xs
xsm
sm
md
lg

พม่าจับตัวผู้สื่อข่าวฐานรายงานกองทัพผลิตอาวุธเคมี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>คนขายหนังสือพิมพ์นั่งรอลูกค้าที่แผงริมถนนในนครย่างกุ้ง แม้รัฐบาลชุดใหม่ของพม่าจะผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดต่อสื่อ แต่ล่าสุดทางการพม่าได้จับกุมตัวผู้สื่อข่าว 5 คน ที่ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ Unity Weekly News หลังรายงานกล่าวอ้างว่ากองทัพทหารดำเนินการโรงงานผลิตอาวุธเคมี.--Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ทางการพม่าได้จับกุมตัวผู้สื่อข่าวหลายคนหลังเผยแพร่บทความกล่าวหาโรงงานของทหารผลิตอาวุธเคมี ตามการเปิดเผยของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ขณะที่หน่วยงานเฝ้าระวังสื่อวิตกเกี่ยวกับการควบคุมเสรีภาพ

ผู้สื่อข่าว 5 คน รวมทั้งผู้บริหารสูงสุดของหนังสือพิมพ์ Unity Weekly News ถูกจับกุมตัวเมื่อวันศุกร์ (31 ม.ค.) และเสาร์ (1 ก.พ.) จากข้อหาเกี่ยวกับรายงานข่าวในเดือน ม.ค.

“สมาชิกครอบครัวของผู้สื่อข่าวที่ถูกจับกุมตัวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เมื่อคืนนี้ ระบุว่า พวกเขาสามารถเข้าเยี่ยมผู้ที่ถูกจับตัวได้ที่เรือนจำอินเส่ง และจ้างทนายได้” บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Unity กล่าว

หนังสือพิมพ์รายงานว่า การจับกุมตัวผู้สื่อข่าวครั้งนี้เกี่ยวข้องกับบทความที่อ้างว่ากองทัพทหารพม่ากำลังดำเนินการโรงงานผลิตอาวุธเคมีในเมืองปะอุ๊ก เขตมะเกว ภายใต้การแนะนำของอดีตผู้นำเผด็จการทหารตาน ฉ่วย

กองทัพทหารพม่าปกครองประเทศอย่างเข้มงวดเป็นเวลานานเกือบ 5 ทศวรรษ ทั้งปราบปรามผู้เห็นต่าง และจำคุกบรรดานักวิจารณ์ และผู้สื่อข่าว ต่อมา เมื่อรัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าบริหารประเทศในปี 2554 ได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศหลากหลายประการ รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมสื่อ

ผู้สื่อข่าวที่ถูกควบคุมตัวได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ มาตรการตรวจสอบก่อนตีพิมพ์ถูกยกเลิก หนังสืิอพิมพ์เอกชนได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์รายวันได้

กองทัพที่มีอำนาจในรัฐบาล และรัฐสภายังคงถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนกลุ่มน้อย แต่สหประชาชาติก็ยินดีกับการลดการใช้ทหารเด็กในกองทัพ

ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น และโฆษกรัฐบาลไม่ได้แสดงความคิดเห็นถึงรายงาน หรือการจับกุมที่เกิดขึ้นตามมาแต่อย่างใด

รายงานของหนังสือพิมพ์ Unity Weekly ได้อ้างหลักฐานจากคนในพื้นที่ แรงงาน และภาพถ่ายอาคาร

ด้านคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (CPJ) ที่มีสำนักงานในนิวยอร์ก แสดงความวิตกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า พม่าจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมาย และผู้สื่อข่าวไม่ควรถูกคุกคาม หรือถูกจับกุมจากการรายงานในประเด็นที่มีความสำคัญระดับชาติ และระหว่างประเทศ

ในเดือน ม.ค. ปี 2556 พม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าใช้อาวุธเคมีกับกบฏชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในรัฐกะฉิ่น

“กองทัพของเราไม่เคยใช้อาวุธเคมี และเราไม่มีความประสงค์ที่จะใช้อาวุธเหล่านั้นแม้แต่น้อย ผมคิดว่า KIA กำลังกล่าวหาเราอย่างผิดๆ” โฆษกประธานาธิบดีกล่าวในเวลานั้น

ด้านกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรนายทหาร และนักธุรกิจในประเทศจากการค้าอาวุธกับเกาหลีเหนือ โดยกระทรวงการคลังระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรที่ห้ามบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ ของสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับผู้ที่ถูกขึ้นบัญชีดำนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายที่รัฐบาลพม่าแต่อย่างใด.
กำลังโหลดความคิดเห็น