xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามเล็งเสริมเครื่องบินรบ-เครื่องบินตรวจการณ์จากตะวันตกรับมือจีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>วิศวกรกำลังประกอบเครื่องบิน FA-50 ภายในโรงงานประกอบของบริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) เมื่อเดือนส.ค. 2556 เวลานี้เวียดนามอยู่ในระหว่างการหารือกับบรรดาบริษัทผู้ผลิตอาวุธทางกลาโหมของยุโรปและสหรัฐฯ ในความสนใจที่จะสั่งซื้อเครื่องบินรถ เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล และโดรน เพื่อเสริมทัพรับมือกับการรุกรานของจีนในทะเลจีนใต้ และเครื่องบิน FA-50 ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่อยู่ในระหว่างการหารือ.--Reuters/Lee Jae-Won/Files.</font></b>

รอยเตอร์ - เวียดนามกำลังหารือกับบริษัทผู้ผลิตอาวุธทางกลาโหมจากยุโรป และสหรัฐฯ ที่จะซื้อเครื่องบินรบ เครื่องบินตรวจการณ์ทางน้ำ และโดรนไร้อาวุธ ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าว ในความพยายามของเวียดนามที่กำลังมองหาการเพิ่มการป้องกันทางอากาศในการเผชิญหน้าต่อการขยายการรุกรานของจีนในน่านน้ำพิพาท

เวียดนาม ได้รับมอบเรือดำน้ำชั้นกิโล ผลิตในรัสเซียแล้ว 3 ลำ และยังมีอีก 3 ลำ ตามคำสั่งซื้อในข้อตกลง 2,600 ล้านดอลลาร์ที่ลงนามกันตั้งแต่ปี 2552 และการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพอากาศของเวียดนามจะทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในกองทัพที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แหล่งข่าวระบุว่า การหารือเกี่ยวกับเครื่องบินซึ่งไม่มีการรายงานออกมาเกี่ยวข้องต่อบริษัทซาบ (Saab) ของสวีเดน บริษัทยูโรไฟเตอร์ (Eurofighter) แอร์บัสกรุ๊ป บริษัทล็อกฮีด มาร์ติน และโบอิ้ง โดยบรรดาบริษัทผู้ผลิตอาวุธทางกลาโหมเหล่านี้ได้เดินทางเยือนเวียดนามหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ แม้จะยังไม่มีข้อตกลงใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม แต่การพูดคุยหารือนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

บริษัทผู้ผลิตอาวุธทางกลาโหมของตะวันตกรายหนึ่งระบุว่า ฮานอยต้องการที่จะปฏิรูปกองทัพอากาศให้ทันสมัยด้วยการแทนที่เครื่องบินรบของรัสเซีย MiG-21 ที่ใช้งานมานานกว่า 100 ลำ ขณะเดียวกัน ก็ลดการพึ่งพามอสโกในเรื่องของอาวุธสำหรับทหารราว 480,000 นาย

เวียดนาม ได้สั่งซื้อเครื่องบินรบ Sukhoi Su-30 ของรัสเซีย 12 ลำ เพื่อเข้าเสริมฝูงบินรุ่นเก่า Su-27s และ Su-30s ที่มีอยู่

“เราได้ข้อบ่งชี้ว่าเวียดนามต้องการลดการพึ่งพารัสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ และยุโรปที่ขยายตัวขึ้นจะช่วยพวกเขาในเรื่องนี้” บริษัทผู้ผลิตด้านกลาโหมรายหนึ่ง ระบุ

แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นในระหว่างเดินทางเยือนเวียดนามเมื่อวันอาทิตย์ (31) ว่า จะให้ความช่วยเหลือ 18 ล้านดอลลาร์ แก่เวียดนามในการซื้อเรือตรวจการณ์ของสหรัฐฯ แต่ข้อตกลงใดๆ กับล็อกฮีด หรือโบอิ้งน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องต่อบริษัทของสหรัฐฯ นับตั้งแต่วอชิงตันเริ่มคลายมาตรการห้ามซื้อขายอาวุธอันตรายกับเวียดนาม เมื่อเดือน ต.ค.

ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ต่างปกครองทั้งเวียดนาม และจีน และมูลค่าทางการค้าเพิ่มสูงเกือบ 60,000 ล้านดอลลาร์ แต่เวียดนามยังคงระแวดระวังจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้

การตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันของจีนในน่านน้ำที่เวียดนามอ้างสิทธิเป็นเวลากว่า 2 เดือนเมื่อปีก่อน สร้างความไม่พอใจให้แก่เวียดนาม และยิ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการเพิ่มความสามารถในการตรวจการณ์ทางทะเล

งบประมาณทางทหารของเวียดนามนั้นเป็นความลับของรัฐ แต่ข้อมูลที่รวบรวมโดยสถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) ระบุว่า การใช้จ่ายด้านกลาโหมอยู่ที่ 3,400 ล้านดอลลาร์ในปี 2556 เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าของทศวรรษก่อน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มูลค่าการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอาจสูงกว่าที่ระบุไว้จากอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่เวียดนามได้รับมาในช่วงหลายปีนี้
.
<br><FONT color=#000033>เครื่องบิน Casa C-295 ของโปแลนด์ทิ้งถุงสัมภาระติดร่มชูชีพระหว่างการซ้อมรบร่วมระหว่างแคนาดา สหรัฐฯ และโปแลนด์ ที่ศูนย์ฝึกทหารราบในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของโปแลนด์ เมื่อเดือนมิ.ย. 2557 เครื่องบินลำเลียง C-295 ในภาพนี้เป็นรุ่นเดียวกับที่เวียดนามได้สั่งซื้อกับบริษัทแอร์บัสดีเฟนซ์ในช่วงไม่กี่ปีมานี้.--Reuters/Przemyslaw Szyszka/Files.</font></b>
.
แหล่งข่าวที่รู้ข้อมูลการหารือระบุว่า ส่วนหนึ่งของเครื่องบินที่อยู่ในการหารือกับเวียดนาม คือ เครื่องบินรบกริฟเพน-อี (Gripen E) ของบริษัทซาบ รวมทั้ง Saab 340 ส่วนแหล่งข่าวอีกแหล่งหนึ่งยังระบุว่า เวียดนามได้หารือเกี่ยวกับเครื่องบินไต้ฝุ่น ที่ผลิตโดยยูโรไฟเตอร์ รวมทั้งเครื่องบิน FA-50 ที่พัฒนาร่วมโดยบริษัทโคเรียแอโรสเปซอินดรัสตรี และล็อกฮีด

ส่วนล็อกฮีดเองก็ได้หารือเกี่ยวกับเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Sea Hercules เช่นกัน นอกจากนั้น เวียดนามยังมองหาโดรนเฝ้าระวังไร้อาวุธ ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตจากชาติตะวันตก และเอเชียด้วย

เวียดนามเริ่มถอยห่างจากรัสเซียอย่างช้าๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยการซื้อเครื่อง Twin Otter เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกของแคนาดา และ CASA C-212 เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของแอร์บัสดีเฟนซ์ สำหรับหน่วยลาดตระเวนชายฝั่ง และเครื่องบินลำเลียง C-295 ของแอร์บัส เป็นต้น

แม้ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ จะอบอุ่นขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายระบุว่า มรดกของสงครามเวียดนามอาจทำให้เวียดนามระมัดระวังการซื้ออาวุธของสหรัฐฯ ซึ่งอาจเป็นโอกาสดีของสวีเดน เนื่องจากเวียดนามไม่มีอคติทางความคิดต่อสวีเดน กริฟเพนอีจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุด ซาบสามารถเสนอแพกเกจที่รวมทั้งเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล และเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น