xs
xsm
sm
md
lg

พม่าขุดรักขม “มะเมียะ” ดึงไทยทัวร์มะละแหม่งรับเที่ยวบินแม่สอด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ Ugo.Cn สะพานสาละวิน (Thalwin Bridge) ทั้งสะพานรถยนต์และรถไฟข้ามแม่น้ำจากเมาะตะมะ (Mottama) ไปยังมะละแหม่ง (Mawlamyine) ที่อยู่เบื้องหน้า ที่นี่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ อังกฤษเคยเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกในยุคอาณานิคม กรุงเก่าย่างกุ้งอยู่ห่างออกไป 165 กม.ทางตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ชายแดน อ.แม่สอดของไทยแค่ 110 กม.ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่เมืองทวายอยู่ใต้ลงไปถึง 270 กม. นกแอร์กำลังจะบินจากแม่สอดมาที่นี่เดือน ก.ย.นี้ ทางการรัฐมอญหวังว่าตำนานรักของ มะเมียะ.. สาวแม่ค้า ชาวพม่า เมืองมะละแหม่ง ในเพลงของจรัล มโนเพชร จะมีมนต์เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย แต่มะละแหม่งก็มีให้ชมมากกว่านั้น.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการพม่าเร่งก่อสร้างระบบสาธารณูปโภครองรับการท่องเที่ยวเมืองมะละแหม่ง กับเมาะตะมะ ในขณะกำลังจะมีเที่ยวบินจาก อ.แม่สอด จ.ตาก ของไทยปลายปีนี้ เมืองมะละแหม่งยังมีศักยภาพอย่างสูงในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย ในฐานะเป็นบ้านของ “มะเมียะ” สาวแม่ค้าชาวมอญในตำนานเล่าขานของฝ่ายไทย

ดร.มินเนว์โซ มุขมนตรีแห่งรัฐมอญ เปิดเผยเรื่องนี้ซึ่งรวมอยู่ในแผนการพัฒนาเขตเนินเมาะตะมะให้เป็นเขตท่องเที่ยวที่จะประกอบด้วย โซนโรงแรม โซนร้านอาหาร และบริการต่างๆ รวมทั้งพัฒนาเขตเมืองเก่าเมาะตะมะวารี (Mottamawari) ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำให้เป็นจุดท่องเที่ยวอีกแห่ง

เมืองมะละแหม่ง หรือ “เมาะลำไย” (Mawlamyine) ในภาษาทางการพม่านั้น ถูกกำหนดให้เป็นปลายทางตะวันตกสุดของโครงการถนนสายระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี ที่มีปลายสุดอีกฟากหนึ่งอยู่ที่นครด่าหนัง ในเวียดนาม ถนนสายนี้ตัดผ่านดินแดนลาว และไทย ไปสุดทางที่ด่านแม่สอด-เมียวดี

ทางฝั่งพม่ากำลังก่อสร้างส่วนที่เหลือของทางหลวงสายเศรษฐกิจนี้ ในขณะที่สันติภาพเริ่มกลับสู่ดินแดนส่วนนี้ของประเทศ

“มะเมียะ” ได้ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าของเมืองเชียงใหม่ราว 150 ปีก่อน เมื่อครั้งยังแยกการปกครองกับราชอาณาจักรสยาม เมื่อเจ้าครองนครส่งราชบุตรไปศึกษาในโรงเรียนคาทอลิกแห่งหนึ่งที่เมาะตะมะ ราชบุตรหนุ่มไปพบรักสาวแม่ค้าชื่อมะเมียะ ที่ “งามล้ำเหมือนเดือนส่องแสง ใครๆ ก็แย่งหลงฮักสาว..” เช่นที่ปรากฏในเพลงของจรัล มโนเพชร ศิลปินเพลงคำเมืองผู้ล่วงลับ

เจ้าราชบุตรซึ่งก็คือ เจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ นั้นมีตัวตนอยู่จริง แต่มะเมียะ เป็นบุคคลที่เล่าขานกันมาโดยผู้เขียนเรื่องนี้อ้างว่าได้รับการถ่ายทอดจากชายาของเจ้าศุขเกษม ที่ระบุว่า เจ้าชายพระองค์นี้ทรงคิดถึงแต่หญิงสาวที่ชื่อมะเมียะ ก่อนตรอมพระทัยจนถึงแก่ทิวงคต

