xs
xsm
sm
md
lg

กวาดอีก $1,000 ล้านส่งออกไม้สัก-ไม้ซุง หม่องรวยแล้วรวยเลย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>จะไปหาดูต้นสักขนาดนี้ได้ที่ไหนอีก? เครื่องจักรขนาดใหญ่กำลังนำท่อนซุงไม้สักขนาดมหึมาขึ้นรถบรรทุกลากในเขตเมืองพินเลบู (Pinlebu) เขตสะกาย (Sagaing) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศในภาพวันที่ 9 มี.ค.2557 คำสั่งห้ามส่งออกไม่ซุงเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. แต่ไม่ได้ห้ามไม้ท่อนและไม้แปรรูป ปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมาการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าทำรายได้ให้ประเทศเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์. -- Reuters/Soe Zeya Tun. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - การส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ของพม่าจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2556-2557 วันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำรายได้ให้พม่าเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์ ในนั้นการส่งออกไม้สักเพียงประเภทเดียวมีมูลค่าถึง 638 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เป็นตัวเลขล่าสุดที่เผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์สัปดาห์นี้

ตัวเลขนี้ได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากป่าไม้โดยรวมก่อนรัฐบาลจะประกาศห้ามส่งออกไม้ซุงทุกชนิดในเดือน มี.ค.2557 หลังพบว่า ป่าถูกทำลายอย่างหนัก แต่เมื่อรวมมูลค่าส่งออกไม้ท่อนกับซุงไม้สัก กับการส่งออกไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นๆ ทั้งในรูปไม้ท่อน-ไม้ซุง การส่งออกไม้อัดและผลผลิตอื่นๆ จากไม้ สินค้าหมวดนี้ทำรายได้ทั้งหมด 947 ล้านดอลลาร์ รายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุ

ในช่วงเดียวกัน พม่าส่งออกไม้สักท่อนเกือบ 34,328 ตัน เป็นมูลค่า 916 ล้านดอลลาร์ ส่งออกในรูปซุงสักอีกรวมมูลค่า 31 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดนี้เป็นการส่งออกทางบก นอกจากนั้น ยังมีการส่งออกทางเรือเป็นไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นๆ ในรูปไม้ท่อนอีกกว่า 590,000 ตัน รวมมูลค่า 222 ล้านดอลลาร์ และส่งออกเป็นไม้ซุงอีกกว่า 9,000 ตัน ไม้อัดอีก 18,000 ตัน กระทรวงพาณิชย์กล่าว

ตัวเลขของทางการไม่ได้จำแนกในรายละเอียดว่าการส่งออกไม้แปรรูปกับไม้ซุง “ทางบก” นั้น เป็นการขายให้ประเทศใดบ้าง แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า จีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของไม้พม่า ผู้ค้าชาวจีนเข้าลงทุนตัดไม้ และลากซุงเองก่อนนำขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่ข้ามพรมแดน นำไปแปรรูปเพื่อการก่อสร้าง และซ่อมแซมบ้านและผลิตเฟอร์นิเจอร์ สนองความต้องการของตลาดใหญ่

การประกาศห้ามส่งออกซุงทุกชนิดเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อหาทางหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดึงดูดความสนใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้าผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกแทน

นอกจากนั้น หลายปีที่ผ่านมา ขณะที่มีการค้าขายไม้ซุงข้ามแดนอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ยังมีการลักลอบตัดป่าเพื่อส่งไม้ขายอย่างผิดด้วยกฎหมายอีกเป็นจำนวนมาก

ตามตัวเลขของสำนักงานตรวจสอบสภาพแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Investigation Agency) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ทั้งในสหรัฐฯ และสหราชอราณาจักร ระหว่างปี พ.ศ.2544-2556 ในพม่ามีการส่งออกไม้ซุงอย่างผิดกฎหมายเป็นปริมาตร 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมมูลค่า 5,700 ล้านดอลลาร์ องค์การนี้ยังแสดงความแตกต่างของตัวเลขระหว่างตัวเลขการค้าอย่างเป็นทางการกับตัวเลขจากการค้าขายที่ผิดกฎหมายผ่านขบวนการฉ้อราษฎร์บังหลวงอีกด้วย

ถึงแม้ทางการพม่าจะกล่าวแก้ว่า การส่งออกซุงอย่างผิดกฎหมายนั้นเกิดขึ้นเพียงในเขตแดนของกลุ่มชาติพันธุ์ก็ตาม แต่ EIA กล่าวว่า การลักลอบค้าซุงข้ามแดนจากพม่าไปยังมณฑลหยุนหนันของจีนนั้นในแต่ละปีมีมูลค่าถึง 413 ล้านดอลลาร์.
.
<bR><FONT color=#000033>เครื่องจักรกำลังขนซุงไม้สักขึ้นรถบรรทุกในเขตเมืองพินเลบู (Pinlebu) เขตสะกาย (Sagaing) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ พม่าห้ามส่งออกไม้ซุงในปีงบประมาณใหม่ซึ่งเริ่มวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังพบว่าป่าไม้ถูกทำลายอย่างหนักทั่วประเทศ แต่ 12 เดือนก่อนหน้านี้การส่งออกไม้สักทั้งในรูปไม้ท่อนและซุงนำหน้าสินค้าชนิดอื่นในหมวดเดียวกันทำให้พม่ามีรายได้รวมเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์. -- Reuters/Soe Zeya Tun. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>เครื่องจักรไม่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ แรงงานดั้งเดิมยังจำเป็น.. ช้างกำลังลากซุงไม้สักในแค้มป์ตัดไม้ใกล้กับเมืองพินเลบู (Pinlebu) เขตสะกาย (Sagaing) ในภาพถ่ายวันที่ 6 มี.ค.2557 หรือราว 1 เดือนก่อนหน้าคำสั่งห้ามส่งออกไม้ซุงโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีผลบังคับ การส่งออกไม้ซุงทำรายได้มหาศาลให้แก่รัฐบาลทหารในช่วงหลายสิบปีก่อนหน้านี้. -- Reuters/Soe Zeya Tun. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ยัง.. ยังเก็บไปไม่หมด ต้นสักต้นหนึ่งถูกทิ้งไว้ในสวนป่าเขตทำไม้พะโค (Bago) ทางตอนกลางของประเทศ ในภาพถ่ายวันที่ 5 เม.ย.2557 หรือเมื่อ 1 เดือนก่อน หรือ 5 วันหลังจากคำสั่งห้ามส่งออกไม้ซุงเริ่มมีผลบังคับ บริเวณนี้เคยเป็นป่าสักที่สมบูรณ์ ไม้สักจากพม่าคิดเป็นปริมาณราว 1 ใน 3 ของไม้สักในตลาดโลกปัจจุบัน ปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงวันที่ 31 มี.ค. การส่งออกไม้สักทำรายได้นำหน้าสินค้าชนิดอื่นในหมวดเดียวกันที่มีมูลค่ารวมเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์. -- Agence France-Presse/Ye Auang Thu. </b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น