xs
xsm
sm
md
lg

แอบดู.. เรือดำน้ำเวียดนามหลบสปาย จอดช่องแคบสิงคโปร์มุ่งสู่อ่าวกามแรง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ตำแหน่งของเรือโรลด็อกค์ซี (Rolldock Sea) กับเรือดำน้ำนครฮานอย (HQ-182 Hanoi City) เมื่อเวลาประมาณ 08:40 น.วันเสาร์ 28 ธ.ค.2556 เว็บไซต์ Marinetraffic.Com แสดงในแผนที่กูเกิ้ลขณะจอดในอ่าวสิงคโปร์ไกลจากบริเวณท่าเรือ สื่อรัสเซียกล่าวว่าต้องนำเรือดำน้ำลำแรกไปส่งเวียดนามโดยไปอ้อมแหลมแอฟริกาใกลแสนใกลแทนแล่นผ่านคลองสุเอซผ่านอ่าวเอเดนที่ใกล้กว่าถึงเท่าตัว ก็เพื่อหลบเลี่ยงสายตาของเหล่าสปายลายลับ เรือมีกำหนดเดินทางสู่ทะเลจีนใต้ในวันเดียวกัน. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เรือดำน้ำลำแรกของกองทัพเรือเวียดนาม เคลื่อนเข้าสู่ช่องแคบสิงคโปร์ในวันศุกร์ที่ผ่านมา และกำลังมุ่งหน้าสู่ฐานทัพเรือใหญ่ในภาคกลางของประเทศเพื่อการส่งมอบตามกำหนดในเดือน ม.ค.2557 เว็บไซต์การเดินเรือของโลกแห่งหนึ่งได้แสดงตำแหน่งที่ตั้งของเรือนครฮานอย (HQ-182 Hanoi City) จอดอยู่ในช่องแคบดังกล่าวตอนเช้าวันเสาร์ 28 ธ.ค.นี้ ก่อนออกเดินทางมุ่งสู่ทะเลจีนใต้ิกับปลายแหลมญวน

เรือดำน้ำนครฮานอย ออกจากอู่ต่อในนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก กลางเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา บนเรือขนส่งบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ลำหนึ่ง แล่นผ่านทะเลบัลติก ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มุ่งลงใต้ไปอ้อมแหลมแอฟริกา เว็บไซต์ Marinetraffic.Com ซึ่งติดตามรายงานการเดินเรือในน่านน้ำต่างๆ ทั่วโลกได้แสดงเส้นทางการเดินทางของเรือขนส่งดังกล่าวในรายงานสัปดาห์นี้

เรือโรลด็อกค์ เคลื่อนเข้าสู่ช่องแคบสิงคโปร์ตามกำหนดในวันศุกร์ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา Marinetraffic.Com กล่าว

เรือนครฮานอย เป็นเรือดำน้ำโจมตีเร็วชั้นคิโล (Kilo-class) ขนาด 3,000 ตันลำแรกในจำนวน 6 ลำ ที่ซื้อจากรัสเซียในแพกเกจใหญ่มูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์ การเซ็นสัญญาซื้อขายมีขึ้นในเดือน ธ.ค.2552 อีก 2 ลำคือ เรือนครโฮจิมินห์ (HQ-183 Ho Chi Minh City) มีกำหนดส่งมอบกลางปีหน้า กับเรือนครหายฝ่อง (HQ-184 Haiphong City) ในปลายปี 2557 อีก 3 ลำที่เหลือ รัสเซียจะทยอยส่งจนถึงปี 2559

รัสเซียกับเวียดนามทำพิธีรับมอบทางเทคนิคเรือดำน้ำลำแรกในวันที่ 7 พ.ย.2556 ก่อนนำขึ้นเรือโรลด็อกซี (Rolldock Sea) สัญชาติเนเธอร์แลนด์ เดินทางอ้อมแหลมแอฟริกา “เพื่อป้องกันการรั่วไหลความลับทางทหาร” แม้การเดินทางไปผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) จะทำให้ระยะทางยาวเป็น 27,000 กิโลเมตร หรือ 2 เท่า เทียบกับการเดินทางเข้าช่องแคบยิบรัลตา (Strait of Gibraltar) ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับคลองสุเอซในอียิปต์

อย่างไรก็ตาม การเดินเรือผ่าคลองสุเอซ หมายถึงจะต้องผ่านบริเวณอ่าวเอเดนที่เต็มไปด้วยกองเรือรบของชาติต่างๆ จากทั่วโลก รวมทั้งเรือรบจีนด้วย และทำให้เรือดำน้ำของเวียดนามตกอยู่ในสายตาของ “สปาย” และอุปกรณ์สอดแนมต่างๆ ซึ่งในทางเทคนิคจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษปกคลุมเรือป้องกันการสอดแนม

เรือดำน้ำที่ไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์มีจุดอ่อนสำคัญที่ส่วนหาง การเปิดเผยส่วนใบพัดให้เห็นก็เพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามทราบว่า เมื่อติดเครื่องยนต์ใบพัดจะส่งเสียงดังปริมาณเท่าไร ซึ่งเรื่องนี้อาจจะไม่ค่อยมีผลเท่าไรหากเป็นเรือรบผิวน้ำธรรมดาทั่วไป แต่สำคัญยิ่งยวดสำหรับเรือรบใต้น้ำซึ่ง “ความเงียบ” เป็นปัจจัยชี้ขาดในด้านความปลอดภัย เว็บไซต์ Lenta.Ru รายงานก่อนหน้านี้

