/Natalie D Tourville. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งสหรัฐฯ หรือนาซ่า เพิ่งจะเปิดเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหว กับภาพพิมพ์สามมิติชิ้นใหม่เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับเวลาเช้าตรู่ในประเทศไทย เปิดเผยให้เห็นผลงานของดาวเทียมอีกดวงหนึ่งเกี่ยวกับไต้ฝุ่นอัสนี (Atsani) ที่กำลังอาละวาดอยู่ในทะเลแปซิฟิกตะวันตกขณะนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานพยากรณ์อากาศทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก

เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้เพียงข้ามวัน องค์การนาซ่าได้เผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวสามมิติ จากการเก็บข้อมูลของดาวเทียม GPM แสดงการ “เจาะนัยน์ตา” ของไต้ฝุ่นชื่อไทย ในขณะที่ทวีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นไต้ฝุ่นะดับ 4 ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดคำนวณปริมาณฝน ความเร็วลม กับทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุรุนแรงได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดได้มากขึ้น

สำหรับงานชิ้นใหม่นี้เกิดจากการวบรวมข้อมูลโดยดาวเทียมอีกดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า “คลาวด์แส็ต” (Cloudsat) ในขณะที่เคลื่อนผ่านทิศตะวันตกของไต้ฝุ่นอัสนี บนห้วงอวกาศ และด้วยระบบเรดาร์ที่ก้าวหน้า ดาวเทียมดวงนี้สามารถเก็บข้อมูลที่สำคัญต่างๆ จากด้านข้างของพายุใหญ่ได้ ก่อนจะส่งเข้าศูนย์ควบคุมการบินอวกาศก็อดดาร์ด ในรัฐแมรีแลนด์ และกลายเป็นภาพสามมิติที่ดูละลานตา หาดูได้ไม่บ่อยนัก

ภาพสามมิติที่มองจากด้านข้างช่วยทำให้เห็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “อายวอลล์” (Eye Walls) หรือ “กำแพงแห่งนัยต์ตา” ที่ปรากฏเป็นชั้นๆ อันเกิดจากวัตถุ หรือมวลสารที่แตกต่างกัน ภายในบริเวณใจกลางของพายุ เป็นการแสดงข้อมูลต่างๆ ในแนวดิ่งที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยให้นักวิทยาศาาสตร์สามารถคิดคำนวณปริมาณฝน รวมทั้งปริมาณไอน้ำที่เกิดการควบแน่น กลายเป็นนำแข็งอยู่ในย่านใจกลางของซูเปอร์ไต้ฝุ่นได้

ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อไต้ฝุ่นสักดวงหนึ่งกำลังจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในอาณาบริเวณที่มีประชาชนอยู่อาศัยกันหนาแน่น หรือเป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่ก่อสร้าง ข้อมูลที่เพียงพอจะช่วยให้การเตือนภัยล่วงหน้า และทำให้การตระเตรียมรับมือเพื่อลดผ่อนความเสียหายจากพายุ สามารถเป็นไปได้สูงสุด
.

.
อัสนี ปั่นตัวขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 แข็งแรงเต็มกำลังในระดับ “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาในท้องถิ่น

ดาวเทียมคลาวด์แส็ต เคลื่อนผ่านย่านแปซิฟิกตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เรดาร์เก็บข้อมูลเมฆ” (Cloud Profiling Radar- CPR) จากด้านข้างของไต้ฝุ่นอัสนีเมื่อเวลา 03.27 น. ขณะที่พายุใหญ่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเกือบ 130 นอต (240 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เมื่อรวบรวมนำไปวิเคราะห์กับข้อมูลจากดาวเทียม MTSAT ของญี่ปุ่น ทำให้ได้ภาพสามมิติที่น่าตื่นตาตื่นใจออกมา

