xs
xsm
sm
md
lg

45 ปี “จระเข้บิน” Mi-24 อีกหนึ่งตำนานใกล้ตัว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เครื่องต้นแบบลำหนึ่งของ Mi-24A เกิดมาหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ โรเตอร์หางติดไว้ด้านขวาลำตัว รุ่นหลังๆ ต่อมาจึงย้ายไปอีกข้าง เอกลักษณ์ที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยก็คือ โรเตอร์ 4 ใบติดตั้งในระยะต่ำ ใช้แกนโรเตอร์สั้น เวลาผ่านไป 45 ปี จนถึงวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา มีการผลิต ฮ.โจมตีตัวกั่น ออกจากโรงงานในกรุงมอสโกกว่า 2,500 ลำ เป็นอากาศยานปีกหมุนที่มีชื่อเสียงก้องโลกอีกรุ่นหนึ่ง ผ่านสงคราม-กรำศึก มาหลายสมรภูมิทุกยุคทุกสมัย ในทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของไทย มีรุ่นที่บึกบึนกว่า และพิษสงร้ายแรงมากกว่าถึง 10 ลำ จากแผนการจัดซื้อจำนวน 50 ลำ. -- Photo: Russian Helicopters.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วันที่ 19 ก.ย. ผ่านไปอย่างเงียบๆ ไม่ต่างไปจากวันเดียวกันนี้ของทุกปีที่ผ่านมา แต่ 19 ก.ย.2557 พิเศษกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 45 ปีของเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ดุดันที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก อันเป็นผลผลิตของคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตในอดีต ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นอากาศยานปีกหมุนที่ทั่วโลกรู้จักกันดีที่สุด กรำศึกมาในทั่วทุกสารทิศ โชกโชนในสนามรบมากกว่าเพื่อร่วมรุ่นร่วมยุคสมัยรุ่นใดๆ ในโลกนี้ก็ว่าได้ อย่างน้อยที่สุดวงการทหารก็ได้ยกย่อง ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเบลล์ UH-1 “ฮิวอี้” ที่เป็นอีกตำนวนหนึ่งของค่ายตะวันตก-สหรัฐฯ

ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเกือบครึ่งศตวรรษ ในปัจจุบัน Mi-24 ก็ยังคงประจำการในกองทัพเกือบ 70 ประเทศ ด้วยเวอร์ชันแตกต่างกันไป จากรุ่นแรกมาสู่รุ่นหลังๆ ที่ผลิตออกมาหลายรหัส ตามจุดประสงค์ในการใช้งาน รวมจำนวนกว่า 20 รุ่น รวมทั้งรุ่นเก่ากว่าที่ใช้ในกองทัพอากาศเวียดนาม กองทัพอากาศอินโดนีเซีย กับรุ่นที่ใหม่กว่า น่าเกรงขามยิ่งกว่า ของกองทัพอากาศพม่าด้วย

โลกตะวันตก-นาโต้ ตั้งฉายาอย่างน่ารักน่าชังว่า “ไฮนด์” (Hind) ซึ่งหมายถึงกวางเพศเมียชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ เป็นรูปลักษณ์ที่ประทับใจเมื่อมองจากระยะไกล แต่สหภาพโซเวียตในอดีต มอง Mi-24 ในแง่ความทรหด ทนทาน บึกบึน และน่าเกรงขามเมื่อนำไปใช้งานจริงในสนามรบ และ เรียกมันว่า “รถถังบิน” (Flying Tank) ในขณะที่เหล่านักบินปีกหมุนของคอมมิวนิสต์ค่ายนี้ มีจำนวนไม่น้อยพอใจที่จะเรียกมันว่า “แก้วเหล้า” โดยมองจากห้องที่พวกเขานั่ง ซึ่งล้อมรอบด้วยกระจกกันกระสุน และให้ทัศนวิสัยที่ดีเยี่ยม มองเห็นด้วยตาได้เกือบรอบตัว ใสแจ๋ว... ไม่ต่างจากเมื่อมองผ่านแก้ววอดก้า

