xs
xsm
sm
md
lg

พม่าตั้งเป้าส่งข้าวตลาดยุโรป หวังฟื้นสถานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพเอเอฟพีวันที่ 17 ส.ค. 2556 ชาวนาพม่าเทข้าวเปลือกกองรวมกันบนลานเพื่อรอขนย้าย ในกรุงเนปีดอ พม่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอู่ข้าวของเอเชีย แต่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า การจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาด และการโดดเดี่ยวประเทศ ทำให้ภาคการเกษตรของประเทศได้รับผลกระทบ หลังเต็งเส่งเข้าบริหารประเทศในปี 2554 รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศหลากหลายด้าน และมีเป้าหมายที่จะฟื้นสถานะของประเทศให้กลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อีกครั้ง โดยมุ่งไปที่ตลาดสหภาพยุโรปที่พม่าได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

อีเลฟเว่นนิวส์ - พม่ามีเป้าหมายที่จะฟื้นสถานะการเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ด้วยกลยุทธ์ใหม่ในการส่งออกของประเทศ ที่จะทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกอันดับแรก โดยมีสหภาพยุโรปเป็นตลาดเป้าหมาย

กลยุทธ์ 5 ปี ที่เปิดเผยในการประชุมผู้นำทางธุรกิจที่สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมสหภาพพม่า สำนักงานกรุงย่างกุ้ง เจ้าหน้าที่รัฐเรียกร้องให้บรรดาผู้นำทางธุรกิจทบทวนแนวทางการส่งออกด้วยการให้ความสนใจมายังสินค้ามูลค่าเพิ่มมากขึ้น

ดร.หม่อง อ่อง ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์พม่า กล่าวว่า การส่งเสริมการส่งออกสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยการเน้นทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ และชี้ว่า ข้าวพม่าได้เปรียบในตลาดยุโรปเพราะราคาถูกกว่าข้าวของไทย และเวียดนาม นอกจากนั้น สหภาพยุโรปยังให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่พม่า ที่ได้รับการลด หรือยกเว้นภาษีขาเข้าในสินค้าทุกชนิด ยกเว้นอาวุธ

“ข้าวเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงให้ความสำคัญต่อข้าวเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนสินค้าส่งออกอื่นๆ ประกอบด้วย ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากแร่ ผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป และสิ่งทอ” หม่อง อ่อง กล่าวและว่า การผลิตในปริมาณมากจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม และช่วยลดความยากจน

ก่อนหน้านี้ มีเพียงการส่งออกน้ำมัน และก๊าซที่ทำรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ แต่การส่งออกน้ำมัน และก๊าซไม่รวมอยู่ในกลยุทธ์ใหม่ เพราะน้ำมัน และก๊าซไม่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการสร้างงาน

พม่า ส่งออกข้าวไปทั้งหมด 1.8 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2555-2556 และลดลงเหลือ 1.2 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2556-2557 ส่วนการส่งออกข้าวในปีนี้คาดว่าจะเกินกว่า 1 ล้านตัน

สำหรับกลยุทธ์การส่งออกของประเทศที่พัฒนาขึ้นในช่วง 2 ปี ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ).
กำลังโหลดความคิดเห็น