เมื่อเวลา 09.00 น.วันพฤหัสบดี 20 ส.ค.นี้ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นชื่อไทยได้ทวีความเร็วแรงขึ้นอีก ปั่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นเกือบ 135 นอต หรือ 250 กม./ชม. กลายเป็นไต้ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่มหึมา และมีพลังมหาศาลที่สุดอีกลูกหนึ่งในย่านแปซิฟิกตะวันตก นาซาระบุในเอกสารแถลงข่าวที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ตอนเช้าตรู่วันศุกร์ 21 ส.ค.นี้ ตามเวลาในประเทศไทย

หลายประเทศในย่านนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิลิปปินส์ กับเวียดนาม จะต้องขอบคุณซูเปอร์ไต้ฝุ่นอัสนี ที่กลายเป็นแรงเหนี่ยวสำคัญ ฉุดรั้ง ดูดไต้ฝุ่นอีกลูกหนึ่งไม่ให้บ่ายหน้าข้ามหมู่เกาะ และเข้าสู่ทะเลจีนใต้ สร้างความเสียหายในย่านนี้

ตรงกันข้าม ไต้ฝุ่นโคนิ (Coni) ชื่อเกาหลี กำลังถูกไต้ฝุ่นอัสนีกดดันด้วยพลังที่เหนือกว่าดึงดูดให้เคลื่อนตัวทำวงโค้ง เฉียดเกาะลูซอน ทางตอนเหนือสุดของฟิลิปปินส์ กลับออกสู่ทะเลแปซิฟิกตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง โดยเคลื่อนตัวเฉียดทางตะวันตกเฉียงใต้เกาะไต้หวัน ไปทางทิศใต้หมู่เกาะญี่ปุ่น และจะเริ่มอ่อนกำลังลงในตอนเช้าวันศุกร์นี้.
.
<FONT color=#000033>ภาพ สองมิติ ไต้ฝุ่นอัสนี วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ถ่ายเอาไว้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า AIRS บน ดาวเทียมอะควา (Aqua) ขององค์การนาซา ส่วนสีม่วงแสดงอุณหภูมิ บนปลายยอดสุดของซูเปอร์ไต้ฝุ่น ที่เย็นจัดถึง -81.6 องศาเซลเซียส และ เห็นฝนฟ้าคะนองในย่านใจกลาง หรือ นัยน์ตาของพายุ แต่ไม่สามารถบอกอะไรได้มากเท่ากับภาพสามมิติ. -- NASA JPL/Ed Olsen. </b>
2
<FONT color=#00003>แผนภูมิของ Tropical Storm Risk ในกรุงลอนดอนที่ออกวันพฤหัสบดี แสดงทิศทางเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่นคู่แฝดโคนิ (Coni) และ อัสนี (Atsani) ในช่วงวันสองวันนี้ หลายประเทศจะต้องขอบคุณซูเปอร์ไต้ฝุ่นชื่อไทย ที่มีส่วนช่วยดึงไต้ฝุ่นระดับ 3 ชื่อเกาหลี กลับออกสู่ทะเลแปซิฟิกตะวันตก ไม่ทะลวงเข้าทะเลจีนใต้ และ ไม่ให้ไปขึ้นฝั่งที่ใดๆ.  </b>
3
<FONT color=#000033>สองวันก่อนหน้านี้ ดาวเทียม GPM ของนาซาได้เก็บข้อมูล ทำภาพสามมิติเคลื่อนไหวของไต้ฝุ่นอัสนี ในมหาสมุทรแปซิฟิก ในวันที่ 19 ส.ค.2558 ดาวเทียมดวงเดียวกันนี้ ได้เก็บข้อมูล เพื่อทำภาพสามมิติการก่อตัวของพายุโซนร้อนแดนนี (Danny) ในอีกซีกหนึ่งของโลก ด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าเดียวกัน วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้ยกระดับตัวเองขึ้นเป็นเฮอริเคน ซึ่งก็คือ ไต้ฝุ่น ในมหามุทรแอตแลนติก แดนนี กลายเป็นเฮอริเคนลูกแรกแห่งปี นาซากล่าวในเว็บไซต์. -- SSAI/NASA/Hal Pierce. </b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น