ต่างคนก็ต่างมอง แต่โลกรู้จัก Mi-24 ดีที่สุดในอีกชื่อหนึ่งคือ “ไอ้เข้บิน” หรือ Flying Crocodile ชื่อเล่นของ ฮ.โจมตีรุ่นนี้

ตามประวัติที่สามารถหาอ่าน และศึกษาได้ทั่วไปนั้น Mi-24 ถูกออกแบบให้เป็น ฮ.โจมตีที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในภารกิจปราบปราม ยิงสนับสนุนการรุกรบภาคพื้นดิน หรือแม้กระทั่งยิงอากาศยานด้วยกัน ก็เกิดขึ้นแล้วในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ซึ่ง Mi-24 ของอิรัก สอย เบลล์ AH-1 “คอบร้า” ของกองทัพอิหร่านร่วงไป 1 ลำ กับ F-4 “แฟนทอม 2” อีก 1 ลำ กลายเป็นตำนานแรกๆ ที่เครื่องบินปีกหมุนยิงเครื่องบินไอพ่นตกในสนามรบ

ย้อนกลับไปในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1960 รัฐบาลในกรุงมอสโก ได้มอบให้ มิคาอิล เลออน ทเยวิช มิล (Mikhail Leont'yevich Mil) วิศกรอากาศยานของรัฐวิสาหกิจผลิตอากาศยานปีกหมุน Mil Moscow Helicopter Plant คิดค้น ฮ.แบบหนึ่งที่สามารถสนับสนุนกำลังรบภาคพื้นดินได้อย่างดีที่สุด เพื่อให้เป็นทั้ง ฮ. อเนกประสงค์ โจมตี และลำเลียงขนส่งได้ในขณะเดียวกัน Mil ได้ผลิต ฮ.รุ่นใหม่ออกมาตามความปรารถนา คือ รบก็ได้ ขนคนก็ได้ แต่การใช้งานจริงนั้นลำบาก จึงเสนอให้รัฐบาลควรเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลัก และในที่สุด Mi-24 ก็ออกมาเป็น ฮ.โจมตี โดยมีงานลำเลียงพล ขนส่งเป็นรอง และจะต้องพัฒนา Mi-8 รุ่นเก่า ที่มีความคล่องตัวมากกว่าไปควบคู่กัน เพื่องานลำเลียงโดยเฉพาะ

กว่าจะทำรุ่นต้นแบบจะออกมาจากโรงงานได้ก็จนกระทั่งเดือน พ.ค.2511 กว่า “Mi-24A” ลำแรกจะขึ้นบินได้ ก็จนกระทั่งวันที่ 15 ก.ย. 2512 ซึ่งเป็นไปอย่างทะลักทุเล อีก 4 วันต่อมา โซเวียตจึงนับเป็นการเที่ยวบินปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการ

นายมิคาอิล มิล เจ้าของเครื่องต้นแบบ ถึงแก่กรรมในเดือน ม.ค.2512 ด้วยอายุ 60 ปี แต่การพัฒนา ฮ.โจมตีตัวเก่ง ยังคงดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ก้าวล่วงสู่ทศวรรษที่ 1980 เมื่อเวลาผ่านไป 45 ปี จนถึงวันนี้ได้มี Mi-24 เวอร์ชันต่างๆ ผลิตออกมาจากโรงงานในกรุงมอสโก เป็นจำนวนกว่า 2,500 ลำ ทั้งนี้ เป็นตัวเลขล่าสุดที่รวบรวมโดยเว็บไซต์เล็นตาด็อทอาร์ยู
.

.

.

.
หากนับรุ่นตามแบบของสหภาพโซเวียต ชื่อรุ่นย่อยต่างๆ ของ Mi-24 จะทำให้สับสน โลกตะวันตกจึงได้แบ่งสายการผลิตอากาศยานปีกหมุ่นรุ่นนี้ออกเป็นเพียง 3 สาย คือ Mi-24 ต้นแบบ Mi-25 (เวอร์ชันส่งออก) กับรุ่นล่าสุด Mi-35 ที่เติบโตมา เน้นหนักในภารกิจปราบยานเกราะโดยเฉพาะ สำหรับเวอร์ชันส่งออกของรุ่นนี้ จะดูตามอักษรที่กำกับเอาไว้ท้ายชื่อ และเมื่อลงไปในรายละเอียด นาโต้ ได้กำหนดชื่อเรียก Mi-24 ตามเวอร์ชันหลักต่างๆ จาก Mi-24A ต้นแบบ มาจนถึง Mi-24F ในปัจจุบัน

