xs
xsm
sm
md
lg

แหม่มเคราะห์ร้ายอีกคนไปเที่ยวนครวัดระวังหินปราสาทหล่นทับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>นักท่องเที่ยวที่ไม่ทราบชื่อหรือสัญชาติ ประสบอุบัติเหตุเป็นรายล่าสุดภายในปราสาทนครวัด ตอนเช้าวันอาทิตย์ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา เหตุการณ์แบบนี้เกิดไม่บ่อยครั้ง แต่เว็บไซต์การท่องเที่ยวหลายแห่งได้ออกเตือน ให้นักท่องเที่ยวได้ระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากปราสาทหินโบราณของกัมพูชาทรุดโทรมลงมากและเร็วมากในช่วง 15 ปีมานี้ โดยมีสาเหตุจากการท่องเที่ยวนั่้นเอง.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เว็บบล็อกของชาวเขมรได้เผยแพร่ภาพนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศคนหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บจากหินที่หล่นลงจากผนังด้านหนึ่งของประสาทนครวัด ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ผู้ประสบเหตุอาจถึงแก่ชีวิต หรือทุพพลภาพได้ ขณะที่บล็อก และเว็บไซต์การท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง ได้ออกเตือนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปที่นั่น ให้พึงระวัง “อันตรายในนครวัด” เนื่องจากโบราณสถานเก่าแก่แห่งนี้เสื่อมโทรมลงมาก และขาดการบำรุงรักษาที่เพียงพอ

นักท่องเที่ยวหญิงได้รับบาดเจ็บที่ขา โดยมีนักท่องเที่ยวชายชาวตะวันตกที่คาดว่า จะเป็นสามีประคองให้นั่ง และมีเจ้าหน้าที่ดูแลโบราณสถานเข้าไปช่วยเหลือ ท่ามกลางสายตาของนักท่องเที่ยวอีกนับสิบคนที่มุงดู หรือให้กำลังใจอยู่รายรอบ เหตุการณ์เกิดขึ้นรตอนเช้าวันอาทิตย์ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีคำอธิบายใดๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อีก

อย่างไรก็ตาม ในภาพยังปรากฏให้เห็นเศษริ้วหินที่หล่นลงจากบัญชรด้านในของระเบียงคด ที่รายล้อมรอบปราสาทหินโบราณเก่าแก่อายุนับพันปี ซึ่งไม่มีคำอธิบายใดๆ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ริ้วหินหล่นลงในครั้งนี้ จนกระทั่งทำให้ผู้ไปเที่ยวชมได้รับบาดเจ็บ

ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุจากก้อนหิน หรือเศษชิ้นส่วนต่างๆ ภายในปราสาทนครวัดจะปรากฏน้อยมาก หรือเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งหากเทียบกับอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน ภายในบริเวณโบราณสถานก็ตาม แต่ทุกครั้งก็มักจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งบางครั้งอาการสาหัส เนื่องจากอาณาบริเวณภายในปราสาทที่คับแคบ

จุดที่มักเกิดอุบัติอีกแห่งหนึ่งภายในปราสาทหินก็คือ บันไดที่มีชั้นถี่ และมีความลาดชันถึง 70 องศา ที่นำขึ้นไปสู่ยอดสูงสุดของปราสาท อันเป็นสถานที่จำลองเป็น “สรวงสวรรค์” ของพระศิวะในความเชื่อของลัทธิฮินดู ทางการกัมพูชามิได้ห้ามนักท่องเที่ยวที่ปรารถนนาจะปีนขึ้นไป แต่ก็มีป้ายเตือนเอาไว้ว่า หากใครปีนขึ้นไปก็จะต้อง “แบกรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง” หรือ “ตัวใครตัวมัน” นั่นเอง

ถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับจำนวนครั้งของอุบัติเหตุจากการปีนป่ายภายในนครวัด รวมทั้งกรณีที่เกิดมีซากชิ้นส่วนหินหล่นลงทับนักท่องเที่ยว แต่เว็บไซต์การท่องเที่ยวหลายแห่งก็ได้ออกคำเตือนให้ผู้ไปเที่ยวชมภายในได้ระมัดระวังเรื่องนี้

นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ไปเที่ยบวชมนครวัด ได้เขียนถึงสภาพปราสทหินที่เสื่อมโทรมลงมากมายในช่วงปีหลังๆ บางคนตั้งข้อสังเกตว่า ปราสาทนครวัดเสื่อมโทรมเร็วที่สุดในช่วง 15 ปีมานี้ เร็วกว่าช่วงเวลาใดทั้งหมดตลอดช่วงอายุขัย 1,000 ปีของปราสาทเสียอีก และสิ่งนี้เกิดจากนักท่องเที่ยวกับการท่องเที่ยว ในขณะที่ปราสาทใหญ่ที่เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ขาดการบำรุงรักษาอย่างเพียงพอ
.