หลายปีก่อนหน้านี้ ได้มีคณะนักวิชาการ ทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริง ซึ่งปรากฏว่า ไม่พบหญิงสาวที่ชื่อมะเมียะ ทั้งในตำนานเมืองเชียงใหม่ และที่เมืองมะละแหม่ง จึงทำไห้เข้าใจกันว่าเป็นเพียงชื่อที่ตั้งขึ้นในเรื่องเล่า

อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยได้พบแม่ชีรูปหนึ่งซึ่งบวชตลอดชีวิตที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองมะละแหม่ง และไม่ยอมเปิดเผยตัวตน เป็นแม่ชีที่มีฐานะดี หน้าตาดีแต่ไม่ยอมให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับอดีต และเมื่อถูกถามว่า ออกบวชเนื่องจากผิดหวังในความรักใช่หรือไม่ ก็จะเดินหนีไปทุกครั้ง แม่ชีถึงแก่กรรมในปี 2505 รวมอายุ 75 ปี

เรื่องเล่ายังมีอีกว่า มีการพบแหวนของเจ้าน้อยศุขเษม ที่วัดซึ่งอาจจะเป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันเกี่ยวกับการมีตัวตนของ “มะเมียะ”

มุขมนตรีแห่งรัฐมอญกล่าวว่า เที่ยวบินจาก อ.แม่สอด จะเริ่มให้บริการในเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งนอกจากตำนานเกี่ยวกับ “แม่ค้า” คนนี้แล้ว ทั้งเมาะตะมะ และมะละแหม่ง ยังเป็นแหล่งแห่งธรรมะ มีสถานที่เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ และศาสนาเป็นจำนวนมาก เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากชาวไทยที่ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธเช่นเดียวกัน

“ประวัติศาสตร์กล่าวว่า ที่นี่เป็นสถานที่ที่เจ้าชายชาวไทยได้พบรักและแต่งงานกับสาวแม่ค้าชาวมอญ มัน (เรื่องนี้) อาจจะดึงดูดผู้มาเยือนจากประเทศไทยได้ เรายังมีแหล่งทางประวัติศาสตร์และวัดวาอารามเก่าแก่ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์สนใจกันมาก” ดร.มินเนว์โซกล่าวกับหนังสือพิมพ์เดลี่อีเลฟเว่น

อย่างไรก็ตาม มุขมนตรีแห่งรัฐมอญ ไม่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับมาตรการที่จะใช้ตำนานรักของมะเีมียะ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวดังกล่าว
2
"มะเมียะ" ฉบับมินิ ม.6
YouTube.Com

<br><FONT color=#000033>ภาพจาก OKNation.Net. กู่หรือที่เก็บอัฐิเจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ ที่วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ..เจ้าของตำนานรักทางฝั่งไทย.</b>
2
<br><FONT color=#000033>ภาพมะเมียะจากเว็บไทยวิกิพีเดีย แม้ว่าผู้ว่าเขียนภาพนี้อาจจะเคยเห็นมะเมียะมาก่อนก็ตาม การศึกษาวิจัยไม่พบว่ามีหญิงสาวชื่อมะเมียะ จึงเข้าใจว่าจะเป็นชื่อที่ผู้เขียนเรื่องนี้ตั้งขึ้นมาใช้ ส่วน มะเมียะ ตัวจริงอาจเป็นอีกบุคคลหนึ่ง. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>เรื่องราวเกี่ยวกับมะเมียะถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ ก่อนจะกลายเป็นเพลง เป็นละครโทรทัศน์ เป็นละครเวที และบอกเล่าต่อกันไปเป็นทอดๆ เป็นที่รู้จักไปทั่ว และทางการรัฐมอญเองก็ทราบเรื่องนี้ดี. </b>
4
มะละแหม่ง อยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 175 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ ถัดจากกรุงเก่า กับนครมัณฑะเลย์ ในขณะที่แม่สอดอยู่ห่างออกไปราว 110 กม. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมืองทวายอยู่ไกล 260 กม.เศษลงไปทางใต้

ที่นี่เป็นเมืองเอกของรัฐมอญ อังกฤษเคยเลือกเป็นเมืองหลวงแห่งแรกเมื่อเริ่มยุคอาณานิคม อาคารสถานที่ราชการ โบสถ์ รวมทั้งหอนาฬิกาตั้งแต่สมัยอาณานิคมยังคงอยู่

