xs
xsm
sm
md
lg

ต่างชาติสูบทองจนหมดแล้ว คนงานเหมืองใหญ่ที่สุดของลาวเตรียมตกงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>สภาพทั่วไปภายในเหมืองเซโปนในภาพล่าสุดต้นเดือน พ.ย.2556 เหมืองทองใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลลาวร่วมถือหุ้น 10% จะหยุดการผลิตทองคำในเดือน ธ.ค.นี้ แม้จะผลิตทองแดงต่อไปแต่ก็จะต้องเลิกจ้างคนงานที่ยังไม่ทราบจำนวน บริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่ใหญ่ของรัฐบาลจีนประกาศเรื่องนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาและบริษัท MMG ล้านช้างมิเนอรัลส์จำกัด ผู้ดำเนินการเหมืองกล่าวว่าแร่ทองคำได้หมดลงแล้วหลังผลิตมา 7 ปี ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นขณะที่ราคาทองในตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง การเลิกจ้างเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้น. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทองในเหมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งเป็นเหมืองใหญ่ที่สุดในลาวได้หมดลงแล้ว หลังจากถูกขุดขึ้นมาสกัด และส่งออกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และถึงแม้ว่าการผลิตแร่ทองแดงจะยังดำเนินต่อไป แต่บริษัทผู้ดำเนินการประกาศในวันศุกร์ 22 พ.ย.ว่า กำลังพิจารณาลดกำลังงานลง ซึ่งทำให้คนงานชาวลาวที่ยังไม่ทราบจำนวนเผชิญกับการถูกปลดออกจากงาน หนังสือพิมพ์ของทางการรายงาน

การประกาศเรื่องนี้มีขึ้นหลังจากบริษัท มินมีทัลส์คอร์ปอเรชั่น (Minmetals Corp) เจ้าของเหมืองเซโปน ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ประกาศเรื่องนี้วันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า สินแร่ทองออกไซด์ในเหมืองแห่งนี้ได้หมดลง ราคาทองในตลาดโลกตกต่ำ และต้นทุนการผลิตทองต่อออนซ์สูงขึ้นทำให้ประสบกับภาวะขนาดทุนในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง

การประกาศลดจำนวนลูกจ้างยังมีขึ้นเพียงข้ามสัปดาห์หลังจากบริษัทเหมืองเอ็มเอ็มจีล้านช้างจำกัด หรือ MMG LXML (MMG Lane Xang Minerals Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินกิจการเหมืองที่เมืองวีละบูลี ในแขวงภาคกลางของลาว ได้ฉลองครบรอบ 10 ปี โดยเชิญผู้แทนสื่อ กับภาคส่วนต่างๆ ไปชมกิจการเป็นจำนวนมาก

บริษัทเหมืองทองใหญ่ของลาวกล่าวว่า แผนการลดจำนวนคนงานก็เพื่อรักษาสภาพความคล่องตัวของบริษัทหลังจากได้ตัดสินใจยุติการขุดค้น และผลิตทองคำตั้งแต่เดือน ธ.ค.นี้เป็นต้นไป หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงาน

นายริค วัตส์ฟอร์ด (Rick Watsford) ผู้จัดการใหญ่ LXML กล่าวว่า การปลดคนงานเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้น แต่จะดำเนินการในระดับต่ำที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานชาวลาว และทุกคนที่ถูกปลดออกจากงานจะได้รับการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย

ผู้บริหารคนเดียวกันนี้กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต เพื่อคืนผลประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างเต็มกำลังซึ่งรวมทั้งรัฐบาลลาวด้วย

