xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเรียกร้องจีนปรับปรุงการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าในพื้นที่ตะโกนคำขวัญต่อต้านโครงการเหมืองทองแดงของจีนที่เมืองมอนยอ (Monywa) ในภาคเหนือพม่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2556  ซึ่งหลังจากประชาชนรวมตัวชุมนุมประท้วงต่อต้านโครงการนี้หลายครั้ง ทำให้ทางการพม่าตัดสินใจพิจารณาทบทวนโครงการเหมืองของนักลงทุนจีนแห่งนี้ใหม่ และนอกจากโครงการนี้แล้ว ยังมีโครงการที่จีนให้การสนับสนุนอีกหลายโครงการที่สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน ทั้งประเด็นปัญหาการยึดที่ดิน ปัญหาสภาพแวดล้อม หรือความไม่โปร่งใส ส่งผลให้นักธุรกิจของพม่าออกมาเรียกร้องให้จีนปรับปรุงข้อตกลงในการเข้าลงทุนในพม่าให้ได้มาตรฐานมากขึ้น. --Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - บริษัทชั้นนำของพม่าเรียกร้องจีนให้ปรับปรุงการดำเนินการการลงทุนในประเทศ ท่ามกลางการตรวจสอบพิจารณาอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้นในโครงการของจีน ที่บางครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

จีนถือเป็นพันธมิตรระยะยาวของพม่า ที่มีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในพม่าราว 33% และถูกมองว่าเป็นคู่ค้ารายสำคัญ แต่การปฏิรูปการเมืองของพม่าที่ทำให้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกที่มีต่อพม่ายุติลงนั้น ได้เพิ่มความหวังว่า การลงทุนจากต่างชาติจะขยายตัวมากขึ้น

“ไม่เพียงแค่ธุรกิจของชาวจีนเท่านั้นที่อยู่ที่นี่ในเวลานี้ เราต้องการสื่อสารว่าประเทศต่างๆ กำลังมุ่งความสนใจมาที่พม่า” เอ ละวิน จากสมาพันธุ์หอการค้าและอุตสาหกรรมสหภาพพม่า กล่าว

ในการพูดคุยกับคณะผู้แทนนักธุรกิจชาวจีนที่เดินทางเยือนพม่า นายเอ ละวิน ระบุว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับนักลงทุนจากฝั่งจีน และเรียกร้องให้นักลงทุนชาวจีนปฏิบัติตามมาตรฐานสากล และดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และสภาพแวดล้อม

ในยุครัฐบาลเผด็จการทหารของพม่าที่มัวหมองไปด้วยปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน พม่าได้รับความคุ้มครองจากอำนาจทางเศรษฐกิจ และสิทธิยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ของจีน และในแง่การตอบแทน จีนมั่นใจถึงความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมั่นคงกับเพื่อนบ้านแห่งนี้ รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของพม่า เช่น เหล็ก ไม้ และอัญมณี รวมทั้งการมีส่วนในโครงการเขื่อนไฟฟ้าจำนวนมาก

บรรดาผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า ความวิตกเกี่ยวกับอำนาจของจีนเป็นสิ่งกระตุ้นให้รัฐบาลเผด็จการทหารสละอำนาจของตัวเอง และเปิดทางให้แก่รัฐบาลกึ่งพลเรือนขึ้นบริหารประเทศในปี 2554

ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ยืนยันถึงความเป็นอิสระของตนเองอย่างรวดเร็ว ด้วยการสั่งระงับการทำงานโครงการเขื่อนยักษ์ที่จีนสนับสนุนซึ่งถูกประชาชนต่อต้านอย่างมากในปี 2554

และในเดือน ก.ค. พม่าได้แก้ไขข้อตกลงโครงการเหมืองทองแดงกับบริษัทจีน หลังเกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านโครงการนี้หลายระลอก และนำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ.
กำลังโหลดความคิดเห็น