ตามประวัติการใช้งาน ฮ.โจมตีรุ่นจัดหนักของโซเวียต ได้เข้าร่วมในการศึกใหญ่ครั้งแรก ในการสู้รบแค้วนโอกาเดน (Ogaden War) ระหว่างปี พ.ศ.2520-2521 โดยกองทัพอากาศเอธิโอเปียใช้ยิงโจมตีกำลังทหารราบ-ยานเกราะของโซมาเลีย และในปี 2521 กองทัพประชาชนเวียดนาม ใช้ยิงโจมตีฝ่ายเขมรแดง ในเหตุปะทะตามแนวชายแดนระหว่าง 2 ประเทศ แม้จะไม่เคยมีบันทึกว่า เวียดนามได้นำ ฮ. พิฆาตรุ่นนี้เข้าประจำการในกัมพูชา ตลอดช่วงเวลา 10 ปีแห่งการยึดครองประเทศนี้ก็ตาม

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา Mi-24 ได้ผ่านการศึกอีกไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง ทั้งสงครามใหญ่ และสงครามกลางเมืองในหลายประเทศ จากแอฟริกา สงครามในตะวันออกกลาง สงครามอ่าวเปอร์เซีย สงครามอัฟกานิสถาน การสู้รบในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในละตินอเมริกา และในยุโรปตะวันออก รวมทั้งสงครามแคว้นเชชเนียของรัสเซียด้วย ใกล้ตัวยิ่งกว่านั้นก็คือ ในช่วงปี 2555-2556 กองทัพพม่าใช้ Mi-24 ทำศึกกับกองทัพเพื่อเอกราชรัฐกะฉิ่นหลายครั้ง วิดีโอคลิปที่ถ่ายทำจากสมรภูมิหลายชิ้นได้ยืนยันเรื่องนี้ ก่อนสถานการณ์จะซาลง หลังจากฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกบฏ ได้เซ็นข้อตกลงหยุดยิง

