xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด -- ปธน.พม่าเยือนสหรัฐฯ “โอบามา” ชื่นชมปฏิรูป จี้แก้ปัญหามุสลิม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ สัมผัสมือกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง (ซ้าย) ระหว่างการพบหารือในห้องทำงานรูปไข่ ภายในทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดีซี วันที่ 20 พ.ค. 2556 ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ปธน.เต็งเส่งเดินทางไปสหรัฐ แต่เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งประวัติศาสตร์โดยผู้นำจากพม่าซึ่งครั้งหนึ่งเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ยังเป็นประเทศที่โลกตะวันตกจงเกลียดจงชัง. -- AFP Photo/Saul Loeb.</b>
.

เอเอฟพี - ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ วานนี้ได้กล่าวชื่นชมประธานาธิบดีเต็งเส่ง สำหรับความเป็นผู้นำในการผลักดันเริ่มต้นการปฏิรูปการเมือง แต่กล่าวเตือนว่า ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมต้องยุติลง

ในการเดินทางเยือนสหรัฐฯ ตามคำเชิญของประธานาธิบดีโอบามา ทำให้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง กลายเป็นผู้นำพม่าคนแรกในรอบเกือบ 50 ปี ที่เยือนทำเนียบขาว โดยโอบามาได้กล่าวชื่นชมการเดินทางที่หลุดพ้นจากการปกครองของรัฐบาลทหารของพม่า และให้คำมั่นว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะให้การสนับสนุนทางการเมือง และเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

ระหว่างการหารือภายในห้องทำงานรูปไข่ โอบามากล่าวว่า ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักระหว่างสหรัฐฯ-พม่า ได้คลี่คลายลงเพราะความเป็นผู้นำที่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้แสดงให้เห็นในการขับเคลื่อนพม่าไปบนเส้นทางของการปฏิรูปทั้งเศรษฐกิจ และการเมือง

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังกล่าวว่า เต็งเส่ง ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาสงครามทางชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนซึ่งบั่นทอนความเป็นเอกภาพของประเทศ พร้อมยังแสดงความวิตกกังวลต่อชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮิงญา

“การบังคับให้คนต้องออกจากที่อยู่ ความรุนแรงต่อคนเหล่านี้จำเป็นต้องยุติ” โอบามา กล่าว

การเยือนสหรัฐฯ ของเต็งเส่งมีขึ้นท่ามกลางข้อกล่าวหาของกลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่พม่าปิดหูปิดตา หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือ การโจมตีชาวโรฮิงญา ที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นพลเมืองของประเทศ

เต็งเส่ง กล่าวกับ โอบามาว่า ตนเองมุ่งมั่นที่จะปฏิรูป และในคำกล่าวปราศรัยสั้นๆ หลังจากนั้นระบุว่า ต้องการที่จะสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

“ชาวพม่าทุกชาติพันธุ์และทุกความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และอื่นๆ ต้องรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ของชาติใหม่นี้ " เต็งเส่ง กล่าว

"เราต้องยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ และให้แน่ใจว่าไม่เพียงแต่ความรุนแรงระหว่างชุมชนเท่านั้นที่จะต้องยุติ แต่การกระทำผิดทุกอย่างจะถูกนำไปสู่กระบวนการยุติธรรม” ส่วนหนึ่งในคำกล่าวของเต็งเส่ง ที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกิ้น

เต็งเส่ง ที่ขึ้นบริหารประเทศในปี 2554 กล่าวว่า การปฏิรูปที่เขาได้ดำเนินไว้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเรียกร้องการสนับสนุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่

“ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านมักเต็มไปด้วยความเสี่ยง แต่เราทราบว่า ประชาชนต้องการเห็นประชาธิปไตยหยั่งราก ทิ้งช่วงเวลาของการโดดเดี่ยวที่ยาวนานหลายทศวรรษ ไล่ตามเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และยุติความรุนแรง และการสู้รบทั้งหมด” เต็งเส่ง กล่าว

เต็งเส่ง สร้างความประหลาดใจต่อบรรดานักวิจารณ์โดยการปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฏชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ผ่อนคลายมาตรการเซ็นเซอร์สื่อ และเปิดทางให้ นางอองซานซูจี เข้านั่งในสภา และบททดสอบสำคัญของการปฏิรูปจะเกิดขึ้นในปี 2558 เมื่อพม่าจัดการเลือกตั้งที่จะทดสอบว่าทหารจะยึดครองอำนาจไว้ และปล่อยให้นางอองซานซูจีเป็นประธานาธิบดีหรือไม่

ทหารเข้ายึดอำนาจในปี 2505 ภายใต้การนำของนายพล เน วิน ที่ในปี 2509 เป็นผู้นำพม่าคนสุดท้ายที่เดินทางเยือนทำเนียบขาว และเข้าพบหารือกับประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน.
.
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ AFP/Reuters
ประธานาธิบดีเต็งเส่ง เดินทางถึงกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ในวันอาทิตย์ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา เริ่มการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่นำรัฐบาลกึ่งพลเรือนขึ้นบริหารประเทศเมื่อ 2 ปีที่แล้ว นักวิเคราะห์มองว่า สหรัฐฯ กำลังพยายามทุกวิถีทาง และอย่างระมัดระวังในความพยายามผูกมิตรกับประเทศที่ใกล้ชิดกับจีนมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งในอาเซียน หลังประสบความสำเร็จให้เกิดการปฏิรูปขึ้นในพม่าที่นำมาสู่การปล่อยตัวนักโทษการเมืองนับพันๆ คน การให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อ และสาธารณชนอย่างกว้างขวาง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ปธน.พม่าได้ให้สัมภาษณ์วิทยุเสียงอเมริกาในวันแรกที่เดินทางถึง ก่อนเข้าพบหารือกับ ปธน.บารัค โอบามา ที่ทำเนียบขาว ผู้นำพม่าทราบอย่างดีเช่นกันว่า จะต้องพบกับอะไรบ้าง ในดินแดนแห่งเสรีประชาธิปไตย...


2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20
กำลังโหลดความคิดเห็น