xs
xsm
sm
md
lg

ผู้นำอังกฤษกดดัน “เต็งเส่ง” แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ (ซ้าย) สัมผัสมือกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง ก่อนเข้าหารือกันที่อาคารเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง ในกรุงลอนดอน วันที่ 15 ก.ค. --  AFP PHOTO/Andrew Cowie. </font></b>

เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ วันนี้ (15) ได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ของพม่า ปกป้องสิทธิมนุษยชน ในระหว่างการเดินทางเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการครั้งแรกของผู้นำพม่า

คาเมรอน ระบุว่า วิตกเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงที่โจมตีสมาชิกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาของพม่าที่มีประชาชนหลายร้อยคนถูกสังหาร

การต้อนรับผู้นำพม่า บนพรมแดงนอกอาคารบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง ในกรุงลอนดอน ผู้นำอังกฤษกล่าวว่ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบ เต็งเส่ง ในการเยือนครั้งประวัติศาสตร์นี้

แต่คาเมรอน ที่เมื่อปีก่อนได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนแรกที่เดินทางเยือนพม่า กล่าวว่า นอกจากความต่อเนื่องของกระบวนการการปฏิรูปแล้ว อังกฤษยังต้องการที่จะเห็นการดำเนินการที่มากขึ้นในแง่ของการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และการจัดการกับความขัดแย้งในภูมิภาค

“เราวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ และชาวมุสลิมโรฮิงญา” นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าว

การปะทะกันระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศเมื่อปีก่อน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธให้สถานะพลเมือง และการปะทะกันระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมยังเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ผู้ประท้วงประมาณ 10 คน รวมตัวกันอยู่ด้านนอกถนนดาวนิ่งระหว่างการเยือนของ เต็งเส่ง เพื่อเรียกร้องการดำเนินการที่จะปกป้องคุ้มครองชาวโรฮิงญา

อย่างไรก็ตาม คาเมรอน ยังคงดำเนินตามแนวทางของประชาคมโลกเกี่ยวกับความจำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนการปฏิรูปในพม่า

“เราเชื่อว่ายังมีหลายพื้นที่สำหรับอังกฤษ และพม่าที่จะสามารถร่วมมือกันในแง่ของการค้า และการลงทุน ความช่วยเหลือและการพัฒนาความสัมพันธ์ รวมทั้งการเชื่อมโยงทางทหาร” คาเมรอน ระบุ

นับตั้งแต่เต็งเส่งขึ้นทำหน้าที่ประธานาธิบดีเมื่อ 2 ปีก่อน อดีตนายทหารผู้นี้ได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน และต้อนรับนางอองซานซูจี และพรรคการเมืองของนางเข้าสู่สภา

ด้านสหภาพยุโรป ได้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ต่อพม่า แต่ยังคงห้ามการค้าอาวุธไว้เช่นเดิม และให้สิทธิพิเศษทางการค้ากลับคืนแก่พม่าอีกครั้ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น