xs
xsm
sm
md
lg

ปีนี้เวียดนามเจอฉลามยั้วเยี้ย “จอว์” กลับคืนฝั่งทะเลจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>จากตัวเล็กๆ เป็นตัวใหญ่ .. จากที่เคยจับได้แต่ลูกฉลามมานานข้ามเดือน ฉลามน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัมตัวนี้ติดอวนลากชาวประมงในอ่าวเวินฟอง (Vân Phong) จ.แค้งหว่า (Khánh Hòa) สัปดาห์ปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ปีนี้ฉลามเข้าไปในอ่าวแห่งนี้มากมายเป็นประวัติการณ์ มีทั้งฝ่ายที่ยินดีปรีดากับฝ่ายที่หวาดวิตก รวมทั้งอีกกลุ่มหนึ่งที่ตื่นตระหนกสุดขีด บรรยากาศแห่งความสยองได้กลับคืนสู่ชายฝั่งทะเลเวียดนามแถบนี้อีกครั้งหนึ่งในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ชาวประมง จ.บี่งดิง (Bình Định) ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันขึ้นไปทางเหนือลากฉลามหนัก 1 ตันขึ้นจากอ่าวกวีเญิน (Quy Nhơn) เมื่อปี 2553. -- ภาพ: Báo Khánh Hòa. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - แม้ว่าการจับปลาฉลามได้มากมายในช่วงเดือนสองเดือนมานี้จะสร้างความสุขให้แก่ครอบครัวชาวประมงชายฝั่งในจังหวัดภาคกลางเวียดนามจำนวนหนึ่งก็ตาม แต่การปรากฏตัวอย่างมากมายผิดปกติของ “ปลากินคน” ชนิดนี้ได้สร้างบรรยากาศอันน่าสะพรึงกลัวอีกครั้งหนึ่งในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ชาวประมงในย่านนี้ลากฉลามขนาด 1 ตันขึ้นฝั่งเป็นต้นมา ซึ่งเคยเป็นข่าวเกรียวกราวไปทั่วภูมิภาค

ชาวประมงใน อ.วันนีง (Van Ninh) จ.แค้งหว่า (Khanh Hoa) กล่าวว่า พวกเขาจับฉลามขนาดเล็กน้ำหนัก 3-4 กิโลกรัมได้มากกว่าทุกปีในเขตอ่าววันฟอง (Van Phong) มากจนดูผิดปกติ แต่ก็เป็นขนาดที่ขายได้ราคาดี ตลาดนิยมบริโภค และนักชีววิทยาทางทะเลกล่าวว่า การที่มีฉลามจำนวนมากเข้าหากินในอ่าวนับเป็นปรากฏการณ์ในทางบวกเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเล แสดงให้เห็นความอุดมทางด้านชีวะนานาพันธุ์ทางน้ำ

แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่พึ่งพาการประมงชายฝั่งหาเลี้ยงครอบครัว กับราษฎรที่เลี้ยงปลาในกระชัง ปลากฏการณ์นี้เป็นเรื่องที่ทำให้ทุกคนหวาดกลัว เพราะทุกคนเชื่อว่าเมื่อพบลูกฉลามยั้วเยี้ยเช่นนี้ก็ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า ในทะเลบริเวณเดียวกันย่อมจะต้องมีแม่ฉลามอยู่ด้วย คำถามที่ถามกันทั่วไปตั้งแต่ จ.แค้งหว่า ลงไปจนถึงชายทะเล จ.บี่งดิง (Binh Dinh) ก็คือเมื่อไรแม่ฉลามจะมาให้เห็น...

ตามรายงานในเว็บไซต์ของทางการ จ.แค้งหว่า (Bao Khanh Hoa) ชาวประมงที่ออกหาปลาในบริเวณอ่าวเวินฟองกล่าวว่า พวกเขาเริ่มจับปลาฉลามได้มากมายตั้งแต่ช่วงหลังเทศกาลตรุษเดือน ก.พ. ปลาพวกนี้ติดอวนลากขึ้นมาเป็นจำนวนมากอย่างผิดสังเกตซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเล็ก แต่หลายตัวก็มีน้ำหนัก 30-40 กิโลกรัม และมีรายงานเช่นกันว่า ชาวประมงที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในบริเวณอ่าวลากอวนได้ฉลามนำหนักถึง 100 กก.ขึ้นมาด้วยตัวหนึ่งในช่วงกลางเดือน มี.ค.นี้

ดร.หวอสีต๋วน (Vo Si Tuan) ผู้อำนวยการสถาบันสมุทรศาสตร์เวียดนาม (Vietnam Institute of Oceanography) ที่เมืองญาจาง (Nha Trang) กล่าวว่า นี่คือสัญญาณที่ดีหลังจากหลายปีมานี้ในอ่าวเวินฟอง แทบจะไม่มีปลาให้จับอีกแล้วเนื่องจากการทำประมงที่เกินเลยขอบเขต

