xs
xsm
sm
md
lg

สหประชาชาติเตือนเหตุอาชญากรรมคุกคามความมั่นคงพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพเดือนต.ค. 2555 จากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เผยให้เห็นแรงงานในรัฐชานของพม่ากำลังกรีดดอกฝิ่นเพื่อเก็บยาง  สำนักงาน UNODC ระบุว่าการผลิตฝิ่นในพม่าเพิ่มสูงมากในปี 2556 ที่ผ่านมา กิจกรรมทางอาญาเหล่านี้ รวมทั้งการลักลอบค้ายาเสพติดกำลังบ่อนทำลายความมั่นคงและการพัฒนาของพม่า.-- Agence France-Presse/UNODC Myanmar 2012.</font></b>

เอเอฟพี - สหประชาชาติ เตือนว่ากิจกรรมทางอาญาที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในพม่ากำลังบ่อนทำลายความมั่นคง และการพัฒนาของประเทศ หลังสหประชาชาติ ยกย่องการเป็นหุ้นส่วนใหม่กับรัฐบาลพม่าที่จะจัดการอาชญากรรม และปัญหายาเสพติดในประเทศ

พม่า ประเทศผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากอัฟกานิสถาน และผู้ผลิตยาเสพติดสังเคราะห์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ลงนามข้อตกลงที่จะทำงานร่วมกันกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ในการจัดการกับปัญหายาเสพติด และการค้าผิดกฎหมาย

“กิจกรรมทางอาญาในพม่ากำลังทำลายความพยายามในการพัฒนาความไม่มั่นคงของมนุษย์เพิ่มสูง และคุกคามกระบวนการสร้างสันติภาพ” เจเรมี ดักลาส ผู้แทน UNODC ประจำภูมิภาค ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

พม่า อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนกระทั่งรัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าบริหารประเทศในปี 2554 ที่ได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศหลากหลายด้านจนได้รับคำชมจากประชาคมโลก และดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย เมื่อมาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ของตะวันตกถูกยกเลิกลง

แต่พื้นที่พรมแดนห่างไกลติดกับไทย และลาว ที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ และพรมแดนติดกับจีน และอินเดีย ยังคงมีเครือข่ายเส้นทางลักลอบค้าตั้งแต่ยาเสพติด ไปจนถึงสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ไม้ และการลักลอบค้ามนุษย์

“รายได้ที่เกิดขึ้นจากการลักลอบหลากหลายรูปแบบในพม่า ถูกนำไปฟอกเงิน และบิดเบือนความชอบธรรมทางเศรษฐกิจ ติดสินบนเจ้าหน้าที่ และบ่อนทำลายความมั่นคง” คำแถลงของ UNODC ระบุ

ช้อตกลงของ UNODC กับพม่า ที่จะดำเนินเรื่อยไปจนถึงปี 2560 ครอบคลุมในหลายส่วน ที่รวมทั้งอาชญากรรมข้ามชาติ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ความยุติธรรมทางอาญา และจัดหาการพัฒนาทางเลือกสำหรับผู้ปลูกฝิ่น

UNODC ระบุเมื่อเดือน ธ.ค. ว่า การผลิตฝิ่นของพม่าเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดในรอบมากกว่าทศวรรษในปี 2556 ที่มีการผลิตประมาณ 870 ตัน อันเนื่องมาจากผลผลิตที่สูงขึ้น และพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ในพื้นที่ทางภาคตะวันออกของพม่า ที่กบฏชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยต่อสู้กับกองกำลังของรัฐบาลเป็นเวลานานหลายปี และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองยังไม่ได้แปลเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสำหรับชุมชนยากจน

นอกจากฝิ่นแล้ว อัตราการผลิตยาบ้ายังเพิ่มสูงขึ้นในพม่าเช่นกัน จากการลักลอบนำเข้าสารเคมีตั้งต้นข้ามพรมแดนประเทศ

ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางการพม่า ได้เผาทำลายยาเสพติดที่ยึดได้รวมมูลค่าราว 130 ล้านดอลลาร์ ที่ประกอบด้วย ฝิ่น 1.3 ตัน เฮโรอีน 225 กิโลกรัม และยาบ้า 1.2 ตัน และในสัปดาห์ก่อน ทางการยังสามารถยึดยาเสพติดมูลค่ารวมกว่า 7.3 ล้านดอลลาร์ ที่ฝังไว้ใต้ดินในป่าในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ.
กำลังโหลดความคิดเห็น