ตามรายงานของสื่อตะวันตก ในเดือน ธ.ค.2552 กองทัพพม่า ได้เซ็นสัญญาซื้อ Mi-35 จำนวน 10 ลำ จากประเทศเบลารุส รวมมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันได้รับมอบจนครบแล้ว ทั้งหมดประจำการที่ฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งในย่านชานเมืองหลวงใหม่เนปีดอ พม่ามีแผนจัดซื้อ Mi-24/Mi-35 ถึง 50 ลำ แต่ก็มีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาน้อยมาก .. และนี่คือเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดเกี่ยวกับ “จระเข้บิน” เจ้าตำนาน.
.
"โคตรไอ้เคี่ยม" รวบรวมจากโลกออนไลน์หลายสำนัก
<bR><FONT color=#000033>รุ่นแรกๆ กับรุ่นหลังๆ แตกต่างกันในหลายจุด ตั้งแต่ห้องนักบิน จนถึงจุดติดตั้งปืนใหญ่อากาศ ไปจนถึงจุดติดจรวดนำวิถียิงรถถัง. -- Photo: Russian Helicopters. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>จุดเด่นของ Mi-24 ในเรื่องอาวุธก็คือ มีจุดติดตั้ง หรือ ฮาร์ดพ้อยต์ จำนวน 6 จุด ติดอาวุธชนิดต่างๆ ได้สูงสุดถึง 2.4 ตัน รวมทั้งจรวดนำวิถี จรวดไม่นำวิถี ลูกระเบิด ปืนกล และเครื่องยิงลูกระเบิด. -- Photo: Dmitry Dukhanin/Kommersant.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>Photo: Radomil/Wikipedia. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>รุ่่นส่งออกในปัจจุบัน จะเป็น Mi-35 ทั้งหมด รวมทั้งในภาพซึ่งเป็น Mi-35M ของกองทัพอากาศบราซิล. -- Photo: Russian Helicopters.   </b>
5
<bR><FONT color=#000033>ไอ้เคี่ยม Mi-35P ของกองทัพอากาศเปรู ซึ่งปัจจุบันมี 2 ลำ กับอีก 16 ลำเป็น Mi-25 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นส่งออกของ Mi-24D .. เรียกไปก็งงไป เพราะผลิตออกมาหลากหลายรุ่นย่อย ตามความต้องการใช้.  -- Photo: Russian Helicopters.</b>
6
<bR><FONT color=#000033>ใกล้ตัวเข้ามาอีก เป็น Mi-35P หนึ่งใน 5 ลำของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ซื้อเมื่อปี 2550 ด้วยเงินกู้แบบเอ็กซ์ปอร์ตเครดิต จากรัสเซีย. --  Photo: Russian Helicopters. </b>
7
<bR><FONT color=#000033>ตามข้อมูลในเว็บไซต์ Flighglobal MiliCAS บรรดาประเทศเจ้าของ Mi-24 เจ้าใหญ่ๆ นอกสหภาพโซเวียต มีหลายเจ้าคือ แอลจีเรีย 36 ลำ ซูดาน 36 ซีเรีย 28 และ เวียดนาม 25 ลำ เคยใช้ไล่ยิงเขมรแดงในสงครามชายแดนช่วงปี 2521. -- Photo: Russian Helicopters.</b>
8
<bR><FONT color=#000033>Mi-24PN กองทัพอากาศรัสเซีย. -- Photo: Russian Helicopters.</b>
9
<bR><FONT color=#000033>โรงงานประกอบที่ Rostov-on-Don ปัจจุบันผลิต Mi-35 ออกมาทั้งเพื่อส่งออก และ ใช้ประจำการในกองทัพรัสเซียเองด้วย. -- Photo: Reuters/John Bowker.</b>
10
<bR><FONT color=#000033>ฝูง Mi-24 จำนวน 6 ลำ เข้าร่วมพิธีสวนสนามในวันครอบรอบ สงครามรักชาติ ชัยชนะเหนือนาซี เมื่อปีที่แล้ว. -- Photo: Russian Helicopters.</b>
11
<bR><FONT color=#000033>ลำที่หันหัวคือ Mi-35 กับ Mi-28 ระหว่างฝึกนักบิน เตรียมโชว์ในงานฉลองรบรอบ 100 ปี กองทัพอากาศรัสเซียเมื่อปี 2555. -- Photo: Vitaliy Belousov/RIA Novosti. </b>
12
<bR><FONT color=#000033>Mi-24P ผลิตออกมาในช่วงปี พ.ศ. 2524-2532 ปัจจุบันยังเป็นกำลังสำคัญของกองทัพอากาศรัสเซีย. --  Photo: Russian Helicopters.</b>
13
<bR><FONT color=#000033>ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นหลัก Mi-24 ออกแบบมาสำหรับนักบินกับลูกเรือตั้งแต่ 2-3 คน และ บรรทุกได้ถึง 8 ที่นั่งโดยสาร กับคนป่วยบนเปลหามอีก 2 หลัง เจ้าหน้าที่การแพทย์อีก 1 คน.   -- Photo: Igor Zarembo/RIA Novosti. </b>
14
<bR><FONT color=#000033>เป็น Mi-24PN กองทัพอากาศรัสเซีย ฮ.โจมตีรุ่นนี้ทำความเร็วได้สูงสุด 335 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ รัศมีปฏิบัติการ 450 กม. --  Photo: Russian Helicopters. </b>
15
<bR><FONT color=#000033>อยู่ในสนามรบมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังรบ ว่ากันว่ารัสเซียส่ง Mi-35M ในภาพนี้ไปประจำยังคาบสมุทรไครเมีย เมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมรบเต็มพิกัด หากสงครามแยกดินแดนในภาคตะวันออกของยูเครนบานปลายจนเอาไม่อยู่. -- Photo: Reuters/Valentin Ohyrenko.  </b>
16
กำลังโหลดความคิดเห็น