ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากประเภทกวางพันธุ์หนึ่งที่เข้าใจกันว่าได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 85 ปีที่แล้วในป่าภาคเหนือของลาว ได้กลายมาเป็นดาราหน้ากล้องอีกครั้งในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าซวนเลียน (Xuan Lien) จ.แทงฮว้า (Thanh Hao) ติดชายแดนลาว ใกล้กับถิ่นฐานเดิมที่พบครั้งสุดท้าย
ภาพอินฟราเรดจากกล้องอัตโนมัติที่ติดตั้งในเขตป่าสงวนซวนเลียน ได้ช่วยยืนยันในที่สุดว่าเก้งอินโดจีน [Muntiacus rooseveltorum] หรือเก้งรูสเวลต์ [Muntjac Roosevelt] นั้นยังมีชีวิตอยู่ เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าซวนเลียนได้ตีพิมพ์รูปภาพกับเรื่องราวการค้นพบตั้งแต่เดือน ก.พ. ท่ามกลางความสงสัยจากฝ่ายต่างๆ เนื่องจากหลายสิบปีมานี้ ได้มีข่าวการพบเก้งหายากชนิดนี้มาหลายครั้ง แต่การพิสูจน์ในเวลาต่อมาก็พบว่าเป็นเพียง “ซับสเปชี” หรือพันธุ์รองของชนิดเดียวกัน และอีกจำนวนหนึ่งเป็นเก้งตะนาวศรี หรือเก้งหม้อ
อย่างไรก็ตาม หลังทำการพิสูจน์เปรียบเทียบกับซาก และพิสูจน์ดีเอ็นดีที่ดำเนินมาเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน นายเหวียนดีงหาย (Nguyen Dinh Hai) ผู้อำนวยการเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าซวนเลียนได้ออกยืนยันในสัปดาห์นี้ว่า เก้งที่ปรากฏในภาพเป็นพันธุ์อินโดจีนของแท้
นักล่าสัตว์ชาวอเมริกันที่นามสกุลรูสเวลต์เดียวกัน จำนวน 2 คน ได้บันทึกการพบเก้งชนิดนี้ในแขวงหัวพันของลาวเมื่อปี ค.ศ.1929 ซากของเก้งถูกนำกลับไปยังสหรัฐฯ ปัจจุบันหัวกะโหลกเก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติแห่งอเมริกา (Natural History Museum of America) ในนครนิวยอร์ก
ในช่วงปี พ.ศ.2555-2557 นี้ศูนย์ศึกษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม (Center for Natural Resources & Environment Study – CRES) มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนามกรุงฮานอย (National University of Hanoi) ได้ร่วมกับเขตอนุนักษ์สัตว์ป่าซวนเลียนทำโครงการสำรวจศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมในเขตดังกล่าว การออกสำรวจในระหว่างนั้นทีมศึกษาวิจัยได้พบมูลของสัตว์หลายชนิด รวมทั้งเก้ง และกล้องที่ติดตั้งเอาไว้ก็จับภาพสัตว์ป่าได้หลายชนิด รวมทั้งเก้งที่เป็นปริศนาพันธุ์นี้ด้วย
.
2
คณะสำรวจยังพบหัวกะโหลก กับเศษชิ้นหนังของเก้งที่หลงเหลือจากการล่าอีกจำนวนหนึ่ง นายหายกล่าวถึงรายละเอียดเรื่องนี้กับซเวินเหวียด หนังสือพิมพ์ออนไลน์ยอดนิยมภาษาเวียดนามในวันพุธ 5 มี.ค.นี้
การตรวจพิสูจน์ DNA จากเศษหนัง มูลสัตว์ กับชิ้นส่วนตัวอย่างอื่นๆ ที่เก็บรวบรวมได้ซึ่งดำเนินการโดยสำนักชีวนิเวศวิทยา สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกรุงฮานอย เมื่อเทียบผลกับรายงานที่จัดทำไว้โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติแห่งอเมริกา ทั้งหมดได้ยืนยันตรงกันว่าเป็นของเก้งรูสเวลต์ มิใช่เก้งหม้อ หรือเก้งชนิดอื่นใดที่มีอยู่กว่า 10 ชนิดในบริเวณเดียวกัน
เมื่อปี 2540 เจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติภูหวด (Phu Hoat) ติดชายแดนลาวในท้องที่ อ.เก๋ฟง (Que Phong) จ.เหงะอาน (Nge An) ที่อยู่ถัดลงไปทางตอนใต้ของ จ.แทงฮว้า ได้พบเศษซากของเก้งชนิดหนึ่งที่เข้าใจกันว่าเป็นของเก้งอินโดจีน แต่ผลการพิสูจน์ดีเอ็นเอได้ยืนยันว่าไม่ใช่
ต่อมา ในปี 2551 เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่าภูหวด ได้พบชิ้นส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมอีกหลายชิ้นซึ่งเป็นของสัตว์ชนิดเดียวกัน การตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอทำให้ได้ข้อสรุปว่า เป็นชิ้นส่วนเก้งชนิดใหม่ จึงได้ชื่อว่า “เก้งภูหวด” [Muntiacus puhoatensis].
ไม่ได้ไปไหน-ยังอยู่ Klth.Org.VN
3
4
5