สื่อในรัสเซียกล่าวว่า เมื่อมองจากมุมต่างๆ นักวิเคราะห์ด้านกลาโหม “รู้มากขึ้น” เกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอาวุธ และระบบอื่นๆ ที่ติดตั้งบนเรือซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการของเรือในอนาคต

เมื่อหลายปีก่อน รัสเซีย นำเรือเร็วติดจรวดนำวิถีชั้นโมลีนยา (Molniya) กับชั้นสเวตลายัก (Svetlayak) และเรือฟรีเกต ชั้นเกพาร์ด 3.9 (Gepard 3.9) ไปส่งให้เวียดนามบนเรือขนส่งบรรทุกขนาดใหญ่ก็ใช้เส้นทางอ้อมแหลมแอฟริกาเช่นกัน โดยมีเฮลิคอปเตอร์กองทัพเรือฝรั่งเศสช่วยบินนำทางขณะแล่นเฉียดเข้าใกล้อ่าวเอเดน

ตามรายงานของ Marinetraffic.Com เรือโรลด็อกค์ซี นำเรือนครฮานอยเดินทางถึงแหลมกู๊ดโฮป เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. และจอดในน่านน้ำแอฟริกา นอกพอร์ตเอลิซาเบ็ธ (Port Elizabeth) ก่อนเคลื่อนเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย เดินทางด้วยความเร็ว 9.6 นอต หรือราว 18 กม./ชม. จนถึงช่องแคบสิงคโปร์

เรือมีกำหนดเดินทางเข้าสู่ทะเลจีนใต้ในวันเสาร์นี้ มุ่งหน้าสู่ปลายแหลมญวนวก ขึ้นเหนือไปยังอ่าวแกมแรง (คัมราน) ที่จะเป็นอู่จอดเรือ 1 ใน 3 แห่งของกองทัพเรือเวียดนาม

สื่อในรัสเซียรายงานก่อนหน้านี้ว่า หน่วยงานแห่งหนึ่งของรัสเซียกำลังเร่งมือก่อสร้างอู่จอดและซ่อมบำรุงสำหรับเรือดำน้ำของเวียดนาม รวมทั้งจะมีศูนย์ฝึกเรือดำน้ำขนาดใหญ่ขึ้นที่นั่นอีกหนึ่งแห่งด้วย.
.
เส้นทางหลบสายตา Marinetraffic.Com
<bR><FONT color=#000033>เรือโรลด็อกค์ซี (Rolldock Sea) เรือขนส่งบรรทุกขนาดใหญ่สัญชาติเนเธอร์แลนด์ใช้เป็นพาหนะนำเรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-class) ลำแรกไปส่งเวียดนามโดยเลือกเดินทางไกล 27,000 กิโลเมตร แทนที่จะตัดผ่านคลองสุเอซที่ย่นระยะทางได้เท่าตัว. -- ภาพ: Marinetraffic.Com.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>เรือนครฮานอย (HQ-182 Hanoi City) ขณะจอดในบริเวณอู่ต่อเรือแอดมิรัลตี (Admiralty Shipyard) นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กในภาพเดือน พ.ย.2556 เป็นเรือชั้นคิโลขนาด 3,000 ตันลำแรกจากทั้งหมด 6 ลำ พิธีส่งมอบอย่างเป็นทางการกำหนดขึ้นในเดือน ม.ค.2557 เรือเดินทางผ่านช่องแคบสิงคโปร์ในวันเสาร์ 28 ธ.ค.นี้. -- ภาพ: Admiralty Shipyard. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ภาพขยายจากแผนที่เรียลไทมส์บนกูเกิ้ลแม็ปโดยเว็บไซต์การเดินเรือของโลก แสดงให้เห็นเรือโรลด็อกค์ซีกับเรือดำน้ำนครฮานอยทอดสมออยู่ในจุดที่ไกลจากฝั่งในบริเวณช่องแคบสิงคโปร์เมื่อเวลาประมาณ 08:40 น. วันเสาร์ 28 ธ.ค.นี้นัยว่าเพื่อหลบเลี่ยงสายตาของขบวนการสอดแนม เรือมีกำหนดออกเดินทางผ่านช่องแคบเข้าสู่ทะเลจีนใต้ในวันเดียวกัน. -- ภาพ: Marinetraffic.Com.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>เรือโรลด็อกค์ซี (Rolldock Sea) นำเรือดำน้ำลำแรกของเวียดนามเดินทางอ้อมตอนเหนือเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียเข้าสู่ช่องแคบสิงคโปร์วันที่ 27 ธ.ค.2556 หลังใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์แล่นข้ามมหาสมุทรอินเดียจากแหลมกู๊ดโฮปตรงปลายสุดของทวีปแอฟริกาเพื่อหลบหนีสายตาเหล่าสปายสายลับ. -- ภาพ: Marinetraffic.Com.</b>
5
<bR><FONT color=#000033>เส้นทางของเรือโรลด็อกค์ซีกับเรือดำน้ำนครฮานอย เว็บไซต์เกี่ยวกับการเดินเรือของโลกบันทึกเอาไว้ในแผนที่กูเกิ้ล จากนครเซ็นต์ปีเตอร์เบิร์กออกสู่ทะเลบัลติก ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ ลงใต้ไปจนถึงแหลมแอฟริกาเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2556 ก่อนแล่นข้ามมหาสมทุรอินเดีย เรือเดินทางถึงช่องแคบสิงคโปร์ในวันศุกร์ 27 ธ.ค.และยังทอดสมออยู่ที่นั่นจนถึงเช้าวันเสาร์. -- ภาพ: Marinetraffic.Com.</b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น