xs
xsm
sm
md
lg

เต็งเส่งระบุเหตุความไม่สงบทำลายภาพลักษณ์ประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายดาวเทียมโดย DIGITAL GLOBE เผยแพร่โดยองค์กรฮิวแมน ไรท์ วอช วันที่ 1 เม.ย. เผยให้เห็นพื้นที่ของเมืองเม็กทิลา ทางภาคกลางของพม่า ในวันที่ 13 ธ.ค. 2555 (ภาพบน) และบริเวณเดียวกันของวันที่ 27 มี.ค. 2556 (ล่าง) หลังเกิดความรุนแรงที่มุ่งเป้าทำร้ายชาวมุสลิมที่ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตและอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหาย ประธานาธิบดีเต็งเส่งระบุว่า เหตุความไม่สงบทางศาสนาเหล่านี้ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศในเวทีโลกเสื่อมเสียและทางการพร้อมที่จะตอบโต้กลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์. -- AFP PHOTO/DIGITALGLOBE VIA HUMAN RIGHTS WATCH. </font></b>

เอเอฟพี - ประธานาธิบดีเต็งเส่งระบุวานนี้ (31 มี.ค.) ว่า ความขัดแย้งทางศาสนาที่เกิดขึ้นในพม่าทำลายภาพลักษณ์ประเทศในเวทีโลก หลังความรุนแรงที่พุ่งเป้าไปยังชาวมุสลิม ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อยหลายสิบคน และสร้างความวิตกให้แก่ประชาคมโลก

คลื่นความรุนแรงที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. ที่ทั้งสุเหร่า และบ้านที่อยู่อาศัยจำนวนมากถูกเผาทำลายเสียหายในหลายเมืองในภาคกลางของประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 43 คน และส่งผลให้รัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน และมีคำสั่งเคอร์ฟิวในบางพื้่นที่

“สมาชิกสาธารณชนส่วนหนึ่งถูกฆ่า และมีการลอบวางเพลิงจากความโกรธแค้น ที่เกินกว่ากฎหมายจะควบคุมได้ การกระทำของบุคคลเหล่านี้ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีโลกต้องมัวหมอง” ประธานาธิบดีเต็งเส่งกล่าวผ่านสถานีวิทยุเมื่อวันอาทิตย์

อดีตนายพลผู้นี้ยังระบุอีกว่า เหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นอันตรายอย่างมากต่อศักดิ์ศรีของประเทศ และเตือนว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของประเทศอาจถูกสั่นคลอนโดยการต่อสู้ระหว่างชุมชนเหล่านี้

สหรัฐฯ และสหประชาชาติเป็นหนึ่งในหลายเสียงที่ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการปะทะกัน ที่ถือว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เหตุรุนแรงระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศเมื่อปีก่อน ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 180 คน

สถานการณ์เริ่มสงบลงเมื่อประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ให้คำมั่นว่า การตอบโต้อย่างรุนแรงต่อผู้ที่อยู่เบื้องหลังความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา หรือกลุ่มหวังผลทางการเมือง

แม้ว่าสถานการณ์จะคลายลงบ้างแล้ว แต่ยังคงมีประชาชนหลายพันคนไร้ที่อยู่

การปะทะกันระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมเริ่มขึ้นจากเหตุโต้เถียงในร้านทองที่แปรเปลี่ยนเป็นเหตุจลาจล แต่ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายระลอกนับแต่นั้นดูเหมือนจะถูกเตรียมการมาอย่างดี

ความขัดแย้งกลายเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อเต็งเส่งที่ได้รับความชื่นชมจากนานาชาติสำหรับความพยายามในการปฏิรูปประเทศนับตั้งแต่ขึ้นบริหารประเทศในปี 2554 หลังสิ้นสุดรัฐบาลเผด็จการทหาร

ทั้งนี้ ชาวมุสลิมในพม่าที่ส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอินเดีย จีน และบังกลาเทศ คิดเป็นสัดส่วนราว 4% ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ราว 60 ล้านคน

เมื่อวันศุกร์ (29) ทางการพม่าได้ปฏิเสธคำกล่าวของนายโทมัส โอเจีย ควินตานา ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เกี่ยวกับความเชื่อมโยงของรัฐต่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น ซึ่งอ้างถึงความไม่เด็ดขาดองกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่จะปราบปรามผู้ก่อการจลาจล

ด้านองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ระบุเมื่อวันเสาร์ (30) ว่า ประเทศสมาชิกของ OIC จะประชุมร่วมกันในวันที่ 14 เม.ย. ที่ซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือเกี่ยวกับความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในพม่า.
กำลังโหลดความคิดเห็น