บริษัท MMG Corp โดยนายแอนดรู ไมเคิลมอร์ (Andrew Michelmore) ซีอีโอประกาศในฮ่องกงก่อนหน้านี้ว่า สินแร่โกลด์ออกไซด์ หรือทองคำได้หมดลงแล้ว ซึ่งประมาณการก่อนหน้านี้คาดว่าจะหมดลงตั้งแต่ปี 2554 นอกจากนั้น การผลิตทองมีต้นทุนที่สูงขึ้นถึงเท่าตัวในขณะนี้ ขณะที่ราคาทองในตลาดโลกตกลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทตัดสินใจหยุดผลิตทองในเหมืองเซโปนลงเดือน ธ.ค.2556 นี้ และหันไปโฟกัสที่การผลิตทองแดง
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ของบริษัทแสดงการขนทองคำที่ผลิตได้จากเหมืองเซโปนไปส่งยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยเครื่องเหมาเช่าของลาวแอร์เวย์ส บริษัทแม่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแถลงวันที่ 18 พ.ย.2556 ว่าต้นทุนผลิตต่อออนซ์สูงขึ้นเท่าตัวแต่ราคาในตลาดโลกดิ่งลงเรื่อยมาและสินแร่ทองในเหมืองลาวหมดลงแล้ว การผลิตทองที่เหมืองใหญ่แห่งนี้จะหยุดลงในเดือน ธ.ค. -- ภาพ: เว็บไซต์ MMG LXML.  </b>
2
<bR><FONT color=#000033>สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ก็คือราษฎรในท้องถิ่นห่างไกลที่ตั้งเหมืองเซโปนมีหมอรักษาในยามเจ็บป่วย เด็กๆได้ไปโรงเรียน ทุกคนมีอาชีพที่ยั่งยืน มีไฟฟ้า ประปา การคมนาคมสะดวกส่งสินค้าออกสู่ตลาดได้ สิ่งนี้เป็นไปตามสัญญาที่บริษัทเหมืองต้องจัดตั้งกองทุน (Trust Fund) พัฒนาท้องถิ่นตลอดอายุสัมปทาน 28 ปี.  -- ภาพ: เว็บไซต์ MMG LXML.  </b>
3
<bR><FONT color=#000033>กราฟในรายงานประจำปี 2555 แสดงสถิติการผลิตทองแดงแผ่น (Copper Cathods) ที่เหมืองเซโปนในปีงบประมาณ 2552-2555 เทียบกับการผลิตทองคำ (ล่าง) ในช่วงปีเดียวกัน บริษัท MMG Corp ของรัฐบาลจีนซึ่งเป็นบริษัทแม่ประกาศหยุดการผลิตทองคำในเหมืองใหญ่ของลาวตั้งแต่เดือน ธ.ค.2556 ซึ่งจะมีการเลิกจ้างคนงานที่ยังไม่ทราบจำนวนติดตามมา แม้จะยังผลิตทองแดงต่อไปก็ตาม. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>ใครจะว่างงานบ้าง? ภาพจากปกรายงานประจำปี 2555 ของ MMG Corp บริษัทนี้ประกาศเตรียมปลดคนงานเหมืองเซโปนในลาว หลังจากหยุดการผลิตทองคำในเดือน ธ.ค.นี้ ยังไม่ทราบว่าจะมีพนักงานถูกเลิกจ้างและรับเงินชดเชยจำนวนเท่าไร ปัจจุบันเหมืองแห่งนี้จ้างแรงงานราว 4,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในท้องถิ่น. </b>
5
ต้นทุนการผลิตทองคำได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวตั้งแต่ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเป็น 1,880 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในครึ่งแรกของปี 2556 นี้ ในขณะที่ราคาทองคำเมื่อสิ้นสุดครึ่งแรกของปีตกอยู่ที่ประมาณ 1,198 ดอลลาร์ต่อออนซ์เท่านั้น ทำให้การปรับโครงสร้างทั้งหมดไม่อาจเลี่ยงได้ในช่วงเดือนที่จะถึงนี้ นายไมเคิลมอร์ ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“เอ็มเอ็มจีตระหนักดีว่า นี่เป็นข่าวที่ทำให้ผิดหวังสำหรับกำลังงานของเรา เรามุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับคนของพวกเรา กับชุมชน ซัปพลายเออร์ และรัฐบาลลาว เพื่อทำให้การเปลี่ยนผ่านนี้ดำเนินไปอย่างเรียบร้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ซีอีโอของ MMG Minmetals กล่าว

ปัจจุบัน เหมืองเซโปน จ้างคนงานราว 4,000 คน ส่วนใหญ่ทำงานในส่วนการผลิตทองแดง ผู้จัดการใหญ่ของ MMG LXML กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า ยังไม่ทราบจำนวนคนงานที่จะต้องปลดออกจากงานในขณะนี้ โดยจะขึ้นอยู่กับการศึกษาทบทวนความต้องการใหม่ทั้งหมด

ในปี 2556 LXML ตั้งเป้าผลิตทองคำระหว่าง 40,000-50,000 ออนซ์ ราคาทองคำแท่งเมื่อวันศุกร์ยืนที่ 1,289 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเมื่อปีที่แล้ว ผลิตทองคำได้ทั้งหมด 70,000 ออนซ์

ในช่วงเวลา 12 เดือนระหว่างเดือน ต.ค.2555-สิ้นเดือน ก.ย.2556 เหมืองแห่งนี้ผลิตทองแดงได้ตามเป้าหมาย 90,000 ตัน ปัจจุบัน ทองแดงสร้างรายได้ราว 92% ของบริษัท และการผลิตทองแดงจะดำเนินต่อไป นายวัตส์ฟอร์ดกล่าว.
<bR><FONT color=#000033>บริษัท MMG XLML เชิญผู้แทนสื่อในประเทศไปเยี่ยมชมเหมืองเซโปนที่เมืองวีละบูลี แขวงสะหวันนะเขตเมื่อต้นเดือนนี้ในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ในลาว บริษัทที่เปลี่ยนมือจากผู้ลงทุนชาวออสเตรเลียสู่มือนักลงทุนจีนแห่งนี้เริ่มผลิตทองแดงกับทองคำส่งออกในปี 2549 บัดนี้ทองคำได้หมดลงแล้ว แต่การผลิตทองแดงจะดำเนินต่อไป. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่. </b>  </b>
6
<bR><FONT color=#000033>ในเดือน มี.ค.2555 รัฐบาลลาวรับเงินปันผลตามมูลค่าหุ้นงวดที่ 2 ประจำปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทล้านช้างมิเนอรัลส์ฯ ผลิตทองคำได้ 86,295 ตันสูงกว่าคาดหมาย สื่อของทางการรายงานในขณะนั้นว่าลาวจะมีรายได้ประเภทต่างๆ จากเหมืองแห่งนี้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2556 นี้ หลังการผลิตและส่งออกทั้งทองคำและทองแดงดำเนินมา 7 ปี.  -- ภาพ: หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่. </b>
7
กำลังโหลดความคิดเห็น