xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด - จลาจลในพะโค “เต็งเส่ง” ลั่นจัดการพวกคลั่งศาสนา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ราษฎรในท้องถิ่นสัญจรผ่านบริเวณหน้าสุเหร่าที่ได้รับความเสียหายจากการจลาจลระลอกล่าสุดที่ลามเข้าสู่เมืองซีกอน (Zeegone) เขตพะโค (Bago) ในภาพวันที่ 28 มี.ค.นี้ หลังเกิดความรุนแรง 1 วันก่อน ที่นี่อยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางทิศเหนือราว 150 กิโลเมตรสุเหร่าถูกทำลายเสียหายหลายแห่ง เช่นเดียวกับบ้านเรือนของชาวมุสลิม มีผู้ถูกควบคุมตัวไปหลายสิบคน ประธานาธิบดีเต็งเส่งออกปราศรัยในวันพฤหัสบดีจะใช้กำลังในการรักษาความสงบถ้าหากจำเป็น และจะดำเนินคดีกับ พวกหัวรุนแรง อย่างถึงที่สุด. --  AFP Photo/Ye Aung Thu. </b>
.

ย่างกุ้ง, 28 มี.ค.2556 (เอเอฟพี) - ประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่าได้ลั่นวาจาวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา จะจัดการอย่างแข็งกร้าวกับพวกหัวรุนแรงทางศาสนา หลังจากเกิดคลื่นจลาจลระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศที่เคยถูกปกครองโดยระบอบทหาร

มีผู้ถูกสังหารไปอย่างน้อย 40 ราย และมีการเผาสุเหร่าในหลายเมืองในภาคกลางพม่าตั้งแต่ความขัดแย้งทางศาสนาปะทุขึ้นในวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งทำให้รัฐบาต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน และห้ามผู้คนออกนอกบ้านยามค่ำคืนในบางพื้นที่

“ขอเตือนกลุ่มฉวยโอกาสทางการเมืองกับกลุ่มคลั่งศาสนาทั้งหลายที่พยายามบิดเบือนใช้หลักคำสอนอันดีงามของศาสนาต่างๆ กับพยายามปลูกฝังความเกลียดชังขึ้นในระหว่างประชาชนกลุ่มที่มีความเชื่อต่างกัน เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เราจะไม่นิ่งดูดายทนดูการกระทำของพวกเขา” ปธน.เต็งเส่ง กล่าวในการปราศรัยกับประชาชนทั่วประเทศ

“โดยทั่วไปแล้ว ข้าพเจ้าไม่สนับสนุนการใช้กำลังในการแก้ปัญหา แต่จะไม่ลังเลที่จะใช้กำลังถ้าหากไม่มีหนทางอื่น เพื่อปกป้องชีวิต และรักษาทรัพย์สินของสาธารณชน” ผู้นำที่เป็นอดีตนายพลกล่าว

“ผู้ที่ยุยงส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด” ประธานาธิบดีระบุในคำปราศรัยที่แปลอย่างเป็นทางการ

การปะทะเมื่อเร็วๆ นี้ดูเหมือนจะเริ่มจากการโต้เถียงกันในร้านทองแห่งหนึ่งซึ่งได้กลายเป็นการจลาจลที่บานปลาย ที่ทำให้มีการเผาสุเหร่า การบุกเข้าทำลายบ้านเรือน และมีศพที่ถูกเผาอยู่ตามถนนหลายสาย

ปธน.เต็งเส่งได้กล่าวโทษ “พวกก่อการ” ที่ไม่ได้ระบุชื่ออยู่เบื้องหลังการจลาจลครั้งนี้ โดยพยายาม “ฉวยเอาสถานการณ์นี้ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในส่วนอื่นๆ ในประเทศ”

กองกำลังรักษาความมั่นคงได้ยิงปืนเตือนเมื่อวันพุธเพื่อสลายพวกก่อจลาจล และมีหลายสิบคนถูกควบคุมตัว แต่ผู้นำชาวมุสลิมกล่าวว่า ฝ่ายรักษาความปลอดภัยล้มเหลวในการหยุดยั้งการโจมตีดังกล่าว

“การโจมตีอย่างรุนแรงเหล่านี้ รวมทั้งการวางเพลิง และการฆ่าคนซึ่งควรถูกลงโทษอย่างรุนแรง” สภากิจการศาสนาอิสลามกับกลุ่มชาวอิสลามอื่นๆ ในพม่าระบุในจดหมายฉบับหนึ่งที่ร่วมกันส่งถึงประธานาธิบดี

“อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์เช่นนี้ทางการได้ละเว้นที่จะดำเนินการอย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพจัดการกับพวกก่อการที่ก่ออาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง ต่อสายตาของพวกเขา (เจ้าหน้าที่รัฐ)” กลุ่มชาวอิสลามกล่าว

นับเป็นความขัดแย้งระหว่างคน 2 ศาสนาครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เกิดความรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในรัฐระไคทางตะวันตกปีที่แล้ว ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 180 ราย กว่า 110,000 คนพลัดถิ่นที่อาศัย

"ต้องดับไฟไม่ให้ลาม" AFP Photo

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

การปะทะกันในชุมชนสร้างความท้ายทายอันสำคัญต่อ ปธน.เต็งเส่ง ซึ่งได้รับการยกย่องสรรเสริญจากความพยายามในการปฏิรูปนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 2 ปีก่อน หลังสิ้นสุดการปกครองโดยฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ

“เราจะต้องคาดหมายที่จะได้พบเห็นความขัดแย้งเหล่านี้กับความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในช่วงแห่งการผ่านเข้าสู่ประชาธิปไตย” ผู้นำพม่ากล่าว “เราจะต้องแสวงหาความเข้มแข็งและภาคภูมิใจในความหลากหลาย”

ชาวมุสลิมในพม่าซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายอินเดีย จีน และบังกลาเทศ มีจำนวนเพียงประมาณ 4% ของประชากรราว 60 ล้านคน

ความรุนแรงทางศาสนาเคยปะทุขึ้นเป็นพักๆ ในอดีต และเกิดในหลายท้องถิ่นทั่วประเทศ แต่มักจะถูกปราบปรามอย่างรุนแรงในยุคทหารปกครองก่อนหน้านี้

ในวันพฤหัสบดี กลุ่มเยาวชนได้จัดการ “สวดมนต์เพื่อพม่า” ขึ้นในกรุงย่างก้งที่แม้จะมีบรรยากาศตึงๆ แต่ก็ยังคงสงบเงียบ มีประชาชนราว 100 คนจากศาสนาต่างๆ ร่วมกันสวดอธิษฐานดังกล่าว ซึ่งมีการแจกจ่ายเสื้อยืดมีข้อความพิมพ์เอาไว้ว่า “หยุดการก่อจลาจลทางเชื้อชาติ และศาสนา”

“เราไม่เคยเจอปัญหาแบบนี้มาก่อนในชั่วชีวิต มันทำให้ไม่สบายใจอย่างยิ่ง ทำให้รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย และทำให้สงสัยว่าเราจะก้าวไปทางไหนกัน” นายเต๊ตส่วยวิน (Thet Swe Min) ผู้ร่วมจัดการสวดมนต์หมู่คนหนึ่งกล่าว

“เราจำเป็นที่จะต้องหยุดยั้งไฟไม่ให้ลุกลาม”.
กำลังโหลดความคิดเห็น