xs
xsm
sm
md
lg

สนามบินอัตตะปือของลาวไปเร็ว เปิดแดนลี้ลับตอนใต้สุดสู่การลงทุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>อาคารผู้โดยสารสนามบินอัตตะปือในภาพปลายเดือน ธ.ค.2556 ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จ สื่อของทางการรายงานว่าถึงปัจจุบันการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้คืบหน้าไปไกล 35% มากกว่ากำหนดและทันเปิดให้บริการกลางปีหน้า. -- ภาพ: โด่ยโสง-ฟ๊าบหลวต. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เริ่มก่อสร้างมาไม่ถึง 1 ปี สนามบินอัตตะปือ ในแขวงทางตอนใต้สุดของลาวคืบหน้าไปถึง 35% แล้ว สนามบินแห่งนี้เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของต่างประเทศเข้าสู่ดินแดนที่เคยลี้ลับ และทุรกันดารมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

ตามรายงานของกระทรวงการโยธาและการขนส่งการก่อสร้าง สนามบินมูลค่า 36.19 ล้านดอลลาร์คืบหน้าไปเร็วกว่ากำหนด และกำลังจะเป็นสนามบินที่อยู่ทางตอนใต้สุด คู่กันกับสนามบินเมืองโขง ในแขวงจำปาสักที่ข้ามเขตเขาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 100 กิโลเมตร และยังไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้โดยทางรถยนต์ในขณะนี้

สนามบินอัตตะปือ เป็นท่าอากาศยานแห่งที่ 2 ที่ก่อสร้างโดยกลุ่มหว่างแองซยาลาย (Hoang Anh Gia Lai) บริษัทลงทุนขนาดใหญ่จากเวียดนาม เช่นเดียวกับสนามบินหนองค่าง ในแขวงหัวพัน ที่อยู่สุดเขตแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดชายแดน จ.เดียนเบียนของเวียดนาม

ทางการเชื่อว่าสนามบินจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่ดินแดนอันไกลโพ้นที่เคยเป็นฐานที่มั่นการปฏิวัติทั้งในช่วงสงครามกับฝรั่งเศส และสงครามสหรัฐฯ เชื่อมกับเขตเดียนฟู อันเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ในสงครามกู้ชาติของชาวเวียดนาม

การก่อสร้างสนามบินอัตตะปือ และสนามบินหัวพัน อยู่ในแผนการพัฒนาลาวให้เป็นดินแดนแห่งการเชื่อมต่อทั้งทางบก และทางอากาศภายในปี 2563 หลังจากด้อยโอกาสมานานหลายทศวรรษเนื่องจากไม่มีทางออกสู่ทะเล สำนักข่าวของทางการรายงานเรื่องนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

การก่อสร้างสนามบินมีส่วนสำคัญในการดึงดูดเงินลงทุนซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 บริษัทเข้าลงทุนในอัตตะปือ ด้วยทุนจดทะเบียนรวมกัน 96,481,000,000 กีบ (ราว 390 ล้านบาท) ในขณะที่การลงทุนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และถนนหนทางก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

การเซ็นสัญญาก่อสร้างสนามบินอัตตะปือ มีขึ้นเมื่อปีที่แล้วระหว่างกรมการบินพลเรือน กระทรวงการโยธาและขนส่งกับบริษัทเวียดนาม โดยมีกำหนดเปิดให้บริการเฟสที่ 1 ในกลางปี 2558 ซึ่งเครื่องบินโดยสารบินระยะใกล้-ระยะปานกลาง รวมทั้ง ATR-72 สามารถขึ้นลงได้ ขณะที่การพัฒนาในเฟสที่ 2 จะดำเนินไปต่อเนื่องเพื่อให้เครื่องบินโดยสารขนาด 100 ที่นั่งขึ้นไปสามารถขึ้นลงได้ในที่สุด สำนักข่าวของท่างการกล่าว

ปัจจุบัน HAGL เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในแขวงนี้ โดยเน้นหนักไปในแขนงเกษตรอุตสาหกรรมมีที่ดินสัมปทานทำสวนยางกว่า 10,000 เฮกตาร์ (กว่า 62,000 ไร่) และยังมีอีกจำนวนเท่าๆ กันสำหรับไร่อ้อย

บริษัทเวียดนาม ได้เปิดโรงงานผลิตยางพารา กับโรงงานผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยเมื่อปีที่แล้วซึ่งจะผลิตเอทานอลในขณะเดียวกัน และยังเป็นเจ้าของโรงแรมที่ได้มาตรฐานโลกเป็นแห่งแรกในแขวงนี้อีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น