xs
xsm
sm
md
lg

โครงการสนามบินนานาชาติหงสาวดี คาดแล้วเสร็จปี 2560

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ภาพจากโครงการสนามบินหันตาวดี (หงสาวดี) ในเขตพะโคที่เห็นเป็นรูปร่างขึ้นมาแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา สนามบินแห่งนี้ล่าช้ามานาน 20 ปี ปัจจุบันมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นเนื่องจากท่าอากาศยานกรุงย่างกุ้ง (ภาพล่างสุด) เริ่มแออัด และขยายไม่ได้อีกเนื่องจากที่อยู่ติดๆ กันเป็นพื้นที่ของกองทัพอากาศ.</b>

ซินหวา - พม่าวางแผนที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในเดือน ก.ย. เพื่อรับมือกับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่คาดว่าจะมีจำนวนมากในอนาคตหลังประเทศอยู่บนเส้นทางการปฏิรูป

โครงการสนามบินนานาชาติหงสาวดี ตั้งอยู่ในเขตพระโค ทางภาคกลางของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 24,000 ไร่ ในมูลค่าลงทุนประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2560

กรมการบินพลเรือน (DCA) พม่า ระบุว่า มีบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก 7 บริษัท ในแง่ของความมั่นคงทางการเงิน ประสบการณ์การทำงาน บุคลากรมีทักษะ และความพร้อมของเครื่องมือต่างๆ เพื่อเข้าร่วมประมูลสัมปทานโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติหงสาวดี จากบริษัททั้งหมด 30 บริษัท ที่แสดงความตั้งใจจะเข้าลงทุน

หลังผ่านการประมูลคัดเลือกเบื้องต้น บริษัทเหล่านี้จะยื่นเสนอราคาอย่างเป็นทางการสำหรับโครงการที่จะดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐ และเอกชน (PPP) หรือการเป็นบริษัทร่วมทุน หรือการลงทุนในระบบสร้าง-บริหาร-โอนกิจการ (BOT) ตามกฎหมายการลงทุนต่างชาติของพม่า

อย่างไรก็ตาม มี 4 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท Incheon Airport Consortium, Yongram-CAPE-JGC Consortium, Vinci Airport และ Taisei Corporation ได้ยื่นข้อเสนอสำหรับข้อตกลงที่จะลงทุนแล้ว และตามรายงานของ DCA ระบุว่า การคัดเลือกผู้ชนะสัมปทานจะสรุปผลในเดือน ก.ค. เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้าง

สนามบินแห่งนี้จะถูกออกแบบให้สามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส A-380 และเครื่องบินสินค้า รวมทั้งรับมือกับผู้โดยสารให้ได้ 12 ล้านคนต่อปี และยังสามารถขยายให้รองรับผู้โดยสารเป็น 35 ล้านคนต่อปี

ขณะที่สนามบินนานาชาติหงสาวดี อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจะถูกยกระดับให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6 ล้านคนต่อปี จากในปัจจุบันที่สามารถรองรับได้เพียง 2.7 ล้านคนต่อปี โดยสนามบินนานาชาติย่างกุ้งนั้นสร้างขึ้นบนพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ รองรับผู้มาเยือนเกือบ 500,000 คน ในปี 2555 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 6 ล้านคน ในปี 2560

ในความเป็นจริงแล้ว กระทรวงคมนาคมพม่าได้อนุญาตการก่อสร้างสนามบินนานาชาติหงสาวดีตั้งแต่ในปี 2539 แต่ต้องชะงับลง เนื่องจากบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในมาเลเซียไม่สามารถดำเนินโครงการได้ต่อ เนื่องจากหลายสาเหตุปัจจัย

สนามบินนานาชาติหงสาวดี จะกลายเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 4 ในพม่า ต่อจากสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ.
กำลังโหลดความคิดเห็น