xs
xsm
sm
md
lg

พม่าชี้การเจรจาสันติภาพกับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีปี 2556 รองผู้บัญชาการกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) สัมผัสมือกับเจ้าหน้าที่ทหารอาวุโสของกองทัพทหารพม่า ที่เมืองมิตจีนา เมืองเอกของรัฐกะฉิ่น เพื่อเจรจายุติความขัดแย้งจากการปะทะกันระหว่างกองกำลังของสองฝ่ายปะทุขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางการพม่าระบุว่า รัฐบาลได้พยายามเจรจาหยุดยิงกับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ในประเทศ ซึ่งบรรลุข้อตกลงแล้ว 14 กลุ่มจากทั้งหมด 16 กลุ่ม และทางการยังคงเดินหน้าความพยายามในการเจรจาสันติภาพเพื่อบรรลุข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศที่นับว่าคืบหน้ามากที่สุดในประวัติศาสตร์พม่า.-- Agence France-Presse.</font></b>

เอเอฟพี - ความพยายามของพม่าที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงครั้งประวัติศาสตร์กับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของประเทศ หัวหน้าผู้เจรจาของรัฐบาลพม่ากล่าววานนี้ (22) ในการเริ่มต้นเจรจาสันติภาพรอบใหม่

รัฐบาลได้ดำเนินความพยายามจนยุติความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนชนกลุ่มน้อยของประเทศที่ดำเนินมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกหลังประเทศหลุดพ้นจากการปกครองของรัฐบาลทหารนานหลายทศวรรษ แต่การหารือก็ติดขัดจากความไม่ไว้วางใจ และความตึงเครียดในหลายพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยเช่นกัน

“ทุกคนต่างยอมรับว่ากระบวนการสันติภาพอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญมาก” อ่อง มิน อดีตนายพลแนวหน้าของความพยายามสร้างสันติภาพกล่าวในการเปิดการเจรจารอบใหม่ที่จะดำเนินไปอีกหลายวัน

ผู้เจรจาหวังว่า การเจรจารอบใหม่จะขยับเข้าใกล้ข้อตกลงกับกลุ่มกบฏได้มากขึ้น หลังการเจรจาหลายรอบก่อนหน้านี้ได้ข้อตกลงเป็นส่วนใหญ่ของร่างข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ

“ด้วยความพยายามจากทั้งสองฝ่าย เราต่างเห็นชอบร่วมกันในข้อเท็จจริงหลายประการ และมีความคืบหน้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์พม่า” อ่อง มิน กล่าวและว่า รัฐบาลพม่าเห็นชอบที่จะยอมรับแนวคิดระบบการปกครองแบบสมาพันธรัฐในกระบวนการสันติภาพ ที่เป็นข้อเรียกร้องสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย แต่กระบวนการต้องใช้เวลามากกว่าที่คาดไว้

ความหลากหลายทางเชื้อชาติในพม่า ทำให้พม่าต้องประสบกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในโลกจากความไม่สงบในพื้นที่พรมแดนที่อุดมด้วยทรัพยากรของประเทศ ซึ่งปะทุขึ้นหลังพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491

รัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เข้าบริหารประเทศในปี 2554 ได้ลงนามหยุดยิงกับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ 14 กลุ่ม จากทั้งหมด 16 กลุ่มหลัก แต่ข้อตกลงกับกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) และกองกำลังปลดปล่อยชาติปะหล่อง ในรัฐชาน ยังคงห่างไกล

ประชาชนราว 100,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัยที่เป็นผลจากการต่อสู้เป็นระยะๆ ระหว่าง KIA และกองกำลังของรัฐบาล ที่ปะทุขึ้นในเดือน มิ.ย.2554 ไม่นานหลังรัฐบาลใหม่เข้ามาแทนที่รัฐบาลทหาร

และในการเจรจาครั้งล่าสุดนี้ กองทัพพม่า ได้เข้าร่วมการเจรจาโดยมองว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะเห็นชอบในข้อตกลงที่มีผลผูกพัน

“ทหารเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพมากที่สุด เราไม่ได้มาที่นี่เพื่อหาข้อผิดพลาดของแต่ละฝ่าย” พลโทมี้น โซ หัวหน้าทีมเจรจาของกองทัพทหารพม่า กล่าวในที่ประชุม

ส่วนผู้เจรจาของฝ่ายกบฏที่ต้องการผลักดันให้เกิดการเจรจาทางการเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนกับการวางอาวุธ ได้เน้นย้ำความสำคัญของการบรรลุข้อตกลง

“หากเรายังเป็นเช่นนี้ต่อไป คงไม่มีหวังสำหรับประเทศของเรา ประเทศจะแตกออกเป็นส่วนๆ ชะตากรรมของประชาชนขึ้นอยู่กับพวกเรา” นาย ฮัน ทา ผู้นำการเจรจากลุ่มชาติพันธุ์ กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น