xs
xsm
sm
md
lg

เกาะติด Solar Impulse 2 สร้างประวัติศาสตร์เที่ยวบินแรกยูเออี-โอมานผ่านฉลุย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


.
“เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Impulse 2 ลงจอดที่ท่าอากาศกรุงมัสกัต ประเทศโอมาน กลางดึกวันจันทร์ 9 มี.ค.ที่ผ่านมานี้ เพื่อหยุดพักเป็นเวลา 6 ชั่วโมง หลังบินติดต่อกัน 13 ชั่วโมง ระยะทาง 400 กิโลเมตร จากกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นับเป็นประวัติการณ์ และยังเป็นครั้งแรกที่ Si2 บินในย่านนี้ แต่ก็เป็นเพียง “ไฟลต์ที่ 1” และการบินรอบโลกซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน ก็เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น เครื่องบินลำนี้ยังจะต้องบินข้ามชมพูทวีป เข้าพม่า และบินข้ามแผ่นดินใหญ่จีนตลอด 2 สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนเหินฟ้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก สหรัฐฯ และแอตแลนติก เพื่อกลับไปยังจุดที่ออกเดินทางในตอนเช้าวันเดียวกันนี้.”

.
<bR><FONT color=#00003>ภาพงดงามที่สนามบินกรุงมัสกัต หลังจากโซลาร์อิมพัลส์ 2 (Solar Impulse 2) ลงจอดเมื่อเวลาประมาณ 2 ทุ่มวันจันทร์ 9 มี.ค. (23 น.เวลาในกรุงเทพฯ) เมืองหลวงของโอมานที่อยู่บริเวณช่องแคบฮอร์มุต ปากอ่าวเปอร์เซีย เปิดไฟสว่างไสวต้อนรับ ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับ Si2 ที่รณรงค์ให้ใช้พลังงานสะอาด ถึงแม้ประเทศเจ้าภาพจะเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกก็ตาม. </b>

โดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เครื่องบินที่ใช้พลังงานสุริยะ Solar Impulse 2 ลงจอดที่ท่าอากาศยานกรุงมัสกัต ประเทศโอมาน อย่างปลอดภัยในคืนวันจันทร์ 9 มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 23 นาฬิกาวันเดียวกัน ตามเวลาในประเทศไทย เพื่อหยุดพักเป็นเวลา 6 ชั่วโมง หลังจากใช้เวลาบินราว 13 ชั่วโมง ระยะทางราว 400 จากกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก่อนขึ้นบินต่อไปยังเมืองอาห์เมดาบัด (Ahmedabad) ทางฝั่งตะวันตกของชมพูทวีปเช้าวันอังคารนี้ เพื่อบินต่อไปยังนครมัณฑะเลย์ ทางตอนเหนือของพม่าในอีกหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า

“ไฟลต์ที่ 1" ของเครื่องบิน Si2 เลื่อนมาจากต้นเดือน มี.ค. จนกระทั่งการเตรียมความพร้อมเสร็จสมบูรณ์ จึงได้บินขึ้นจากท่าอากาศยานอัลบาทีน (Al Bateen) กรุงอาบูดาบี เมื่อเวลา 07.12 น.วันจันนทร์ที่ผ่านมา ตามเวลาในท้องถื่น ซึ่งช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโซลาร์ อิมพัลส์ 2

ภาพเคลื่อนไหวรายงานเหตุการณ์สดที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ และทวิตเตอร์ของทีมเจ้าหน้าที่โซลาร์ อิมพัลส์ 2 ช่วงกลางคืนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ บินลงสู่รันเวย์สนามบินมัสกัต หลังจากใช้เวลาบิน 13 ชั่วโมงกับ 2 นาที ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกเหตุการณ์หนึ่งของอุตสาหกรรมการบินโลก ที่มีเครื่องบินลำหนึ่งบินข้ามทะเล และข้ามทวีปได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแม้แต่หยดเดียว

แบทร็อง พิการ์ด (Bertrand Piccard) นักบินชาวสวิส กับอันเดรย์ บอร์ชแบร์ก (André Borschberg) ซึ่งเป็นทั้งนักบินผู้ช่วย และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการโซลาร์ อิมพัลส์ ได้นำ Si2 บินเหนือทะเลทราย ข้ามทิวเขา และบินเหนือผืนน้ำบริเวณปากอ่าวเปอร์เซีย เข้าสู่ดินแดนประเทศโอมานเวลาพลบค่ำ ภาพเคลื่อนไหวล่าสุดยังฉายให้เห็น Si2 บินอยู่เหนือนครมัสกัต ที่เปิดไฟสว่างไสวรอต้อนรับ

เจ้าหน้าโอมาน และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ที่เดินทางล่วงหน้าไปจากอาบูดาบี กับอีกจำนวนหนึ่งที่ไปประจำอยู่ก่อนแล้ว ได้ออกปฏิบัติหน้าที่ รถยนต์หลายคันเปิดไฟฉุกเฉิน วิ่งขวักไขว่บนรันเวย์ และเมื่อ Si2 ลงจอดเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันนำไปจอดที่บริเวณสำนักงาน ซึ่งเป็นเต็นท์ที่สร้างขึ้นใช้ชั่วคราว อยู่ภายในบริเวณสนามบินมัสกัต
.


