xs
xsm
sm
md
lg

เลขาฯ พรรครัฐบาลพม่าเผยไม่หวังชนะเลือกตั้ง ขณะความสัมพันธ์หัวหน้าพรรคกับกองทัพตึงเครียด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ชูป้ายสนับสนุนอองซานซูจี (ไม่ปรากฏในภาพ) หลังซูจีเข้ายื่นใบสมัครที่ศาลย่างกุ้ง เพื่อร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง โดยซูจีจะลงรับสมัครในเขตเลือกตั้งกอมู ที่ซูจีเคยชนะเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งซ่อมปี 2555.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - พรรครัฐบาลพม่ายอมรับในวันนี้ (29) ว่า พรรคกำลังเผชิญต่อการสูญเสียครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไป ที่ดูเหมือนว่าพรรคฝ่ายค้านของนางอองซานซูจี จะเป็นฝ่ายกวาดคะแนนเสียง ท่ามกลางความตึงเครียดเพิ่มสูงระหว่างหัวหน้าพรรครัฐบาล และกองทัพทหาร

พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) พรรคการเมืองกึ่งพลเรือนที่เป็นการรวมตัวใหม่ของอดีตรัฐบาลทหารซึ่งเต็มไปด้วยอดีตนายทหาร ชนะการเลือกตั้งในปี 2553 อย่างถล่มทลาย เมื่อพรรคลงเลือกตั้งอย่างไร้คู่แข่ง เนื่องจากนางอองซานซูจี ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมตัวในบ้านพัก และพรรคของซูจี คว่ำบาตรการเลือกตั้ง

แต่ความรู้สึกเชิงลบกำลังก่อตัวขึ้นก่อนการเลือกตั้งเดือน พ.ย. จะมาถึง

“เราไม่คาดหวังผลชนะเช่นเดียวกับในปี 2553 มันเป็นไปไม่ได้” หม่อง หม่อง เต็ง เลขาธิการพรรค USDP กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในงานประกาศผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเขตนครย่างกุ้ง

การประกาศยอมรับมีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพที่ยังคงทรงอำนาจ กับฉ่วย มาน หัวหน้าพรรค และประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เผยว่า หวังนั่งตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ค่อยหวานชื่นนัก

ฉ่วย มาน เผชิญต่อการคัดค้านจากนายทหารในเขตเลือกตั้งของเขาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเกี่ยวกับความพร้อมของ ฉ่วย มาน ที่จะสนับสนุนซูจี ที่พยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดห้ามหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านจากตำแหน่งสูงสุดของประเทศ

แต่อดีตหมายเลข 3 ในรัฐบาลเผด็จการทหารผู้นี้ ได้แสดงความคิดเห็นลงบนเฟซบุ๊กของเขาเองด้วยการยืนยันว่า เขากระทำด้วยเห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติ และระบุว่า เขาพร้อมที่จะท้าทายอำนาจของกองทัพ และประธานาธิบดีเต็งเส่ง

และจากการให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานนี้ที่ฉ่วย มาน ถูกถามว่า เขาจะยืนข้างซูจี ต่อต้านประธานาธิบดี และผู้บัญชาการทหารหรือไม่ ฉ่วย มาน ได้ตอบว่า ถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่านั้นคือเขาอยู่กับซูจี และประชาชน

ความเป็นศัตรูของทหารต่อฉ่วย มาย ได้ก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความจงรักภักดีทางการเมืองระหว่างพรรครัฐบาล และกองทัพที่ได้สร้างไว้ แต่ความไม่แน่นอนก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประเทศมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้ง

พม่า หลุดพ้นจากการปกครองของทหารหลังการเลือกตั้งปี 2553 ด้วยรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของเต็งเส่ง ที่ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเมือง ปลดประเทศออกจากการโดดเดี่ยวและรับการลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามายังประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรแห่งนี้

แต่ซูจี ที่เดินเข้าสภาในปี 2555 ได้เตือนว่า การปฏิรูปประเทศได้หยุดชะงัก เนื่องจากมีนักเคลื่อนไหวถูกจับกุมตัว และเสรีภาพสื่อถูกจำกัด

ซูจี ยังคงถูกห้ามจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดี ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่ร่างขึ้นโดยรัฐบาลทหาร ซึ่งกำหนดห้ามผู้ที่มีบุตรเป็นชาวต่างชาติจากตำแหน่งดังกล่าว

กองทัพที่ครองเก้าอี้ 1 ใน 4 ของรัฐสภาได้ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะยินยอมให้ลดบทบาททางการเมืองของตนเอง โดยเมื่อเดือนก่อน สภาได้ลงมติไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชุดหนึ่งที่รวมบทบัญญัติที่จะยกเลิกสิทธิการยับยั้งของทหารต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ.
กำลังโหลดความคิดเห็น