xs
xsm
sm
md
lg

นสพ.รายวันในพม่ืาเกลี้ยงแผงในพริบตาวางจำหน่ายครั้งแรก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ลูกค้ายืนอ่านหนังสือพิมพ์เดอะว๊อยส์ ที่แผงขายหนังสือในนครย่างกุ้ง วันที่ 1 เม.ย. หนังสือพิมพ์รายวันของเอกชนสามารถออกวางจำหน่ายได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในวันนี้ ภายใต้เสรีภาพครั้งใหม่ที่เป็นตัวแทนของการปฏิวัติสื่อที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร -- AFP PHOTO/ Ye Aung Thu. </font></b>
.

เอเอฟพี - หนังสือพิมพ์รายวันของเอกชนออกวางจำหน่ายตามแผงหนังสือพิมพ์ริมถนนสายต่างๆ ในพม่าครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในวันนี้ (1 เม.ย.) ภายใต้เสรีภาพครั้งใหม่ที่เป็นตัวแทนการปฏิวัติสำหรับสื่อที่ถูกควบคุมภายใต้การปกครองของทหารมาเป็นเวลายาวนาน

หนังสือพิมพ์ภาษาพม่า 4 ฉบับ คือ เดอะ วอยส์ (The Voice) เดอะ โกลเด้น เฟรช แลนด์ (The Golden Fresh Land) เดอะ ยูเนี่ยน (The Union) และเดอะ แสตนด์ดาร์ด ไทม์ (The Standard Time)

ได้เปลี่ยนจากการออกหนังสือพิมพ์แบบรายสัปดาห์มาเป็นรายวันตามกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ซึ่งกวาดล้างการผูกขาดการออกหนังสือพิมพ์รายวันเฉพาะแต่สื่อของทางการ

“เราเตรียมการมาเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อปรับรูปแบบมาเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เราต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้” อ่อง โซ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะ วอยส์ กล่าว

แผงหนังสือในนครย่างกุ้งรายงานถึงสถานการณ์ในช่วงรุ่งเช้า ที่บรรดาผู้อ่านต่างกระหายจะเป็นพยานในการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดของประเทศ

“หนังสือพิมพ์เดอะวอยส์รายวันขายหมดเกลี้ยงทันทีที่วางแผง แม้ว่าผมจะสั่งจำนวนฉบับมากกว่าหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ถึง 2 เท่า ผู้คนต้องการที่จะอ่านหนังสือพิมพ์รายวันของเอกชนเป็นครั้งแรก” นายพะยู พะยู คนขายหนังสือพิมพ์กล่าว

ประชาชนชาวพม่าต่างคุ้นเคยกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่รัฐบาลกึ่งพลเรือนของประเทศผ่อนคลายข้อจำกัดกับสื่อ หลังขึ้นบริหารประเทศในปี 2554

ติหา ซอว์ นักข่าวจากหนังสือพิมพ์โอเพ่น นิวส์ วีกลีย์ ระบุว่า ผู้ปกครองในรัฐบาลทหารได้เข้ายึดอำนาจหนังสือพิมพ์รายวันของเอกชนในปี 2507 และภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารนั้น เพียงแค่เอ่ยถึงขบวนการความเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตย หรือนางอองซานซูจี ผู้สื่อข่าวอาจถูกจับเข้าคุก แต่ในเวลานี้ นางอองซานซูจีนั่งอยู่ในรัฐสภาและปรากฎตัวอยู่เป็นประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์

มาตรการเซ็นเซอร์เนื้อหาก่อนตีพิมพ์ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค. แต่หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของเอกชนเริ่มผลักดันขอบเขตเสรีภาพของตัวเองด้วยการรายงานประเด็นเนื้อหาอ่อนไหว และรายงานข่าวเป็นประจำทุกวันบนเว็บไซต์สังคมออนไลน์
.


.
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ทั้งหมด 16 ฉบับ ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ในรูปแบบรายวันภายใต้กฎระเบียบใหม่ รวมทั้งหนังสือพิมพ์พรรคของนางอองซานซูจี แต่ความท้าทายอยู่ที่ระบบการขนส่งซึ่งอาจทำให้สิ่งพิมพ์เหล่านี้ไม่สามารถวางขายในรูปแบบรายวันได้ในทันที

ในบรรดาหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันฉบับใหม่ในวันนี้ หนังสือพิมพ์เดอะ โกลเด้น เฟรช แลนด์ ที่ขายหมดเกลี้ยงแผงในหลายๆ แผงหนังสือ ได้ตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนางซูจีที่กำลังจะมีขึ้น และการกล่าวถึงสถานการณ์ความไม่สงบเกี่ยวกับชาวพุทธ และมุสลิมของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ขณะที่หนังสือพิมพ์ เดอะ ยูเนี่ยน ที่มีความใกล้ชิดกับพรรครัฐบาล มุ่งเน้นนำเสนอข่าวจากกรุงเนปีดอ

สำหรับหนังสือพิมพ์เดอะ วอยส์ รายงานข่าวล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศ และรายงานเกี่ยวกับการแสดงคอนเสิร์ตของวง Michael Learns to Rock ในนครย่างกุ้ง เมื่อช่วงสุดสัปดาห์

องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน ระบุให้พม่าอยู่ในอันดับที่ 151 จาก 179 ประเทศ ในดัชนีเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2556 อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ ที่รวมทั้งการยกเลิกมาตรการการตรวจสอบเนื้อหาก่อนตีพิมพ์ตั้งแต่หนังสือพิมพ์ไปจนถึงนิทานของรัฐบาลชุดก่อนจนกระทั่งในปีที่ผ่านมา

บรรดาผู้สังเกตการณ์หวังว่า กฎหมายสื่อฉบับใหม่ที่กำลังถูกร่างโดยสภาสื่อจะกำหนดขอบเขตเสรีภาพของสื่อ และเข้าแทนที่กฎหมายของอดีตรัฐบาลทหาร แต่การปฏิรูปยังคงติดขัดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หลังทางการเปิดเผยว่า ได้ร่างกฎหมายสื่อของตนเองเช่นกัน สร้างความวิตกว่ารัฐบาลอาจไม่เต็มใจที่จะสละอำนาจการควบคุมสื่ออย่างเต็มที่.
กำลังโหลดความคิดเห็น