การกลับมาปรากฏตัวของปลาฉลามขนาดเล็กพวกนั้นช่วยยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ใต้น้ำที่กลับคืนสู่อ่าวสำคัญทางเศรษฐกิจแห่งนี้ แต่ก็แสดงความเป็นกังวลเช่นกันว่า ปีนี้ชาวประมงจับฉลามได้มากมายอย่างผิดปกติจริงๆ แม้จะยังไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการยืนยันก็ตาม

นายเลมีงจี๋ (Le Minh Tri) ชาวประมงอาชีพแห่งคอมมูนวันหึ่ง (Van Hung) กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงเทศกาลตรุษเป็นต้นมา เรือลากอวนของเขากวาดฉลามขนาดเล็กขึ้นมาได้ถึง 4 ฝูงแล้ว เกือบทั้งหมดน้ำหนัก 3-4 กก.ทั้งสิ้น และกว่า 30 ปีมานี้ ไม่เคยได้ยินว่ามีชาวประมงในย่านนี้่เคยจับฉลามได้มากมายขนาดนี้มาก่อนในบริเวณเดียวกัน

นักชีววิทยาทางทะเลแห่งสถาบันสมุทรศาสตร์ฯ กล่าวว่า สิ่งนี้แสดงให้เห็นการอพยพอย่างเป็นระบบของฝูงปลาฉลามเพื่อเข้าหาอาหารที่มีอุดมสมบูรณ์ในบริเวณอ่าว และใกล้ชายฝั่งเวียดนาม ซึ่งไม่ควรเป็นเรื่องที่ชวนให้วิตกแต่อย่างใด
.
<bR><FONT color=#000033>แผนที่ทำขึ้นจาก Google Map แสดงที่ตั้งอ่าวกวีเญิน (Quy Nhơn) จ.บี่งดิง (Bình Định) กับอ่าวเวินฟอง (Vân Phong) จ.แค้งหว่า (Khánh Hòa) ซึ่งเป็นเขตฉลามชุกชุม ปีนี้ชาวประมงจับได่ฉลามขนาดเล็กมากมายเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางความหวาดวิตกของหลายฝ่ายกับความยินดีปรีดากับนักนิเวศน์วิทยาทางทะเล.  </b>
.
ฉลามพวกนี้มาจากไหน?

นายหวอวันกวาง (Vo Van Quang) หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรสัตว์น้ำ สถาบันสมุทรศาสตร์ฯ กล่าวว่า การปรากฏตัวใกล้ชายฝั่งของลูกฉลามอยู่ในกระบวนการอพยพตามธรรมชาติหลังจากแม่ปลาวางไข่ในสถานที่ปิดใต้ท้องทะเลเพื่อความปลอดภัย หลังจากไข่ฟักเป็นตัวอ่อน แม่ฉลามก็จะหวนกลับออกสู่ทะเลลึกปล่อยให้ลูกน้อยหากินกันตามลำพังในอาณาบริเวณที่วางไข่ เมื่อเติบโตขึ้นมาพึ่งตัวเองได้ ฉลามน้อยพวกนี้ก็มุ่งหน้าสู่บริเวณทะเลน้ำตื้นที่น้ำลึก 5-7 เมตร มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ และเมื่อโตขึ้นมาเป็นปลาตัวโตแข็งแรงพอก็จะว่ายออกหากินในทะเลลึกเช่นเดียวกันกับแม่ของพวกมัน

เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมการอาศัย และการออกหาอาหารตามธรรมชาติแล้ว รศ.ดร.หวอสีต๋วน จึงบอกว่า การปรากฏตัวของฉลามจำนวนมากมายในแถบชายฝั่ง จ.แค่งหว่า นับเป็นสัญญาณที่ดีซึ่งได้ช่วยยืนยันสภาพแวดล้อม และสภาพนิเวศทางทะเลของอ่าวในบริเวณนี้ ซึ่งหมายความว่า ชาวประมงชายฝั่งจะจับปลาได้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าราษฎรในท้องถิ่นจะพลอยยินดีปรีดาไปเสียทั้งหมด ชายฝั่งทะเลที่มีระดับน้ำ 5-7 เมตรนั้น เป็นอาณาบริเวณที่ราษฎรหลายร้อยครอบครัวเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นเหยื่อล่อชั้นดี ทำให้ทุกคนไม่เป็นปลื้มกับข่าวการปรากฏตัวของฉลามจำนวนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ที่ดุร้ายหรือไม่ก็ตาม