2

3

4
<bR><FONT color=#00003>ภาพวันที่ 28 ส.ค.2547 หรือเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว มองลงไปจากชั้นสรวงสวรรค์บนปราสาทนครวัด นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นกลุ่มใหญ่นั่งพักอยู่บริเวณบัญชรด้านในระเบียงคดรอบปราสาทหิน ที่ริ้วหินหล่นทับขานักท่องเที่ยวชาวตะวันตกคนหนึ่งบาดเจ็บวันอาทิตย์ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์หลายแห่งเตือนผู้ที่จะไปเที่ยวชมนครวัด ให้ระมัดระวังอุบัติเหตุแบบนี้มากขึ้น อาจบาดเจ็บสาหัส กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้. -- โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร</b>
5
ปัจจุบัน โบราณสถานนครวัด ซึ่งรวมทั้งปราสาทยาน ปราสาทตาพรม กับปราสาทใหญ่น้อยอีกนับสิบหลังภายในอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ที่เรียกว่าโบราณสถานเมืองพระนครนั้น อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การอัปสรา (APSARA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งทางการ องค์การนี้ได้ว่างจ้างบริษัทสุขา (Sokha Co) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มโซคิเม็กซ์ (Sokhimex Group) ของนายโสกกง (Sok Kong) นักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เข้าบริหารจัดการ รวมทั้งเก็บค่าเข้าชมจากนักท่องเที่ยวด้วย บริษัทนี้ได้ทำประกันอุบัติสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ไม่มีผู้มีใดทราบว่า ประกันภัยดังกล่าวครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียคนหนึ่งเขียนลงในเว็บบล็อกของเขา

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา เสนอรายงานชิ้นหนึ่งต่อที่ประชุมรัฐสภาเดือน พ.ย.2557 ระบุว่าเมื่อปีที่แล้วมีผู้เข้าไปเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์เมืองพระนคร จำนวน 4.2 ล้านคน และยังไม่ทราบรายได้จากการจำหน่ายตั๋วทั้งหมด

การท่องเที่ยวปราสาทหินได้ทำให้เมืองเสียมราฐ ซึ่งเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เป็นเมืองเล็กๆ ประชากรไม่กี่หมื่นคน และได้กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน เสียมราฐมีประชากรกว่า 1 ล้านคน มีโรงแรมที่พักระดับต่างๆ ร้านอาหาร และสถานบันเทิงนับพันแห่งที่ว่าจ่างแรงงานรวมกันประมาณ 50,000 คน ตลอดหลายปีมานี้ ธุรกิจต่างๆ เหล่านี้มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละ 2,500 ล้านดอลลาร์.
.

บันไดหินชั้นถี่ๆ และสูงชัน 70 องศา เป็นอีกจุดหนึ่งที่อันตราย ทางการกัมพูชาไม่ได้ห้ามนักท่องเที่ยวที่ปรารถนาจะปีนขึ้นไปชมยอดสูง อันเป็นเสมือนสรวงสวรรค์ของพระศิวะ แต่จะต้องรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยด้วยตัวเอง หรือ “ตัวใครตัวมัน” ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า ประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยวจะไม่ครอบคลุมในเรื่องนี้ และก็ยังไม่ทราบเช่นกันว่าประกันภัยขององค์การอัปสรา คุ้มครองอุบัติเหตุกรณี “หินหล่นทับ” ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์เมืองพระนครแห่งนี้ด้วยหรือไม่. .

<bR><FONT color=#00003>ไหนๆ ก็ไหนๆ ไปถึงแล้ว ก็ควรจะไปให้ถึงสวรรค์ช้นดาวดึงส์ .. นักท่องเที่ยวจากแดนไกลหลายคนคิดเช่่นนั้น แต่แล้วหลายคนไปไม่ถึงสววรค์ และหลายคนได้พบว่าการปีนขึ้นไปที่นั่น เป็นการไปนรกมากกว่า ภาพถ่ายวันที่ 28 ส.ค.2547 หรือเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว. -- โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
6
<bR><FONT color=#00003>มีป้ายปักเตือนว่า ตัวใครตัวมัน นักท่องเทียวหลายคนจึงเลือกถ่ายรูปเป็นที่ระลึกตรงเชิงบันได แทนการปีนป่ายขึ้นไป ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะไปถึงสรวงสวรรค์หรือไม่ ภาพถ่ายวันที่ 28 ส.ค.2547. -- โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
7
กำลังโหลดความคิดเห็น