xs
xsm
sm
md
lg

การบินเฟื่องฟู ปีนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับอีก 230 ลำซื้อใหม่อีกอื้อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>แอร์บัส A-350XWB เครื่องบินแบบลำตัวกว้างที่หลายฝ่ายรอคอยจอดในงานสิงคโปร์แอร์โชว์วันจันทร์ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา สายการบินหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่งซื้อจำนวนหลายสิบลำรวมทั้งเวียดนามแอร์ไลนส์ด้วย เป็นการออกแอร์โชว์อย่างเต็มๆ งานแรกของเครื่องบินประหยัดเชื้อเพลิงและใช้วัสดุพิเศษในการสร้าง-ประกอบ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของโบอิ้ง 787 ค่ายสหรัฐที่ประสบปัญหาหลายครั้งในการบินเมื่อปีที่แล้ว. -- Associated Press/Joseph Nair. </b>

รอยเตอร์/ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ปีนี้ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีกำหนดรับมอบเครื่องบินโดยสารขนาดต่างๆ รวม 230 ลำรวมมูลค่าราว 20,000 ล้านดอลลาร์ขณะที่การบินพาณิชย์ในภูมิภาคเฟื่องฟูอันเนื่องมาจากมีสายการบินโลว์คอสท์จำนวนมากเสนอตั๋วโดยสารราคาถูกและประชาชนมีกำลังซื้อ คาดว่าจะมีการเซ็นซื้ออีกหลายสิบลำระหว่างงานสิงคโปร์แอร์โชว์ที่เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันอังคาร 11 ก.พ.นี้

ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์สายการบินแอร์เอเชีย (AirAsia) ในมาเลเซียกับไลอ้อนแอร์ (Lion Air) ในอินโดนีเซียสั่งซื้อเครื่องบินมากที่สุดจากทั้งค่ายสหรัฐและยุโรปรวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ แต่ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมนี้ก็กำลังจับตามองวิกฤติการทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในอินโดนีเซียและในประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดสำคัญ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากสิงคโปร์

เป็นไปได้อย่างยิ่งที่สิงคโปร์แอร์ไลนส์ (Singapore Airlines) จะสั่งซื้อเครื่องบินแบบลำตัวกว้างถึง 40 ลำในสัปดาห์นี้ ขณะกำลังชั่งน้ำหนักระหว่างโบอิ้ง 777X กับ แอร์บัส A-350 และสายการบินการุดา (Garuda) ของอินโดนีเซียก็กำลังต่อรองกับแอร์บัสเพื่อสั่งซื้ออีก 10 ลำ รอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์กก่อนหน้านี้

ยังมีสายการบินโลว์คอสท์ในภูมิภาคอีกหลายบริษัทที่อาจจะเซ็นซื้อเครื่องบินเพิ่มในช่วงนี้รวมทั้งซีบูแปซิฟิก (Cebu Pacific) ในฟิลิปปินส์ ไทเกอร์แอร์เวยส์ (Tiger Airways) ที่ถือหุ้น 40% โดยสิงคโปร์แอร์ไลนส์ ซิติลิงค์ (Citilink) ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของการุดา และเจ็ตสตาร์เอเชีย (JetStar Asia) ของแควนตัส (Qantas) แห่งออสเตรเลียที่ใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้

เมียนมาร์แอร์เวย์ส (Myanmar Airways) ของพม่ากำลังจะเซ็นสัญญาเช่าโบอิ้ง 737 กว่า 10 ลำ และคาดว่าเวียดเจ็ตแอร์ (VietJetAir) ในเวียดนามจะเซ็นซื้ออีกราว 60 ลำจากค่ายแอร์บัสรวมมูลค่ากว่า 6,000 ล้านดอลลาร์ รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้

บริษัทโบอิ้งแห่งสหรัฐซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดของโลกเชื่อว่าเอชียมีความต้องการเครื่องบินโดยสารลำตัวแคบ (Single-aisle) เพิ่มขึ้นสำหรับรับส่งผู้โดยสารของบรรดาสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งรวมทั้งโบอิ้ง 737 NextGen และ 737 MAX ในปัจจุบันเครื่องบินแบบลำตัวแคบคิดเป็น 69% ของเครื่องบินในภูมิภาค

นายแรนดี ทินเส็ธ (Randy Tinseth) รองประธานฝ่ายการตลาดของ Boeing Commercial Airplanes เปิดเผยว่าจนถึงสิ้นปี 2555 ทั่วเอเชียแปซิฟิกมีเครื่องบินของค่ายนี้อยู่จำนวน 5,090 ลำ เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 13,000 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้ารวมเป็นมูลค่าราว 1.9 ล้านล้านดอลลาร์
.
<bR><FONT color=#000033>แขกที่ได้รับเชิญกับบรรดาคณะผู้เข้าร่วมงานแอร์โชว์แหงนชมการแสดงบินผาดแผลง บ้างก็ถ่ายรูปในพิธีเปิดวันอังคาร 11 ก.พ.นี้ ขณะที่ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกมุ่งหน้าเจาะตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สายการบินโลว์คอสท์ช่วยปลุกให้การบินพาณิชย์เฟื่องฟูสุดขีดในขณะนี้. -- Reuters/Edgar Su. </b>
สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะมียอดเครื่องบินทุกขนาดและยี่ห้อทะลุ 2,000 ลำในสิ้นปีนี้จาก 1,800 ลำในปัจจุบัน รอยเตอร์อ้างคำพูดของผู้บริหารบริษัทโบอิ้งฯ

"เศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกและการเดินทางของผู้โดยสารได้แสดงให้เห็นการเติบโตอันเข้มแข็ง" นายทินเส็ธกล่าวระหว่างพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในวันจันทร์ 10 ก.พ. โดยเชื่อว่าในระยะ 20 ปีข้างหน้านี้การเติบโตของการสัญจรทางอากาศจะขับดันด้วยการเดินทางเข้าออกภูมิภาคนี้

แอร์บัสซึ่งเป็นคู่แข่งของโบอิ้งก็มองในทางรุ่งโรจน์ ผู้ผลิตรายใหญ่ค่ายยุโรปกล่าวว่าปัจจุบันเครื่องบินของแอร์บัสขนาดต่างๆ คิดเป็น 36% ของยอดสั่งซื้อจากทั่วโลกและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งโบอิ้งและแอร์บัสต่างลั่นวาจาที่จะสร้างสถิติใหม่ในการผลิตเครื่องบินรุ่นยอดนิยมต่างๆ แต่บรรดาผู้บริหารก็กำลังจับตาอย่างใกล้ชิดโอกาสที่จะเกิดวิกฤติด้านการเงินในอินโดนีเซียและไทยซึ่งเป็นกุญแจหลักของการบินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รอยเตอร์กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น