xs
xsm
sm
md
lg

วาระสุดท้าย .. ลมหนาวไล่กุดหัว “ฮากูปี๊ต” ดีเปรสชันลูกใหญ่เตลิดเข้าอ่าวไทยเฉย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>แผนภูมิจากเว็บไซต์  MeteoGroup กับ WeatherFoundation Philippines นำเอาภาพถ่ายโดยดาวเทียมขององค์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) มาเสริมแต่งด้วยข้อมูล แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในย่านนี้ ซึ่งจะเห็นมวลอากาศเย็นปริมาณมหึมามหาศาล เคลื่อนจากตอนเหนือลงใต้ รวมทั้งมวลใหญ่ที่เคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ .. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมาแล้ว มาไล่พายุฮากูปี๊ต และ ทั่วอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เตรียมพบกับความหนาวเย็นตั้งแต่สุดสัปดาห์นี้เป็นต้นไป. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - พายุโซนร้อนฮากูปี๊ต (Hagupit) พัดขึ้นฝั่งทางภาคตะวันออกของเวียดนามคืนวันพฤหัสบดี 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา และอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชัน ท่ามกลางแรงกดดันจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พายุที่เคยมีความรุนแรงเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ยังไม่หมดฤทธิ์ลงง่ายๆ เช้าวันนี้ สำนักพยากรณ์อากาศหลายแห่งได้ออกแผนภูมิแสดงปลายทางล่าสุดของมันในย่านใจกลางทะเลอ่าวไทย แหล่งที่ฮากูปี๊ตจะยุติการเดินทางไกลเป็นเวลา 10 วัน ระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตร แต่ขณะเดียวกัน ก็กำลังจะแผ่พิษสงครั้งสุดท้าย

ตามข้อมูลของศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในนครโฮโนลูลู ฮากูปี๊ต กำลังจะกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในอ่าวไทย และมลายหายไปในเช้าตรู่วันเสาร์ 13 ธ.ค.นี้ ซึ่งเมื่อ 3 วันก่อน JTWC เคยออกแผนภูมิชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นอ่าวไทยเป็นปลายทางของฮากูปี๊ต ในฐานะดีเปรสชันลูกใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพดังกล่าว นักพยากรณ์อากาศหรือผู้ติดตามสภาพ การเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศโลก ในช่วงนี้สามารถเข้าใจได้

ทั่วทั้งภูมิภาคกำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ..

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังพัดแรงเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย รวมทั้งเหนือขึ้นไปในผืนแผ่นดินใหญ่ของทั่วอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยได้ออกแจ้งเรื่องนี้ในตอนเช้า ระบุว่า ทั่วภาคเหนือของไทยอากาศจะเย็นลงอีกในไม่ช้า ซึ่งเป็นการย่างเข้าสู่หน้าหนาวในประเทศนี้ สภาพการเคลื่อนตัวในช่วงปลายของพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต ได้ทำให้กรมอุตุฯ ออกคำเตือนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เกี่ยวกับฝนตกทั่วไปจนถึงตกหนัก ตามแนวชายฝั่งใต้ตะวันออกของประเทศ

สำหรับเวียดนาม ฮากูปี๊ต เป็นพายุรุนแรงลูกที่ 5 ที่เคลื่อนตัวเข้าถึงฝั่งในปีนี้ แต่ก็เล่นเอาเถิดอยู่หลายวัน ก่อนที่สำนักพยากรณ์อากาศในกรุงฮานอย จะสามารถจับทิศทางได้ และออกแจ้งเตือนให้เรือประมงกว่า 35,000 ลำใน “ทะเลตะวันออก” รีบกลับเข้าฝั่ง หรือหลบหาที่กำบังให้ปลอดภัยจากคลื่นสูง 3-4 เมตร นอกจากนั้น ฮากูปี๊ตก็ยังเป็นพายุลูกแรกในปีนี้ที่ดิ่งหัวลงใต้เนื่องจากแรงกดดันจากมวลอากาศเย็นปริมาณมหึมามหาศาลที่เคลื่อนตัวลงมาจากตอนเหนือของทวีปเอเชียในช่วงเดียวกัน

