.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนการ กองทัพบกไทยก็จะได้รับรถถัง T-84 “โอปล็อต” 5 คันแรก ในเดือน พ.ค.นี้ และกำลังจะเป็นประวัติการณ์ใหม่ กำลังจะเป็นครั้งแรกที่รถถังยอดเยี่ยมที่สุดรุ่นหนึ่งของโลกจากค่ายโซเวียตเก่าเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยเติมอุณหภูมิการสั่งสมแสนยานุภาพระหว่างเพื่อนบ้านย่านนี้ให้ระอุร้อนยิ่งขึ้น
ไทยเซ็นซื้อ T-84 จากสาธารณรัฐยูเครนในปลายปี 2554 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกเคยเดินทางไปชมการสาธิต “โอปล็อต” ด้วยตัวเองถึงแหล่งผลิต และหลายวงการยกย่องว่า “ช่างรู้จักเลือก” กล่าวคือ กองทัพบกไทยจงใจเลือกของคุณภาพดีในราคาที่สมเหตุสมผล
แต่เมื่อสำรวจเพื่อนบ้านรอบๆ ตัว จะพบว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นแหล่งรถถังคุณภาพเยี่ยมของโลกมาระยะหนึ่งแล้ว มีทั้งที่ผลิตจากค่ายโซเวียตเก่า ซึ่งรวมทั้ง T-72 ที่พม่าซื้อจากรัสเซีย ขณะที่เวียดนามอยู่ระหว่างจัดซื้อของเก่าจะโปแลนด์ที่นำไป “รีฟิต” ติดตั้งระบบอาวุธ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งของเกราะป้องกันด้วย
มาเลเซียที่รั้วบ้านติดกันมีรถถัง T-72 อีกรุ่นหนึ่งที่ซื้อจากโปแลนด์ และ “รีฟิต” ให้ทันสมัย
ส่วนไทย หลังจากโละรถถังที่ซื้อจากจีนที่จอดตายเต็มค่ายแบบยกล็อต และนำไปทิ้งทะเลทำปะการังเทียมจนหมดในปลายปี 2553 ทัพบกไทยก็เหลือเพียง M48 กับ M60 ซึ่งติดปืนใหญ่ 105 มม.
หากจะว่าด้วยรถถังโจมตีหลัก หรือ Main Battle Tank เทียบตัวต่อตัว ชิ้นต่อชิ้น ถ้าหากไม่นับจำนวน ก็ดูเหมือนว่าไทยจะล้าหลังกว่าใครๆ ในภาพรวม โดยไม่นับ T-55 ของกัมพูชาที่ซื้อจากสาธารณรัฐยูเครน 2 ล็อต รวมเป็นจำนวนกว่า 100 คัน ในปี 2553 และ 2555
ใต้ลงไปยิ่งดูน่าเกรงขาม กองทัพบกสิงคโปร์มีรถถังเลโอพาร์ด-เอ4 (Leopard A4) ใช้ก่อนใคร และอินโดนีเซียอาจจะเป็นเจ้าที่ 2 เพื่อนบ้านทางใต้สุดของกลุ่มอาเซียนเจรจาจัดซื้อรถถัง “เสือดาว” ที่ผลิตในเยอรมนีถึง 100 คัน
เลโอพาร์ด-2 เป็นรถถังชั้นเยี่ยม 1 ใน 4 รุ่นของค่ายตะวันตกในปัจจุบัน ร่วมกลุ่มกับรถถังเลอแคลร์ (Leclerc) ของฝรั่งเศส กับ แชลเลนเจอร์ (Challenger) ของอังกฤษ กับ เอ-1 “เอบรามส์” A1 Abrams ของสหรัฐฯ ซึ่งได้ชื่อเป็น “รถถังนาโต้”
สำนักข่าวกลาโหมหลายแห่งบอกว่า T-84 โอปล็อต ป้ายแดงของไทยกำลังจะเปลี่ยนเกมการสู้รบของเหล่ายานเกราะในย่านนี้.
เลียบค่ายทหาร ภาพประกอบ/สารพัดแหล่ง
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13