xs
xsm
sm
md
lg

ศาลลาวสั่งประหารอีก 2 มียาบ้าเกิน 3 กก. ยิงเป้าสถานเดียว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ผู้ติดยากลุ่มใหญ่รวมตัวกันในห้องประชุมศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้โทษใหญ่ที่สุดของลาวในชานนครเวียงจันทน์วันที่ 2 พ.ค.2549 หรือกว่า 7 ปีมาแล้ว วันนี้สภาพก็ยังไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก ลาวไม่ใช่แหล่งผลิตแต่เป็นทางผ่านสำคัญของยาเสพติดไปยังประเทศที่สาม ขณะเดียวกันก็มีชาวลาวจำนวนมากตกเป็นเหยื่อ ศาลนครเวียงจันทน์ได้ตัดสินประหารชีวิตชาวลาวนักค้ายาเสพติดไปอีก 2 คนสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษที่เอาจริงเอาจัง. -- REUTERS/Sukree Sukplang.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ศาลในนครเวียงจันทน์ ได้พิพากษาตัดสินให้ประหารชีวิตชายชาวลาว จำนวน 2 คน ฐานค้า และมียาเสพติดในครอบครอง นับเป็นอีกหนึ่งกรณีที่ทางการแสดงความมุ่งมั่นในการปราบปราม และกำจัดยาเสพติดทุกชนิดที่ทำให้มีชาวลาวหลงเสพเป็นจำนวนมาก

นายสอน ไซยะลาด อายุ 29 ปี กับนายมน ทิบพะวง วัย 23 ปี ทั้ง 2 คนเป็นชาวเมือง (อำเภอ) จันทะบูลี นครเวียงจันทน์ ถูกจับเมื่อวันที่ 6 มี.ค.2556 พร้อมยาบ้าของกลาง จำนวน 15 ห่อ รวมน้ำหนัก 3.4 กก. กับอาวุธปืนพกสั้นกึ่งอัตโนมัติ 1 กระบอก พร้อมกระสุน จำนวน 5 นัด

กฎหมายของลาวบัญญัติให้ผู้ที่มียาบ้า หรือสารกระตุ้นประสาทชนิดต่างๆ ในครอบครองเกิน 3,000 กรัม หรือผลิต จำหน่าย แจกจ่าย นำเข้า ส่งออก หรือขนส่งยาบ้า และสารกระตุ้นประสาทดังกล่าวภายในดินแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิตเพียงสถานเดียว สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

ตั้งแต่ต้นปีมานี้ สื่อของทางการได้รายงานการจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหลายครั้ง แต่ทั้งนายสอน กับนายมน ดูจะเป็นรายแรกๆ ที่ถูกศาลสั่งประหารชีวิตผู้ที่ผลิต ค้าขาย เสพติด ขนส่ง จำหน่ายจ่ายแจกเฮโรอินตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไป มีโทษประหารชีวิตเช่นกัน

ต้นปี 2552 ศาลนครเวียงจันทน์ ได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิตรวมทั้งกรณี น.ส.ซาแมนธา โอโรบาตอร์ (Samantha Orobator) สาวชาวอังกฤษ ถูกจับกุมพร้อมเฮโรอีน น้ำหนัก 680 กรัม ขณะจะขึ้นเครื่องบินที่สนามบินวัดไตเดินทางเข้ากรุงเทพฯ แต่เธอตั้งครรภ์อย่างเป็นปริศนาในเรือนจำที่คุมขังผู้ต้องโทษหญิง จึงต่อสู้ในชั้นศาลอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ศาลลาวติดสินลดหย่อนโทษให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม เพียงไม่เดือนถัดมาหลังจากลาวกับสหราชอาณาจักรลงนามในข้อตกลงแลกเปลี่ยนนักโทษกัน ทำให้ซาแมนธา ถูกปล่อยตัวกลับประเทศ ขณะที่ศาลอังกฤษรับประกันว่าเธอจะรับโทษทัณฑ์ที่เหลือไปจนครบ

เวลาต่อมา นักโทษชาวอังกฤษรายนี้คลอดทารกเพศหญิงออกมาก่อนกำหนดโดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ และการตั้งครรภ์ในคุกลาวยังคงเป็นปริศนามาจนกระทั่งวันนี้

เป็นที่ยอมรับกันว่า ในลาวยังคงมีการลักลอบปลูกฝิ่นอย่างผิดกฎหมาย และได้รับความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศในการหาทางกำจัด

แต่ลาวไม่ใช่แหล่งผลิตยาเสพติดให้โทษ หากเป็นทางผ่านสำคัญของยาเสพติดหลากชนิดจากประเทศเพื่อนบ้านไปยังประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮโรอีน กับยาบ้า ทำให้มีเยาวชนลาวที่เสพ และติดยาเสพติดเหล่านี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน.
.
<bR ><FONT color=#000033>แม่หญิงลาวภายในศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งหนึ่งในชานนครเวียงจันทน์ ในภาพแฟ้มวันที่ 2 พ.ค.2549 ปีที่ลาวประกาศชัยชนะในการทำ สงครามฝิ่น แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าจำนวนผู้ติดยาเสพติดทั้งเฮโรอินและยาบ้ากลับเพิ่มขึ้นมามาย ทางการคอมมิวนิสต์ลาวจริงจังกับการปราบปรามยาเสพติดให้โทษอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ศาลได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตโดยไม่ปราณีหากพบเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย. --  REUTERS/Sukree Sukplang.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น