xs
xsm
sm
md
lg

เยอรมนียกหนี้ให้พม่ากว่า $700 ล้าน แผน “ปารีสคลับ” อุ้มหม่อง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ภาพแฟ้มวันที่ 10 ม.ค.2555 พนักงานธนาคารพัฒนาสีเขียว หรือ GDB (Green Development Bank) ช่วยกันนับธนบัตรที่สาขาในนครย่างกุ้ง เกือบ 2 ปีหลังจากรัฐบาลกึ่งพลเรือนของประธานาธิบดีเต็งเส่งขึ้นสู่อำนวจ การเงินการธนาคารของประเทศยังมืดมนเนื่องจากระบอบทหารสะสมหนี้สินเอาไว้มหาศาลเกือบหมื่นล้านดอลลาร์ อนาคตทางเศรษฐกิจสว่างไสวขึ้นเมื่อญี่ปุ่นให้เงินกู้ 900 ล้านดอลลาร์ช่วยใช้หนี้ธนาคารโลกกับเอดีบีเพื่อเริ่มต้นใหม่ ทำให้ กลุ่มปารีส 19 เข้ารับไม้ต่อได้ในการช่วยฉุดเศรษฐกิจพม่าพ้นจากปากเหว. -- Agence France-Presse.   </b>

ย่างกุ้ง (เอพี) - เยอรมนีได้เซ็นความตกลงฉบับหนึ่งยกหนี้สินให้แก่พม่าครึ่งต่อครึ่งจากจำนวนหนี้สินทั้งหมด 1,084 ล้านยูโร หรือ 1,480 ล้านดอลลาร์ เพื่อดำเนินการตามแผนการที่ตกลงร่วมกับกับประเทศเจ้าหนี้อื่นๆ 1 ปีก่อนหน้านี้

หนังสือพิมพ์เมียนมาร์อาห์ลินของทางการรายงานในวันอังคารว่า เอกสารความตกลงดังกล่าวเซ็นในเมืองหลวงเนปีดอ เมื่อวันก่อนระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีโยอาคิม เก๊าค์ (Joachim Gauck/โยอาฮิม โก๊ก) ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐจากเยอรมนีคนแรกที่ไปเยือนประเทศนี้ในรอบ 26 ปี กระทรวงการคลังของเยอรมนีได้ยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้

กลุ่ม “ปารีสคลับ 19” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศเจ้าหนี้ชาติตะวันตกตกลงกันในเดือน ม.ค.ปีที่แล้ว เกี่ยวกับแผนยกหนี้สินเพื่อช่วยพม่าสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจ ขณะประเทศนี้ผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยหลังจากอยู่ใต้การปกครองโดยระบอบทหารติดต่อกันเป็นเวลา 5 ทศวรรษ

การตกลงในวันจันทร์ ยังได้เรียกร้องให้พม่าชดใช้หนี้สินที่เหลืออยู่ 740 ล้านดอลลาร์ ให้หมดภายในเวลา 15 ปี ในอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี เมียนมาร์อาห์ลินกล่าว

ในช่วงที่ปกครองประเทศด้วยระบอบสังคมนิยม โดยอดีตประธานาธิบดีนายพลเนวิน ระหว่างปี พ.ศ.2505-2531 พม่า สะสมหนี้สินถึง 8,400 ล้านดอลลาร์ เมื่อคณะปกครองทหารเข้ายึดอำนาจในปี 2531 ก็ได้สะสมหนี้สินพอกพูนขึ้นอีก 2,610 ล้านดอลลาร์ จนกระทั่งนำมาสู่การเลือกตั้งในปี 2554 ซึ่งประธานาธิบดีเต็งเส่ง คนปจจุบันได้เริ่มการปฏิรูปทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของประเทศ

ความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้สินกับต่างประเทศบรรลุในเดือน ม.ค.ปีที่แล้ว เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นตกลงให้เงินกู้แก่พม่าก้อนใหญ่ 900 ล้านดอลลาร์ เป็น “บริดจ์โลน” (Bridge Loan) เพื่อชดใช้หนี้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย

นอร์เวย์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ลั่นวาจาจะยกหนี้สินคั่งค้างให้แก่พม่า.
กำลังโหลดความคิดเห็น