xs
xsm
sm
md
lg

เลือกตั้งพม่าใกล้เข้ามาทุกขณะ แต่ความตึงเครียดในหมู่ชาวพุทธหัวรุนแรงยังมีสูง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) นั่งอยู่ในสำนักงานพรรคในเมืองเม็กทิลา วันที่ 14 พ.ค.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - เมื่อความรุนแรงทางศาสนาปะทุขึ้นในเมืองเม็กทิลา ทางภาคกลางของพม่า เมื่อ 2 ปีก่อน วิน เต็ง นักการเมืองท้องถิ่นได้พูดสนับสนุนชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยที่ตกอยู่ภายใต้การโจมตีอย่างรุนแรง ซึ่งชาวพุทธหลายคนไม่พอใจ และไม่ยอมให้อภัยต่อการกระทำดังกล่าว

ประชาชนอย่างน้อย 44 คน ถูกสังหารในเดือน มี.ค.2556 หลังการโจมตีรุนแรงของกลุ่มชาวพุทธที่ วิน เต็ง สมาชิกรัฐสภาจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) พยายามที่จะหยุด

พรรค NLD ของอองซานซูจี จะร่วมลงชิงชัยในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ และวิน เต็ง ยอมรับว่า การกระทำของเขาในครั้งนั้นอาจทำให้พรรคเสียคะแนนในหมู่ชาวพุทธที่เป็นคนส่วนใหญ่ของพม่า

“ผมถูกกล่าวหาว่าอคติต่อชาวพุทธ ผมไม่เคยเสียใจต่อการตัดสินใจของผมที่จะปกป้องชนกลุ่มน้อย“ วิน เต็ง กล่าว

ความตึงเครียดทางศาสนาคุกรุ่นในพม่ามาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ก่อนจะปะทุขึ้นในปี 2555 เพียง 1 ปี หลังรัฐบาลกึ่งพลเรือนขึ้นบริหารประเทศ มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในเหตุปะทะกันระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญา และชาวพุทธยะไข่ในปีนั้น ที่นำไปสู่การขับไล่ชาวโรฮิงญาโดยกลุ่มม็อบชาวยะไข่

ความไม่สงบต่อต้านชาวมุสลิมได้แพร่กระจายไปสู่พื้นที่ภาคกลางของพม่า ที่ถูกยั่วยุโดยพระสงฆ์ที่อ้างว่าศาสนาอิสลามกำลังกลืนศาสนาพุทธ และเรียกร้องให้คว่ำบาตรกิจการของชาวมุสลิม และการแต่งงานระหว่างศาสนา

ความรุนแรงของชาวพุทธชาตินิยม และความรู้สึกต่อต้านมุสลิมอาจเกิดขึ้นอีกครั้งในบริบททางการเมืองของการเลือกตั้ง กลุ่ม International Crisis Group (ICG) ที่มีสำนักงานในกรุงบรัสเซลส์ ระบุเมื่อเดือน เม.ย.

วิน เต็ง อายุ 74 ปี ที่เป็นคนสนิทของซูจี และอดีตนักโทษการเมืองได้กล่าวปกป้องหัวหน้าพรรคที่ไม่เต็มใจจะเอ่ยถึงชาวมุสลิม

“หากเธอพูดสนับสนุนโรฮิงญา เธอจะถูกกล่าวหาว่าชื่นชอบชาวมุสลิม หากเธอพูดถึงชาวยะไข่ เธอจะถูกกล่าวหาว่าเป็นชาตินิยม และเหยียดเชื้อชาติ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเธอถึงยังเงียบอยู่” วิน เต็ง กล่าว
<br><FONT color=#000033>พระสงฆ์เดินบิณฑบาตรผ่านชุมชนชาวมุสลิมที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและความไม่สงบต่อต้านชาวมุสลิม ในเมืองเม็กทิลา.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
ขณะเดียวกัน กลุ่มชาวพุทธชาตินิยม เช่น คณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองชาติและศาสนา นำโดยกลุ่มพระสงฆ์ที่รู้จักในชื่อ มะบะธา ก็ขยายฐานเสียงมากเรื่อยๆ

ในเดือน พ.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่งลงนามในกฎหมายควบคุมประชากรที่ฮิวแมนไรท์วอช เตือนว่า อาจถูกใช้ปราบปรามศาสนา และชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์

กฎหมายระบุให้ผู้หญิงต้องตั้งครรภ์ห่างจากครั้งก่อนหน้าอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 ข้อกฎหมายคุ้มครองศาสนาและเชื้อชาติที่เสนอต่อรัฐสภาซึ่งกลุ่มมะบะธาให้การสนับสนุน

และแม้ว่าการปฏิรูปพม่าได้ให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่การวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาพุทธยังคงเป็นการกระทำที่เสี่ยง ดังเช่นเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศาลได้ตัดสินจำคุก ติน ลิน อู นักเขียน และสมาชิกพรรค NLD เป็นเวลา 2 ปี ฐานดูหมิ่นศาสนา ในการกล่าวสุนทรพจน์ส่งเสริมการยอมรับความต่างทางศาสนา

เหตุนองเลือดในเม็กทิลา ปี 2556 เริ่มต้นขึ้นจากเหตุโต้เถียงกันของชาวพุทธที่ร้านขายทองของชาวมุสลิม และต่อมา มีกลุ่มม็อบชาวพุทธที่รวมทั้งพระสงฆ์ ได้เข้าโจมตีชาวมุสลิม และทรัพย์สินของชาวมุสลิม จนเหตุการณ์บานปลายเมื่อชาวมุสลิมโจมตีพระสงฆ์ในช่วงที่ความรุนแรงเกิดขึ้น และกลุ่มชาวพุทธได้สังหารหมู่นักเรียนของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามอย่างน้อย 20 คน

เมื่อ วิน เต็ง ประกาศในเวลาต่อมาว่า เขารู้สึกละอายใจว่ามาจากเมืองเม็กทิลา กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ยื่นคำร้องถอด วิน เต็ง จากการเป็นสมาชิกรัฐสภา

พรรค NLD ที่คาดว่าจะทำได้คะแนนได้ดีในการเลือกตั้ง แต่ ขิ่น เม สี สมาชิกพรรคในท้องถิ่นกล่าวว่า ชาวพุทธในเมืองเม็กทิลาบางส่วนเวลานี้ต่อต้านพรรคโดยสิ้นเชิง และให้การสนับสนุนมะบะธา

โอธาระ พระสงฆ์ และรองประธานมะบะธาในเมืองเม็กทิลา กล่าวว่า ความรุนแรงทำให้ชาวพุทธรวมตัวกัน และท่าทีของวิน เต็ง นั้นถือเป็นการดูหมิ่นศาสนาพุทธ พร้อมกับระบุว่า ชาวมุสลิมเป็นพวกสันโดษ ลึกลับ และอันตราย

“ไม่ใช่ชาวมุสลิมทุกคนจะเป็นพวกหัวรุนแรง แต่พวกหัวรุนแรงส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม” พระโอธาระ กล่าว.
<br><FONT color=#000033>ชาวเมืองเม็กทิลาขี่รถจักรยานยนต์ผ่านสุเหร่าที่ถูกปิดหลังโดนเผาทำลายในช่วงเกิดเหตุความรุนแรงต่อต้านมุสลิมในปี 2556.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น