xs
xsm
sm
md
lg

เขมรจับตาสถานการณ์การเมืองไทยใกล้ชิด รอเจรจาพระวิหาร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 3 ธ.ค. แสดงให้เห็นผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลโบกธงชาติ หลังเข้าไปภายในพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลได้ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักอยู่ที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ด้านประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาระบุว่าทางการกัมพูชาได้จับตาเฝ้าดูสถานการณ์การเมืองของไทยอย่างใกล้ชิด และไม่ขอออกความเห็นใดๆ ถึงปัญหาการเมืองดังกล่าว พร้อมระบุว่า กัมพูชายังไม่เร่งที่จะเปิดเจรจาเกี่ยวกับการดำเนินการตามคำตัดสินของศาลโลกในประเด็นปราสาทพระวิหาร เพราะต้องการให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาการเมืองภายในประเทศก่อน. --Agence France-Presse/Pornchai Kittiwongsakul.</font></b>

ซินหวา - นายเคียว กัญฤทธิ์ โฆษกรัฐบาลกัมพูชาเผยผู้สื่อข่าวหลังถูกถามเกี่ยวกับปัญหาการเมืองในไทย ระบุว่า กัมพูชากำลังจับตาสถานการณ์การเมืองของไทยอย่างใกล้ชิด และไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อประเด็นที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ได้

นายเคียว กล่าวว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในไทยนั้นมีสาเหตุมาจากการร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ไม่ได้มาจากประเด็นพรมแดนกับกัมพูชาเกี่ยวกับพื้นที่พิพาทใกล้ปราสาทพระวิหาร

“นี่เป็นปัญหาภายในของไทย” นายเคียว กล่าว โดยอ้างถึงการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับสถานการณ์ตามแนวพรมแดนกัมพูชา-ไทย นายเคียว กัญฤทธิ์ กล่าวว่า สถานการณ์ยังคงอยู่ในความสงบ และกองกำลังทหารของทั้ง 2 ฝ่ายติดต่อสื่อสารกันตามปกติ

“ไม่มีการเสริมกำลังตามแนวชายแดนแต่อย่างใด และกองทัพของทั้ง 2 ฝ่ายต่างให้คำมั่นว่าจะรักษาความสัมพันธ์อันดี และเลี่ยงเหตุปะทะ” โฆษกรัฐบาลกัมพูชา กล่าว

กัมพูชา และไทยมีปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับพรมแดนมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2551 เมื่อยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และไทยอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่อยู่ถัดจากตัวปราสาท ทำให้ปราสาทกลายเป็นจุดอ่อนไหวที่มีการปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารของทั้ง 2 ฝ่าย

ศาลโลกได้มีคำตัดสินเมื่อเดือน พ.ย. ว่า กัมพูชานั้นมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนทั้งหมดของชะง่อนผา (promontory) ปราสาทพระวิหาร และไทยอยู่ภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องถอนทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือผู้รักษาการณ์ที่ประจำการออกจากพื้นที่ดังกล่าว

นายเคียว กัญฤทธิ์ กล่าวว่า กัมพูชาจะไม่เร่งเปิดการเจรจาหารือกับไทยเกี่ยวกับการดำเนินการตามคำตัดสินของศาลโลก เพื่อให้เวลาแก่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แก้ไขปัญหาภายในประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น