xs
xsm
sm
md
lg

ชาวนาเวียดนามเฮง ภายใน 3 ปีทั่วที่ราบปากน้ำโขงมีรถเกี่ยวข้าวใช้ รัฐบาลปล่อยกู้เอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ชาวนากำลังขับ รถเกี่ยวข้าว ในท้องนาหมู่บ้านหงายเกิ่ว (Ngai Cau) ชาวกรุงฮานอยในภาพวันที่ 26 ต.ค.2554 เวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกได้ประกาศปล่อยกู้ให้ชาวนาทุกจังหวัดและนคร ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงซื้อเครื่องจักรแบบเดียวกันนี้ไว้ใช้อีกเกือบ 7,000 คัน เพื่อช่วยลดการสูญเสียข้าวเปลือก คุ้มค่าประหยัดเวลา และแน่นอน .. มีข้าวส่งออกเพิ่มขึ้นอีกปีละหลายแสนตัน. -- Reuters/Kham. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - คอมมิวนิสต์เวียดนาม ได้ประกาศโครงกาารจัดสรรเงินกู้ให้แก่จังหวัด และนครในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง เพื่อช่วยเหลือชาวนาทั้งหมดซื้อเครื่องจักรเกี่ยวข้าว และนวดข้าว ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เพื่อให้มีเครื่องจักรใช้ครบในทุกท้องถิ่นภายใน 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการยกย่องจากสื่อว่าเป็นการช่วยเหลือกระดูกสันหลังของชาติอย่างยั่งยืน

รัฐบาลให้ธนาคารขอรัฐออกเงินกู้ จำนวน 2,800 ล้านล้านโด่ง หรือประมาณ 133.3 ล้านดอลลาร์ สำหรับการซื้อเครื่องจักรผสมผสาน สำหรับเกี่ยว และนวดข้าวอีก 6,800 เครื่อง ซึ่งจะทำให้จำนวนเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในเขตอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศแห่งนี้เพิ่งขึ้นเป็นทั้งหมด 15,500 เครื่อง เพื่อให้ที่นาทุกแปลงเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักร เทียบกับ 44% ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน สำนักข่าวทางการเวียดนามรายงาน

รัฐบาลจะแบกรับภาระดอกเบี้ยให้แก่ชาวนาทุกรายในช่วง 2 ปีแรก ซึ่งจากการศึกษาได้พบว่าเป็นช่วงเวลาที่ชาวนาครอบครัวต่างๆ จะสามารถคุ้มทุนในการลงทุนซื้อเครื่องจักร แต่ถ้าหากยังชำระหนี้ไม่หมด ปีต่อๆ ไป ทางการจะช่วยชำระดอกเบี้ยให้ 50% ของจำนวนหนี้ที่เหลือ

ความจริงแล้วนโยบายนี้กำหนดออกมาเพื่อช่วยลดอัตราการสูญเสียข้าวเปลือก ระหว่างการเก็บเกี่ยว ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นอัตรา 5.6% อัตราการสูญเสียนี้จะลดลงเป็นประมาณ 2% เมื่อเกี่ยวด้วยเครื่องจักร ซึ่งคิดเป็นข้าวเปลือกปีละประมาณ 900,000 ตัน สำนักข่าว VNA (Vietnam News Agency) ของทางการกล่าว

สำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทนครเกิ่นเทอ (Can Tho) ศูนย์กลางที่ราบปากแม่น้ำโขงกล่าวว่า ชาวนาทั่วไปในย่านนี้จะสามารถกู้ทุนค่าเครื่องจักรคืนได้ภายในเวลา 2 ปี หรือนานที่สุดก็ราว 2 ปีครึ่ง เครื่องจักรแต่ละเครื่องสามารถเก็บเกี่ยวแ ละนวดข้าวได้อย่างน้อยวันละ 3 เฮกตาร์ (18.75 ไร่) เท่ากับใช้แรงงานคน 30 คน การเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักรมีต้นทุน 2 ล้านโด่ง (95.2 ดอลลาร์) ต่อเฮกตาร์ ต่ำกว่าค่าจ้างแรงงานคน 1 ล้านโด่งต่อเฮกตาร์

ภายใต้นโยบายช่วยชาวนาซื้อเครื่องจักรกลนี้ ทางการจังหวัดต่างๆ ได้รับคำสั่งให้ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลง เปิดหลักสูตรอบรมการใช้กับการซ่อมบำรุง ปรับปรุงระบบชลประทาน ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งเข้าสู่ผืนนาที่อยู่ห่างไกลจากเส้นทางคมนาคมหลัก สำนักข่าวของทางการกล่าว

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ราวร้อยละ 40 ของข้าวส่งออก ผลิตจากผืนนาในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงแห่งนี้ ซึ่งทุกๆ ปีปลูกข้าวราว 4.2 ล้านเฮกตาร์ (2,625 ล้านไร่) ผลิตข้าวเปลือกได้ปีละประมาณ 25 ล้านตัน คิดเป็นประมาณ 58% ของข้าวที่ผลิตได้ทั้งประเทศ

ปัจจุบัน ชาวนาในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงต้องสูญเสียข้าวเปลือกขั้นตอนการเก็บเกี่ยว รวมกันปีละประมาณ 1.4 ล้านตัน VNA รายงานอ้างตัวเลขของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท.
กำลังโหลดความคิดเห็น