เช้าวันศุกร์นี้ สำนักอุตุนิยมวิทยาของหลายประเทศ และดินแดนในย่านนี้ได้ออกข่าวสุดท้ายเกี่ยวกับพายุฮากูปี๊ต หลายแห่งได้แสดงภาพถ่ายดาวเทียม อันเป็นนาทีสุดท้ายของพายุ ขณะพัดเข้าฝั่งเวียดนาม.
.
<bR><FONT color=#00003>พายุฮากูปี๊ตบน Google Earth เช้าวันศุกร์ 12 ธ.ค.นี้ พายุโซนร้อนลูกใหญ่เข้าไม่ถึงแผ่นดินเวียดนามดี ก่อนจะอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชั่น ท่ามกลางแรงกดดันมหาศาลจากมวลอากาศเย็นที่เข้าสู่ภูมิภาคนี้กับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ พายุร้อนๆ อย่างฮากูปี๊ตต้องหนีตะเลิดลงใต้ เข้าสู่ทะเลอ่าวไทยเป็นวาระสุดท้าย ก่อนจะสิ้นสุดการเดินทาง 10 วันรวมระยะทางกว่า 3,000 กิโลเมตรจากแปซิฟิกตะวันตก.  </b>
2
<bR><FONT color=#00003>ไกลออกไปในกรุงลอนดอน ศูนย์เตือนความเสี่ยงจากพายุเขตร้อน TSR ออกแผนภูมิวันศุกร์นี้เช่นกัน แสดงปลายทางอันชัดเจนของดีเปรสชั่นฮากูปี๊ตในทะเลอ่าวไทย มันกำลังจะมลายไปในวันรุ่ง สิ้นสุดการเดินทางไกลของซูเปอร์ไต้ฝุ่นจากทะเลแปซิฟิกตะวันตกอีกลูกหนึ่ง. </b>
3
<bR><FONT color=#00003>มองจากพื้นล่างไม่เห็นอะไร แต่เมื่อมองจากดาวเทียมจะเห็นสิ่งนี้ ... มวลไอน้ำมหึมามหาศาลที่เคลื่อนลงมากับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม MTSAT หอสังเกตการณ์ฮ่องกงเผยแพร่ตอนเช้าวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นี่คือแรงกดดันสำคัญที่กดหัวพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต. </b>
4
<bR><FONT color=#00003>แผนภูมิสุดท้ายโดย JTWC ชี้ปลายทางของดีเปรสชั่นฮากูปี๊ต. </b>
5
<bR><FONT color=#00003>ฉากแรกๆ เมื่อพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชั่นลูกใหญ่ ปกคลุมฝั่งทะเลเวียดนามทางตะวันออกนครโฮจิมินห์ เป็นภาพจากดาวเทียม MTSAT เมื่อเวลา 3 น. เศษ วันศุกร์ 12 ธ.ค. นี้. </b>
6
<bR><FONT color=#00003>อีกภาพหนึ่งจากดาวเทียม MTSAT แสดงให้เห็นฉากแรกๆ เมื่อพายุโซนร้อนฮากูปี๊ต อ่อนแรงลงเป็นดีเปรสชั่นลูกใหญ่ใกล้ฝั่งทะเลเวียดนาม ตอนเช้ามืดวันศุกร์ 12 ธ.ค.นี้ ก่อนเตลิดลงใต้เข้าทะเลอ่าวไทย. </b>
7
<bR><FONT color=#00003>เวลา 4 น.วันศุกร์ 12 ธ.ค.2557 ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT แสดงให้เห็นไอน้ำคละคลุ้งเหนือดินแดนตอนใต้สุดของเวียดนาม ขณะดีเปรสชั่นฮากูปี๊ต ถูกกดดันให้เตลิดลงใต้ เคลื่อนเข้าสู่ทะเลอ่าวไทย ในวาระสุดท้ายของมัน. </b>
8
<bR><FONT color=#00003>หอสังเกตุการณ์ฮ่องกง (Hong Kong Observatory) หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ ฟันธงตั้งแต่เช้าวันพฤหัสบดี แสดงให้เห็นดีเปรสชั่นฮากูปี๊ตบ่ายหน้าลงใต้ แต่สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปมากมายนับตั้งแต่นั้น ด้วยพลังแห่ง พระแม่ธรรมชาติ ที่ยิ่งใหญ่.   </b>
9
กำลังโหลดความคิดเห็น