ถึงแม้ว่าจะเป็นเมืองที่มีความสวยงาม และรุ่มรวยด้วยภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ แต่มะละแหม่งถูกโดดเดี่ยวจากการท่องเที่ยวมายาวนาน จนกระทั่งปี 2548 เมื่อเปิดใช้สะพานสาละวิน (Thalwin) ที่สร้างข้ามแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำแยง กับแม่น้ำอัตตะยัน เชื่อมเมาะตะมะ กับมะละแหม่งเข้าด้วยกัน

สะพานรถยนต์มีความความยาว 3 กม. แต่สะพานรถไฟยาวเกือบ 5 กม. นับเป็นสะพานยาวที่สุดในประเทศ และกลายเป็น “แลนด์มาร์ก” ของที่นั่น

เจ้าหน้าที่ของสายการบินนกแอร์ นำคณะไปเยือนมะละแหม่งเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว เจรจาตระเตรียมการเปิดเที่ยวบินเชื่อม อ.แม่สอด ที่ใช้เวลาบินเพียงประมาณ 20 นาที และค่าตั๋วโดยสารไปกลับราว 80 ดอลลาร์ เดลี่อีเลฟเว่นกล่าว

คณะบริหารเมืองเมาะตะมะ-มะละแหม่ง กำลังเร่งจัดทำป้ายบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปติดตั้งตามจุดท่องเที่ยว และเส้นทางต่างๆ หลายหน่วยงาน รวมทั้งแผนกโรงแรม และการท่องเที่ยว แผนกผจญเพลิง แผนกสาธารณสุขทำงานกันเต็มที่ กำลังมีการก่อสร้างโรงแรม โรงเตี๊ยม และโมเต็ลเป็นจำนวนมาก

เขตเนินเมาะตะมะ เป็นเนินเขาที่ไม่สูงนัก แต่ให้ทัศนียภาพที่งดงามของแม่น้ำกับทะเลที่อยู่ไกลออกไป จึงเป็นทำเลที่ดีมากสำหรับการสร้างโรงแรม ทางการรัฐมอญประสานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวของรัฐบาลกลาง เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ดร.เนว์โซกล่าว.
.

<bR><FONT color=#000033>นกมินิแอร์ ไปที่มะละแหม่งในเดือน ก.ย.2555 กำหนดเปิดให้บริการ ก.ย.ศกนี้ ค่าตั๋วไปกลับแม่สอดราว 80 ดอลลาร์ ใช้เวลาบินราว 20 นาที ทางการมะละแหม่งเร่งสร้างโรงแรม โรงเตี๊ยม ร้านอาหาร ฯลฯ รอรับ ทัวร์มะเมียะ อย่างเต็มที่. -- ภาพ: Photo - Maung Maung Shwe Myine. </b>
5
<bR><FONT color=#000033>แผนที่ Google Map แสดงให้เห็นสะพานรถยนต์ยาว 3 กม.และสะพานรถไฟ 4.75 กม.สร้างคู่ขนานกันทอดข้ามบริเวณที่ลำน้ำสามสายไหลไปบรรจบกันก่อนจะออกสู่ทะเล สะพานสาละวิน (Thalwin Bridge) ยาวที่สุดในพม่า เมืองมะละแหม่งถูกกำหนดให้เป็นปลายสุดของถนนสายระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่มีต้นทางจากนครด่าหนัง ริมฝั่งทะเลจีนใต้ในเวียดนาม.   </b>
6
<bR><FONT color=#000033>แผนที่ Google Map แสดงที่ตั้งเมืองเมาะตะมะ (Mottama หรือ มะตะบัน/Martaban) ที่อยู่ทางเหนือของแม่น้ำกับเมืองมะละแหม่ง (Mawlamyine) ใต้ลงมาอีกฝั่งหนึ่งของสะพานสาละวิน ขณะที่อ่าวเมาะตะมะกับทะเลอันดามันอยู่ไม่ไกลออกไป.</b>
7
<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก Flickr.Com นักท่องเที่ยวจากอังกฤษกลุ่มนี้ไปถึงมะละแหม่งเมื่อปีที่แล้ว โดยผ่านทางนครย่างกุ้ง ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น เป้าหมายยังเป็นกลุ่มที่ไปจากยุโรปอีกด้วย.</b>
8
กำลังโหลดความคิดเห็น