นายฝ่ามแองเหวียด (Pham Anh Viet) ประดาน้ำอาชีพวัย 38 ปี ในคอมมูนวันหึ่ง กล่าวว่า เมื่อเดือนที่แล้วตัวเขาเองนำเรือออกไปยังย่านใจกลางอ่าวดำน้ำหาปลาตามปกติพร้อมกับปืนยิงฉมวก เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม มีปลาใหญ่ชุกชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาสาก (Barracuda) ตัวโตๆ น้ำหนัก 8-10 กก. ที่มักแยกฝูงออกหากินตามแหล่งปะการัง ปลาสากเป็นปลาขายได้ราคาดี ตลาดนิยมบริโภค แต่วันหนึ่งไปเจอฉลามสีเทาตัวเขื่องเข้าซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบกว่า 20 ปี

นายเหวียด กล่าวว่า เขาเองตกใจมากต้องรีบผุดขึ้นจากใต้ท้องน้ำขึ้นเรือ และตั้งแต่วันนั้นมาก็ไม่กล้าลงไปดำน้ำยิงปลาอีกเลย ถึงแม้พวกนักวิทยาศาสตร์จะยืนยันว่าปลาฉลามพวกนี้จะไม่จู่โจมคนง่ายๆ ก็ตาม เพียงแค่เห็นขนาดอันใหญ่โตของมันก็ต้องเผ่นแล้ว

ไม่กี่ปีมานี้ ชาวประมง จ.แค้งหว่า กับ จ.บี่งดิง ที่มีอาณาบริเวณติดกันลงไปทางใต้ได้รายงานการพบฉลามตัวโตหลายครั้ง ฉลามที่จับขึ้นมาได้หลายตัวน้ำหนักตั้งแต่ 200-650 กก. มีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 1-4 เมตร รวมทั้งตัวหนึ่งที่ติดอวนขึ้นมาจากอ่าวกวีเญิน (Quy Nhon) จ.บี่งดีง เมื่อปี 2553 ซึ่งหนักถึง 1 ตัน นับเป็นประวัติการณ์

เหตุการณ์ที่สัตว์น้ำตัวโตไล่งับขานักว่ายน้ำที่อ่าวกวีเญินนับสิบรายเมื่อปี 2552-2553 ได้ทำให้ทางการจังหวัดระดมทุกสรรพกำลังออกล่าฉลามในอ่าวท่องเที่ยว มีการตั้งค่าหัวด้วย ทำให้ฉลามขนาดต่างๆ ถูกสังหารไปหลายร้อยตัว แต่ยิ่งล่าก็ยิ่งเจออีกเป็นจำนวนมากจนต้องสั่งหยุดล่า และในที่สุดก็ต้องแก้ปัญหาโดยการขึงลวดตาข่ายบริเวณหาดที่นักท่องท่องเที่ยวนิยมลงว่ายน้ำ และห้ามออกนอกเขตเป็นอันขาด.
<bR><FONT color=#000033>ปลายครีบดำ .. ไม่ว่าจะตัวเล็ก-ตัวใหญ่ เจอใต้น้ำต้องรีบหลบเอาไว้ก่อน ตัวนี้ติดอวนลากขึ้นจากอ่าวเวินฟองในเขตคอมมูนวันฮึง (Vạn Hưng) อ.วันนีง (Vạn Ninh) จ.แค้งหว่า (Khánh Hòa). -- ภาพ: Báo Khánh Hòa. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>สองตัวนี้ติดอวนลากขึ้นจากทะเลรอบๆ เกาะหย่า (Hòn Già) เกาะเล็กๆ ในอ่าวเวินฟองปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ชาวประมวงกล่าวว่าก่อนหน้านี้เคยจับได้แบบเป็นฝูงๆ ซึ่งเป็นเรื่องไม่เคยมีมาก่อนในทะเลย่านนี้. -- ภาพ: Báo Khánh Hòa. </b> </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ฉลามในอ่าวมีจำนวนมากมายเหลือเกิน ราษฎรชาว อ.วันนีง (Vạn Ninh) สองคนนี้บอกว่า ไปตกปลาอื่นยังได้ฉลามตัวเล็กติดขึ้นมาบ่อยๆ. -- ภาพ: Báo Khánh Hòa.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>เกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชังนับร้อยๆ ครอบครัวในบริเวณอ่าวเวินฟอง เป็นกลุ่มคนที่ไม่เป็นปลื้มกับการปรากฏตัวของฉลาม ไม่ว่ามันจะเป็น สัญญาณที่ดี อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลว่าเอาไว้หรือไม่ก็ตาม เพราะว่าปลาตัวโตๆ ในกระชังเป็นเหยื่อล่อที่ดีสำหรับการโจมตีของ แม่ฉลาม. -- ภาพ: Báo Khánh Hòa.</b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น