xs
xsm
sm
md
lg

ตื่นตาไปกับ GoPro บน F-15SG เหนือมารีน่าเบย์สิงคโปร์ วิดีโอหาดูได้ยาก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>หลายคนอาจจะเคยเห็น F16, F-18 หรือ F-22 แร็ปเตอร์ แม้กระทั่ง Su-27/30, Su-35 และ  MiG-29 ทำ High-G Turn มามากต่อมาก แต่ไม่ใช่ F-15SG และ ไม่ใช่ที่นี่ .. เหนือมาริน่าเบย์ สิงคโปร์.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กองทัพอากาศสิงคโปร์เพิ่งเผยแพร่วิดีโอคลิปชิ้นหนึ่งในเว็บไซต์เมื่อไม่กี่วันมานี้ แสดงให้เห็นความสามารถของนักบินบนเครื่องบินขับไล่โจมตี F-15SG ลำหนึ่ง ขณะบินเหนือมารินาเบย์ (Marina Bay) กับ ความสวยงามของทัศนียภาพที่อยู่เบื้องล่าง ทั่วอาณาบริเวณ จนถึงท่าเรือ กับ ช่องแคบที่เรือสินค้าพลุกพล่าน เป็นภาพเคลื่อนไหวระบบ HD จากกล้อง GoPro ติดตั้งในห้องนักบิน

เพียง 4 วันที่ผ่านมา มีผู้คลิกเข้าชมแล้วกว่า 174,000 คน และ กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะวิดีโอชิ้นนี้ กำลังแพร่ออกไปทั่วโลก ผ่านสื่อต่างๆ มารินาเบย์เป็นย่านอ่าวทันสมัยที่พัฒนาจากบริเวณท่าเรือเขตเมืองเก่า และ ถมทะเลออกไป แวดล้อมด้วยแหล่งธุรกิจ ตึกสูง ที่ทำการของรัฐบาล รัฐสภา และ ยังเป็นแหล่งกินเที่ยว กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของสิงคโปร์ในยุคใหม่ ที่ดึงดูดเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล แต่เหนือสิ่งอื่นใด สูงขึ้นไปจากพื้น บริเวณนี้เป็นเขตหวงห้าม ที่ไม่อนุญาตให้อากาศยานชนิดใด บินผ่านได้ง่ายๆ ยกเว้นวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งเอกราช

การฉลองวันชาติทุกปี จะมีการแสดงแสนยานุภาพของกองทัพ ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดโชว์ "พาเหรดบนท้องฟ้า" ซึ่งทุกคนต่างรอคอย ชม "การบินผ่าน" ของเครื่องบินทัพฟ้านานาชนิด แต่ก็ไม่มีไม่บ่อยครั้งที่ เป็นภาพจากข้างบน ฉายลงไปจะแสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง

นักบินของ F-15SG ลำที่ปรากฎในวิดีโอคลิป บินเกาะกลุ่มกับอีกหลายลำใน Air Parade แต่ได้แยกตัวออกไปเพื่อโชว์ "ท่ายาก" โดยเฉพาะ ใน HD วิดีโอที่ถูกติดออกไป จนเหลือความยาวเพียง 50 วินาทีเศษเท่านั้น แต่ทุกวินาทีสุดคุ้ม ..

กล้อง GoPro แสดงให้เห็นบริเวณอ่าวอันสวยงามที่อบู่เบื้องล่าง กับ บริเวณท่าเรือและช่องแคบอังเวิ้งว้างที่อยู่ไกลออกไป จดเส้นขอบฟ้า ขณะนักบินทำ High-G Turn ก่อนจะนำเครื่องของเขาบินไต่ระดับความสูงเป็นแนวดิ่ง
.
Majulah Singapura - F-15SG High-G Combat Turn

WOAH! Did you just hear the ROAR of our F-15SGs?! As promised, here's the EXCLUSIVE VIDEO of our F-15SG performing the High-G Combat Turn over the Marina Bay area for #NDP2015!For those who have been catching it over the weeks, can you spot where you were? Tell us if you do! :DNDPeeps Singapore50 #SG50 #SAF50

Posted by The Republic of Singapore Air Force on Saturday, July 18, 2015

.
การทำ High-G Turn เป็นยุทธวิธีพื้นฐาน ที่ส่วนใหญ่จะใช้ในการป้องกันตัวจากกระสุนปืน หรือ จรวดต่อสู้อากาศยานของข้าศึกเป็นหลัก เป็นหนึ่งในบรรดากระบวนยุทธ ในการฝึกพื้นฐาน (Basic Fighter Maneuvers) หรือ BFM ที่ฝึกกันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงไม่นานหลังจากเริ่มมีสงครามทางอากาศ ซึ่งนักบินทุกขับไล่จะต้องผ่านให้ได้ เพื่อใช้ในยามที่จะต้องเข้าพันตูกลางหาวกับฝ่ายตรงข้าม ในการต่อสู้ที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Air Combat Maneuvering หรือ ACM แต่ รู้จักกันดีกว่าในชื่อ "ด็อกไฟต์" (Dogfighting)

