xs
xsm
sm
md
lg

นักศึกษาพม่าอ้าแขนรับเสรีภาพทางการเมืองทั้งในมหาวิทยาลัย และบนท้องถนน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นักศึกษาหญิงเดินเป็นกลุ่มไปมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง มหาวิทยาลัยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งของเอเชีย แต่ต้องถูกปิดบ่อยครั้งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร แต่รัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เข้าบริหารประเทศในปี 2554 ได้กลับมาเปิดมหาวิทยาลัยอีกครั้งในช่วงปลายปี 2556 ในความพยายามที่จะยกเครื่องระบบการศึกษาของประเทศ.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ทุกเช้า ซู วาย เพียว จะตื่นนอนก่อนฟ้าสางเพื่อทำบางอย่างที่เคยถูกห้ามในพม่าจนเมื่อไม่นานนี้ นั่นก็คือ การศึกษาการเมือง

ซู วาย เพียว นักศึกษาอายุ 23 ปี เป็นหนึ่งในนักศึกษาจำนวนหยิบมือที่ลงเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ หลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง หลักสูตรที่ไม่สามารถจะจินตนาการถึงได้ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร

“คนหนุ่มสาวจำเป็นต้องเข้าใจการเมือง พวกเขาจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับผู้ที่ปกครองพวกเรา ไม่ว่าผู้ที่อยู่ในอำนาจนั้นกำลังทำสิ่งที่ดี หรือไม่ดีเพื่อพวกเราก็ตาม” วาย เพียว กล่าวหลังเลิกเรียนช่วงเช้า

วาย เพียว เป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหน้าใหม่จากจำนวนหลายล้านคนที่สามารถเลือกผู้ที่จะบริหารปกครองพวกเขาเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ เมื่อพม่ากำลังจะจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้

หลังรัฐบาลทหารเปิดทางให้รัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าทำหน้าที่ในปี 2554 และประเทศได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางจากการปฏิรูป ที่นำมาซึ่งการลงทุนจากต่างชาติเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังคงมีความวิตกว่า การปฏิรูปของพม่าในเวลานี้กำลังก้าวถอยหลัง และความวิตกยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นเดือน เมื่อตำรวจเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงต่อผู้ชุมนุมประท้วงที่เป็นนักศึกษาซึ่งเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษา และมีผู้ถูกจับกุมตัวอย่างน้อย 130 คน ทำให้นานาประเทศต่างออกมาตำหนิ

การชุมนุมของนักศึกษาที่เกิดขึ้นนานหลายเดือนสร้างความวิตกกังวลให้แก่รัฐบาลชุดปัจจุบัน ด้วยเกรงว่า การชุมนุมประท้วงจะขยายตัวเป็นวงกว้างก่อนการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพ.ย.นี้

ภาพความรุนแรงในเมืองเลทปะด่อง ที่นักศึกษาถูกตั้งข้อหาจากกองกำลังรักษาความปลอดภัยหลังพยายามที่จะฝ่าแนวเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ห่างไกลออกไปจากขอบเขตของมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง อันร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้ที่เต็มไปด้วยวาทกรรมการเมืองเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

ครั้งหนึ่งสถานที่แห่งนี้เคยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย แต่ถูกปิดตัวลงในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้รัฐบาลทหาร อาคารที่ก่อสร้างในยุคอาณานิยมทรุดโทรมลงท่ามกลางหญ้ารกสูง มหาวิทยาลัยกลับมาเปิดอีกครั้งในปลายปี 2556 อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลที่จะยกเครื่องระบบการศึกษาที่หยุดชะงักไปในช่วงการปกครองของรัฐบาลทหาร

“หากฉันพยายามที่จะลงเรียนรัฐศาสตร์ในช่วงก่อนปี 2554 พ่อแม่ของฉันคงจะต้องกังวลหนักเพราะฉันอาจถูกจับขังคุก” ซู วาย เพียว กล่าว

โก โก อ่อง เพื่อนนักศึกษาอายุ 28 ปี ระบุว่า รู้สึกตื่นเต้นต่อเสรีภาพที่เกินเอื้อมหากเป็นเมื่อ 4 ปีก่อน

“ตอนนั้นเรากลัวรัฐบาลทหารมาก เราคิดว่าทุกที่มีแต่สายลับนั่นทำให้เราไม่กล้าพูดคุยเรื่องการเมือง” โก โก อ่อง กล่าว
<br><FONT color=#000033>นักศึกษานั่งทบทวนบทเรียนที่ห้องสมุดก่อนเข้าสอบที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19 มี.ค.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>
ศาสตราจารย์จอ จอ เส่ง หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดำเนินการหลักสูตรระบุว่า นักศึกษาของเธอต่างกระหายที่จะเรียนรู้วิชานี้

“เราสามารถพูดคุย และถกเถียงกันได้ ไม่เพียงแค่เรื่องการเมืองทั่วโลก แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการเมืองในพม่าด้วย” ศาสตราจารย์ จอ จอ เส่ง กล่าว

จอ จอ เส่ง เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปไปสู่ประชาธิปไตยนั้นเป็นเส้นทางที่ถูกต้องสำหรับพม่า เพราะเกรงว่าความวุ่นวายอาจเกิดขึ้นหากให้เสรีภาพอย่างเต็มที่ภายในเวลาชั่วข้ามคืน

“แม้ว่าประชาคมโลกกำลังวิพากษ์วิจารณ์ว่านี่เป็นเพียงประชาธิปไตยครึ่งใบ รัฐบาลกึ่งพลเรือน แต่เราต้องเรียนรู้บทเรียนจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นนั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับวัฒนธรรมการเมืองของเรา” จอ จอ เส่ง กล่าว

แต่คนหนุ่มสาวหลายคนยังรู้สึกว่า การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้นให้เร็วกว่านี้ อย่างนักเคลื่อนไหวจากสหภาพนักศึกษาแห่งสหพันธ์พม่า ที่วางแผนชุมนุมเรียกร้องการปฏิรูปกฎหมายการศึกษาระบุว่า กฎหมายการศึกษาฉบับปี 2557 นั้นจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ และต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยการรวมการศึกษาฟรี และภาคบังคับจนกว่าเด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น การอนุญาตให้ตั้งสหภาพนักศึกษา และการสอนภาษาชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆ

“สิ่งที่เราเรียกร้องคือ มหาวิทยาลัยนอกระบบที่มีการบริหารจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ เราไม่ต้องการนโยบายที่กำหนดมาจากบนลงล่าง เราต้องการการตัดสินใจที่มาจากล่างขึ้นบน” มิน ถะเว ธิต หัวหน้ากลุ่มสหภาพนักศึกษาแห่งสหพันธ์พม่า กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น