.

.

.
“โซลาร์อิมพัลส์ 2 ไม่ได้ขนส่งผู้โดยสารแต่ส่งสาสน์” (Solar Impulse 2 doesn't carry passengers by carries a message) เป็นข้อความที่ลูกทีมของโครงการคิดค้นขึ้นมาและนำโพสต์ทางทวิตเตอร์

ขณะเดียวกัน นายพิการ์ด ได้โพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ของเขา เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ว่า .. “ผมใฝ่ฝันมาเป็นเวลา 16 ปี ที่จะบินรอบโลกโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ผมแทบไม่เชื่อตัวเองเลยว่า เรากำลังจะออกเดินทางในอีก 3 วันเท่านั้น”

โซลาร์ อิมพัลส์ 2 กำลังอยู่ระหว่างเดินทางรอบโลกด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ล้วนๆ ซึ่งจะพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยว่า เครื่องบินลำนี้สามารถเดินทางไกลๆ ได้ แม้หลังตะวันตกดินแล้วก็ตาม ซึ่งต้องขอขอบคุณเทคโนโลยี่แบตเตอรี่จากลิเธียมโพลีเมอร์ แบบเดียวกับที่ให้พลังงานโทรศัพท์มือถือ กับแท็บเล็ตส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

เพียงแต่ว่า “แบต” ของ Si2 เติมประจุไฟฟ้าที่ผลิตจากความร้อนของแสงแดด มิใช่ไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อน หรือจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์

เที่ยวบินที่ 2 ของ Si-2 ไปยังเมืองอาเห์มดาบัด (Ahmedabad) ทางฝั่งทะเลอาหรับในประเทศอินเดีย ที่จะมีขึ้นในตอนสายวันอังคารนี้ มีระยะทางที่ไกลขึ้นกว่าเที่ยวแรก เช่นเดียวกับเที่ยวบินที่ 3 ไปยังเมืองพาราณสี ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ กับเที่ยวบินที่ 4 ข้ามทะเลเบงกอลไปยังมัณฑะเลย์ ซึ่งสื่อของทางการพม่ารายงานปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า จะไปถึงที่นั่นในวันที่ 16 มี.ค.
.

2

3

4

5

6

7
ปลายทางหลังจากพม่า ได้แก่ นครฉงชิ่ง กับนครหนานจิง ในแผ่นดินใหญ่จีน ก่อนจะบินระยะไกลที่สุดในซีกนี้ของโลก โดยข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกข้ามเส้นแบ่งเวลา ไปยังนครโฮโนลูลู กับอีกช่วงหนึ่งจากมลรัฐฮาวาย ตรงไปยังรัฐแอริโซนา

หลังจากนั้น Si2 จะบินข้ามสหรัฐฯ ไปยังนครนิวยอร์กทางฝั่งตะวันออก แต่ช่วงยาวที่สุดจะเป็นการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกแบบรวดเดียว จากสหรัฐฯ ไปยังยุโรปใต้ หรือปลายทางแห่งใดแห่งหนึ่งในแอฟริกาเหนือ ก่อนจะกลับสู่จุดเริ่มต้นในตะวันออกกลาง ที่ออกเดินทางไปเมื่อตอนเช้าวันจันทร์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาบินประมาณ 5 เดือน รวมทั้งเวลาที่แวะพักระหว่างทางด้วย

เนื่องจากมีเป้าหมายในการรณรงค์เพื่อให้โลกตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน และหันมาใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่มีให้หมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่สิ้นสุด เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม การเดินทางรอบโลกของโซลาร์ อิมพัลส์ 2 จึงได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากบริษัทธุรกิจเอกชนขั้นนำของโลกหลายแห่ง

นอกจากนั้น Si2 ยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งของภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งองค์การสหประชาชาติ ที่ดำเนินการโดยมีจุดประสงค์เดียวกันอีกด้วย.
<bR><FONT color=#00003>การบันทึกประวัติศาสตร์เริ่มจากที่นี่ .. เครื่องบินโซลาร์อิมพัลส์ 2 บินขึ้นจากท่าอากาศยานอัลบาทีน (Al Bateen) กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวลา 07.12 น.วันจันทร์ 9 มี.ค.นี้ (10.12 น.เวลาในประเทศไทย) ข้ามทะเลทราย และบินเหนือผืนน้ำบริเวณปากอ่าวเปอร์เซีย ไปถึงกรุงมัสกัต ประเทศโอมาน ในค่ำวันเดียวกัน.  </b>
8
.


.


9

10

11

12

13
กำลังโหลดความคิดเห็น