xs
xsm
sm
md
lg

ยอดจำหน่ายหยกพม่าลดฮวบ เหตุแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พ่อค้าหยกกำลังตรวจสอบก้อนหยกที่พม่านำมาจัดประมูลในงานแสดงอัญมณีพม่า ครั้งที่ 52 ในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.--Xinhua/U Aung.</font></b>

รอยเตอร์ - รายได้จากการจัดแสดงอัญมณีประจำปีในพม่าที่สิ้นสุดลงในสัปดาห์นี้ ลดลงถึง 63% จากปีก่อนที่ 1,260 ล้านดอลลาร์ ซึ่งยอดขายที่ลดลงดังกล่าวมีสาเหตุมาจากผลผลิตที่มีอย่างจำกัดเพราะการต่อสู้ในรัฐกะฉิ่น

ยอดขายลดลงจากปี 2557 ที่ทำรายได้ไว้มากถึง 3,400 ล้านดอลลาร์ เพราะการปะทะกันระหว่างกองกำลังของรัฐบาล และกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) ที่ปฏิเสธเข้าร่วมในกระบวนการสันติภาพทั่วประเทศจนกว่าจะตกลงเงื่อนไขกันได้ ส่งผลให้การผลิตหยกต้องหยุดชะงัก

“สาเหตุสำคัญที่ยอดจำหน่ายลดลงคือ การผลิตหยกลดลงเพราะการต่อสู้ที่ยังดำเนินต่อเนื่อง” เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงเหมืองแร่พม่า กล่าว

รัฐกะฉิ่น เป็นพื้นที่ที่มีหยกมากที่สุดในโลก แต่ความขัดแย้งได้ปะทุขึ้นนับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิง 17 ปี สิ้นสุดลงในปี 2554 ปริมาณ และมูลค่าหยกที่จำหน่ายได้ลดลงจากผลของความขัดแย้ง

หยก เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ที่ผู้ซื้อจำนวนมากเชื่อว่าการสวมหยกจะทำให้โชคดี รุ่งเรือง และอายุยืนยาว

งานจัดแสดงอัญมณีของพม่ามีขึ้นเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2507 ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของหยกพม่าถูกซื้อขายกันอย่างไม่เป็นทางการ และจบลงที่การข้ามชายแดนไปฝั่งจีนโดยไม่มีการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง

การผลิตหยกระหว่างช่วงปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 มี.ค. รวมทั้งสิ้น 13,200 ตัน ลดลงจาก 15,000 ตัน ในปี 2556-2557 ตามการระบุของทางการพม่า.
กำลังโหลดความคิดเห็น