xs
xsm
sm
md
lg

พิลึกกึกกือ ปลาพญานาคยาว 4.2 เมตร ติดเบ็ดในเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>จะเชื่อหรือไม่เชื่อดี แต่ผู้นำภาพนี้ขึ้นโพสต์ก็มีตัวมีตน ชมรมตกปลาดังกล่าวก็มีอยู่จริงในนครด่าหนังและยังท้าให้พิสูจน์อีกด้วย แต่.. ข่าวปลาพญานาคติดเบ็ดเป็นเรื่องประหลาดเอาการทีเดียว. -- ภาพ: เหงือยเดือตินออนไลน์.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ฮือฮากันยกใหญ่ในหมู่ประชาคมออนไลน์เวียดนาม เมื่อสมาชิกชมรมตกปลายในนครด่าหนังผู้หนึ่งนำภาพ “ปลาพญานาค” เผยแพร่ในเฟซบุ๊กสัปดาห์นี้โดยอธิบายว่าตกได้จากอ่าวแห่งหนึ่งใน จ.เถือะเทียนเหว (Thua Thien Hue) ทางภาคกลางตอนบนของประเทศ ปลามีหนวดยาวกับหงอนสีแดงเหมือนนกฟีนิกซ์ในนิยายปรำปรา ลำตัวออกสีแดงเรื่อกับสีเงินวาววับตลอด ยาวหัวจดหาง 4.2 เมตร น้ำหนัก 29.6 กิโลกรัม ซึ่งถ้าหากเป็นความจริงก็จะเป็นตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่ปลาจากทะเลลึกชนิดนี้ปรากฏในเวียดนาม และนับเป็นตัวที่ 3 เท่าที่เคยมีรายงานการพบในช่วงไม่กี่ปีมานี้

อย่างไรก็ตาม ประชาคมออนไลน์ในนครด่าหนัง และทั่วทั้งประเทศกำลังต้องการข้อพิสูจน์ว่า ภาพปลาพญานาคตัวล่าสุดนี้เป็นของจริงหรือไม่อย่างไร เพราะเจ้าตัวไม่ได้แสดงเบ็ดคันที่ใช้ตกในภาพ และโอกาสที่ปลาจากมหาสมุทรสุดลึก จะขึ้นมาติดเบ็ดของนักตกปลาถึงชายฝั่งนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ขัดต่อความรู้สึกเอาการทีเดียว

สมาชิกชมรมตกปลาฮายวัน (Hai Van Fishing Club) ในด่าหนัง ผู้ที่นำภาพขึ้นโพสต์กล่าวว่า หลังจากตกได้ไม่นาน จัดแจงถ่ายรูปแสดงผลงานเสร็จสรรพเหล่านักตกปลาก็ได้ร่วมกับชาวบ้านในย่านนั้นจัดการฝังปลาพญานาคบนหาดทรายริมอ่าวแห่งนั้นตามความเชื่อของราษฎรในท้องถิ่น โดยจัดพิธีกรรมขึ้นอย่างสมเกียรติ มีผู้เข้าร่วมพิธีกรรมนี้หลายสิบคน ซึ่งสามารถช่วยยืนยันข้อเท็จจริงได้ เหงือยเดือติน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ภาษาเวียดนามรายงาน

เดือน พ.ค.ปีที่แล้ว มีปลาชนิดเดียวกันตัวหนึ่งยาวประมาณ 4 เมตร ถูกน้ำซัดเข้าเกยหาดทราย ใน อ.หงิเซิน (Nghi Son) จ.แค้งฮวา (Khanh Hoa) ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศ และก่อนหน้านั้นราว 2 ปีมีอีก 1 ตัวถูกซัดขึ้นมาเกยตื้นในจังหวัดเดียวกัน ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเกียนถึกออนไลน์ภาษาเวียดนาม

เรียกขานกันในโลกตะวันตกว่า Oarfish หรือ Paddlerfish มีความหมายตรงตัวว่า “ปลาไม้พาย” เป็นปลาในวงส์ Regalecidae ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรห่างไกลจากชายฝั่งในระดับน้ำที่มีความลึกตั้งแต่ 1,000 เมตร และมักจะโผล่ขึ้นมาให้เห็นบนผืนน้ำในยามเจ็บป่วย หรือขึ้นมาเพื่อรับแสงแดด และเมื่อเกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรจึงทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปลาแผ่นดินไหว”
.

2

3
ปลา Oarfish ถูกเรียกเป็น “ปลาพญานาค” ในย่านนี้ หลังจากเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว มีการเผยแพร่ภาพนาวิกโยธินสหรัฐฯ เกือบ 30 คน ช่วยกันจับยกปลาตัวยาว 7 เมตร น้ำหนักกว่า 100 กก.ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก โดยมีบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาลาวว่า เป็นปลาที่จับขึ้นจากแม่น้ำโขงในลาว ต่อมา มีการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแล้วเผยแพร่กันมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นที่มาของชื่อตามตำนานที่ร่ำลือกันในแม่น้ำสายนี้

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าภาพดังกล่าวถ่ายทำจากริมทะเลแห่งหนึ่งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ และไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับแม่น้ำโขง

นักเดินเรือรู้จักปลาชนิดนี้มาตั้งแต่โบราณกาล และเป็นที่มาของข่าวเล่าลือเกี่ยวกับ “อสุรกายแห่งมหาสมุทร” หรือ “งูใหญ่แห่งมหาสมุทร” หนังสือกินเนสส์ บันทึกเป็นสถิติเอาไว้ว่า Oarfish ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีผู้จับได้ลำตัวยาวถึง 17 เมตร แต่แท้จริงแล้วเป็นปลาที่ไม่มีฟันแหลมคมอะไร กินแพลงก์ตอน กินพืชกับสัตว์น้ำตัวเล็กๆ เป็นอาหาร และไม่มีอันตรายใดๆ ต่อมนุษย์และสัตว์น้ำขนาดใหญ่.
กำลังโหลดความคิดเห็น