xs
xsm
sm
md
lg

ตัวเลขออกมาแล้ว ลาวมีสวนยางพาราป่ายูคาลิปตัสกว่า 3.6 ล้านไร่ ยังไม่ออกใบอนุญาตอีก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>โชคดีที่ไปก่อน .. บริษัทจากจีนแห่งนี้ได้รับอนุญาตพื้นที่สัมปทานสวนยางและก่อตั้งโรงงานผลิตยางในแขวงภาคเหนือของลาวเมื่อปี 2554 ปีถัดมาทางการลาวเริ่มตั้งหลักและต้นปี 2556 ก็ประกาศไม่หยุดการออกใบอนุญาตลงทุนทำสวนยางกับสวนป่ายูคาลิปตัสทั่วประเทศเพื่อศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ตัวเลขล่าสุดของกระทรวงแผนการและการลงทุนระบุว่าปัจจุบันลาวมีสวนยางกับป่ายูคาฯรวมกันกว่า 3.6 ล้านไร่. -- ภาพแฟ้มหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจสังคม. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลาวได้เผยแพร่ตัวเลขล่าสุดเกี่ยวกับการลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรมออกมาแล้ว หลังจากรัฐบาลได้สั่งให้หยุดออกใบอนุญาตสัมปทานเนื้อที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ 2 ชนิดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งได้แก่ ยางพารา เพื่อผลิตยางธรรมชาติ กับต้นยูคาลิปตัส สำหรับทำเยื่อกระดาษ โดยวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาต่อสภาพแวดล้อม โดยการศึกษาชี้ให้เห็นว่าอาจจะไม่เป็นดีต่อชุมชน และสังคมในระยะยาว

จนถึงปัจจุบัน มีโครงการลงทุนทำสวนยาง กับปลูกป่ายูคาลิปตัสรวมกันกว่า 200 โครงการในทั่วประเทศ รวมมูลค่าการลงทุนแขนงนี้ 1,650 ล้านดอลลาร์ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 570,000 เฮกตาร์ หรือ 3,562,500 ไร่ ทั้งนี้ เป็นตัวเลขของกระทรวงแผนการและการลงทุนที่ทำการเก็บข้อมูลละเอียดหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้หยุดออกใบอนุญาตโครงการลงทุนใหม่เพื่อปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด เมื่อต้นปี 2556 สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

โครงการส่วนใหญ่ออกใบอนุญาตโดยทางการในระดับแขวง (จังหวัด) ในระดับรัฐบาลมีการออกใบอนุญาตลงทุนเพียง 35 โครงการเท่านั้น เป็นสวนยางพารา 27 โครงการ สวนป่ายูคาลิปตัส อีก 8 จำนวนที่เหลืออีก 177 โครงการ ออกใบอนุญาตโดยแขวงต่างๆ

การสำรวจพบว่า ยางพารา ปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ โดยในแขวงเวียงจันทน์อันดับ 1 รองลงไปเป็นแขวงหลวงน้ำทา กับอุดมไซ มีเนื้อที่สวนยางรวมกัน 269,112 เฮกตาร์ (1,681,950 ไร่) หรือกว่า 60% ของทั้งประเทศ รองลงไปเป็นภาคกลาง ในสะหวันนะเขต บอลิคำไซ คำม่วน รวมทั้งในเขตนครเวียงจันทน์ ส่วนภาคใต้ ปลูกในจำปาสัก สำนักข่าวของทางการรายงาน

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวของรัฐบาลไม่ได้กล่าวถึงโครงการสวนยางพาราขนาดใหญ่ของนักลงทุนจากเวียดนามในแขวงเซกอง และอัตตะปือ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อีกหลายพันเฮกตาร์ และไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการสวนป่ายูคาลิปตัส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นพืชที่ทำให้ผืนดินเสื่อมโทรมได้เร็วที่สุดจนอาจจะไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้อีกในช่วงหลายสิบปีข้างหน้า

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการก่อนหน้านั้น พื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัส มีมากที่สุดอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต กับแขวงคำม่วน นักลงทุนรายใหญ่มีทั้งบริษัทญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ผู้ลงทุนปลูกไม้ยูคาลิปตัสใหญ่อันดับ 1 คือ กลุ่มกระดาษโอจิ จากญี่ปุ่น ซึ่งมีสวนป่าเนื้อที่รวมกัน 50,000 เฮกตาร์ (312,500 ไร่) ในแขวงภาคกลาง กับภาคใต้ และกลุ่มบริษัทผลิตกระดาษจากอินเดีย ซึ่งมีเนื้อที่เท่ากัน ส่วนอันดับ 3 เป็นบริษัทดวงตะวัน (กลุ่มซันเปเปอร์) จากจีน 9,000 เฮกตาร์ (56,000 ไร่เศษ)

สำนักข่าวของทางการกล่าวว่า การปลูกยางพารา ดีกว่ายูคาลิปตัส เนื่องจากประชาชนมีงานทำและมีรายได้ตลอด แต่กระทรวงฯ กำลังศึกษาปัญหาเพิ่มเติม และได้งดออกใบอนุญาตทั้งหมดในปัจจุบัน

หลายปีมานี้ ทางการลาวยังอนุญาตโครงการสัมปทานปลูกอ้อยในพื้นที่อีกนับหมื่นเฮกตาร์เพื่อป้อนโรงงานน้ำตาล กับโรงงานเอทานอล อีกจำนวนหนึ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน กับพืชที่ให้น้ำมันชนิดอื่นๆ ซึ่งรวมทั้งน้ำมันละหุ่ง และสบู่ดำ ในความพยายามผลิตเชื้อเพลิงทางเลือกซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดในส่วนนี้เช่นกัน.
.
<bR><FONT color=#000033>พิธีเริ่มลงมือก่อสร้างโรงงานผลิตยาพาราของบริษัทจีนอีกแห่งหนึ่งในแขวงหลวงน้ำทาในเดือน ก.ค.2554 ตัวเลขอย่างเป็นทางการล่าสุดระบุว่ายางพาราปลูกในแขวงภาคเหนือมากที่สุดคิดเป็นกว่า 60% ของทั่วประเทศ แต่วันนี้ลาวไม่อนุญาตให้ลงทุนเพิ่มอีกแล้ว. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.  </b>
2
<bR><FONT color=#000033>พิธีเริ่มการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลของกลุ่มหว่างแองซยาลาย (Hoang Anh Gia Lai) จากเวียดนามในแขวงอัตตะปืเมื่อปีที่แล้ว โรงงานแห่งนี้ผลิตทั้งน้ำตาลทรายและเอธานอล เหนือขึ้นไปในสะหวันนะเขตยังมีโรงงานน้ำตาลของนักลงทุนจากไทยอีก สื่อของทางการลาวยังไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่สัมปทานปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญชนิดนี้ซึ่งมีอีกนับหมื่นเฮกตาร์. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.  </b>
3
กำลังโหลดความคิดเห็น