xs
xsm
sm
md
lg

ทาทาอินเดียถอนตัวโครงการถลุงเหล็ก $5 พันล้านในเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> บริษัททาทาของอินเดียประกาศถอนตัวออกจากโครงการโรงถลุงเหล็กมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ในเวียดนาม เหตุประสบปัญหาในกระบวนการก่อสร้างทำให้โครงการล่าช้าจากกำหนดกว่า 5 ปี.-- Photo/ Mint HT Media/Thanhnien.</font></b>

แถ่งเนียน - บริษัททาทา (Tata) อินเดีย ประกาศถอนตัวออกจากโครงการโรงถลุงเหล็กมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ ในภาคกลางของเวียดนาม หลังประสบอุปสรรคในกระบวนการทำให้การอนุมัติล่าช้าไปกว่า 5 ปี

“บริษัทได้แจ้งไปยังรัฐบาลเวียดนามเมื่อปีที่แล้ว และได้ยุติการดำเนินการเมื่อไม่นานนี้” ผู้บริหารระดับสูงที่ใกล้ชิดกับโครงการ กล่าวกับเว็บไซต์ข่าวของอินเดีย

ไซรัส มิสตี้ ประธานกลุ่มบริษัททาทากรุ๊ป กล่าวในการประชุมประจำปีของบริษัททาทา สตีล (Tata Steel) ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โครงการดูไม่มีความหวัง และทุกอย่างก็เป็นตามที่ได้คาดการณ์ไว้

โครงการโรงถลุงเหล็กดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจหวุงแอ็ง จ.ห่าติ๋งห์ ทางภาคกลางตอนบนของประเทศ ที่คาดว่าจะสามารถถลุงเหล็กได้ 4.5 ล้านตันต่อปี

บริษัททาทา มีหุ้นในโครงการนี้ 65% ขณะที่บริษัทสตีล คอร์ปอเรชั่น ของเวียดนาม ถือสัดส่วน 30% และบริษัทเวียดนามซีเมนต์ อินดัสตรี้ ถือครองส่วนที่เหลืออีก 5%

บันทึกข้อตกลงของโครงการได้ลงนามกันในเดือน พ.ค.2550 และข้อตกลงร่วมทุนได้ลงนามกันในเดือน ส.ค.2551 ซึ่งกำหนดว่าการก่อสร้างในส่วนแรกเสร็จสิ้นในปี 2555 และการก่อสร้างโครงการในส่วนสุดท้ายเสร็จสิ้นในปี 2561

แต่โครงการต้องล่าช้าออกไปเนื่องจากปัญหาการจัดสรรที่ดิน ซึ่งตามกฎหมายของเวียดนาม รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพที่ดิน แต่ทางจังหวัดต้องการให้บริษัททาทาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ที่มีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้

รายงานของสำนักข่าวไซ่ง่อนไทม์ส รายงานว่า ในเบื้องต้น บริษัททาทาปฏิเสธที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ภายหลังได้เสนอรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่มีจำนวนต่ำกว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งจังหวัดไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว

รัฐบาลเวียดนาม ได้ขอให้บริษัททาทาย้ายที่ตั้งโครงการไปยังเขตเศรษกิจยวุ๋งกว๊าต ใน จ.กว่างหงาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการย้ายที่ตั้ง แต่บริษัทยืนยันที่จะอยู่ที่เขตเศรษฐกิจหวุงแอ็งตามเดิม เนื่องจากใกล้กับเหมืองแร่ทัคเค (Thach Khe) ที่เป็นแหล่งแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ฝ่ายผู้จัดการเขตเศรษฐกิจหวุงแอ็ง ระบุว่า ยังไม่ได้รับคำแถลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการถอนตัวของบริษัททาทา และบริษัทได้ทำงานไปเพียงเล็กน้อยเมื่อปีที่ผ่านมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น