ถึงแม้ว่าในอากาศยานยุคใหม่ ที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ต มีความเร็วสูงขึ้นกว่าเครื่องบินเครื่องยนต์ใบพัด เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1-2 อย่างเทียบกันไม่ได้ก็ตาม แต่การทำ High-G Turn ก็ยังจำเป็น และ ยิ่งต้องฝึกกันหนักยิ่งกว่าเดิม นักบินที่นำเครื่องออกปฏิบัติการ ต้องใช้เทคนิคพื้นฐานนี้ ในวินาทีอันฉุกเฉิน ที่จะต้องเอี้ยวตัวหลบจรวดต่อสู้อากาศยาน ที่พุ่งเข้าหาด้วยความเร็วสูง เทคนิคนี้สามารถช่วยเซฟชีวิตนักบินมามากต่อมาก และ เซฟเครื่องบินทั้งลำเอาไว้ได้ในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนจะตั้งตัวรับอีกรอบ

แต่ High-G Turn เป็นช่วงที่อากาศยานหักเลี้ยวกระทันหัน เป็นวงแคบๆ ลำตัวตั้งฉากกับใจกลางของโลก ขณะที่ใช้ความเร็วสูงมาก ซึ่งแรงเหวี่ยงจะทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล กดดันเป็นเท่าทวี ยิ่งเร็วก็ยิ่งมาก โอกาสที่เครื่องบินจะพัง เครื่องยนต์จะพัง และ อันตรายต่อนักบินเอง มีพอๆ กัน

ไม่ต่างไปจากการทำ "ชู้ตอัพ" ซึ่ง G-Force จะดึงหน่วงเอาไว้ด้วยพลังมหาศาล ขณะอากาศยานพุ่งดิ่ง หนีจากใจกลางของโลก เป็นช่วงที่จะต้องรีดพลังงานสูงสุดจากระบบ "อาฟเตอร์เบิร์นเนอร์" (Afterburner) หรือ ระบบสันดาปท้ายเครื่องยนต์ ในเครื่องบินเจ็ตยุคใหม่ เป็นช่วงที่เครื่องบินต้องใช้เชื้อเพลิงสิ้นเปลืองมากที่สุด แม้จะในเวลาในเพียงไม่กี่วินาทีก็ตาม

การพุ่งขึ้นสู่อวกาศในแนวดิ่งอย่างทันทีทันใด จะทำให้ของเหลวในร่างกายของนักบิน ไหลเทลงสู่ส่วนที่อยู่ต่ำลงไปอย่างทันใด อวัยวะทุกอย่างเริ่มไม่ตอบสนอง และ จะรุนแรงที่สุดเมื่อถึงขั้น G-LOC คือ นักบินหมดสติ (Loss of Consciousness) ในขณะที่เครื่องบินไม่ได้อยู่ในโหมดไฟลต์คอนโทรลปรกติ .. เครื่องไร้การควบคุม เสียการทรงตัว หันหัวกลับ โหม่งโลก.. ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ในเสี้ยววินาที

เพื่อลดความรุนแรง และ ช่วยลดโอกาสที่จะเกิด G-LOC ก็จึงมีการคิดค้น G-Suit ขึ้นมา ช่วยลดอันตราย เพื่อความปลอดภัยของนักบิน ..

เครื่องบินในครอบครัว F-15 มีชื่อ ในเรื่องความคล่องตัวสูง ในระดับเดียวกันกับ Su-27/30 ของโซเวียต/รัสเซีย รวมทั้ง J-11B ของกองทัพประชาชนจีน ที่ลอกเลียนทุกอย่างจาก Su-27 ถึงแม้จีนจะตั้งราคาคุย เอาไว้สูงเท่ากับ F/A-18 "ซูเปอร์ฮอร์เน็ต" ของกองทัพอากาศสหรัฐก็ตาม .. แต่ F-15 ผ่านการพิสูจน์ตัวเองมาอย่างโชกโชน ทั้งในสงครามอ่าวเปอร์เซีย และ สมรภูมิในยุโรป

สิงคโปร์ตัดสินใจซื้อ F-24SG "ไสตรค์อีเกิ้ล" (Strike Eagle) จำนวน 24 ลำ โดยมี "อ๊อพชั่น" ระหว่างปี 2548-2550 เพื่อนำเข้าประจำการแทน A-4SU "ซูเปอร์สกายฮอว์ก" (Super Skyhawks) ทีใช้มานาน คู่แข่งในรอบสุดท้ายของ F-15SG คือ ราฟาล (Rafale) โดยดาซอลต์ แห่งฝรั่งเศส

แต่เอกสารการลงทะเบียนอากาศยานชิ้นหนึ่ง ที่บริษัทโบอิ้งผู้ผลิตรายงานถึงกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในเดือน ส.ค.2557 แสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ซื้อเครื่องบินรบรุ่นนี้ถึง 32 ลำ และ อาจจะถึง 40 กองทัพอากาศของประเทศเกาะเล็กๆ แต่ร่ำรวยแห่งนี้ ยังมี F-16C/D ที่อัปเกรดขึ้นเป็น "บล็อค 52" รวมกันอีกกว่า 60 ลำ.
กำลังโหลดความคิดเห็น