.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้ผลิตเครื่องบินรบชั้นนำของโลกทุกค่าย ต่างส่งเครื่องบินของตน หรือส่งคณะผู้แทนไปร่วมงานนิทรรศการการอวกาศและทางทะเล ที่เกาะลังกาวี (Lankawi International Maritime and Aerospace Exhibition) สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศเจ้าภาพกำลังพิจาณาคัดเลือกเครื่องบินรบจำนวน 18 ลำ เพื่อทดแทนฝูงบิน มิก-29 ที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2538 และกำลังจะปลดประจำการทั้งหมด
มาเลเซียวางแผนจัดซื้อจัดหาในปี 2558 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า แต่กระบวนการพิจารณาได้เริ่มขึ้นแล้ว ทางการได้คัดเลือกเครื่องบินรบเอาไว้ทั้งหมด 5 รุ่น จากผู้ผลิต 5 ค่าย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากการสัมภาษณ์รัฐมนตรีกลาโหม
ทั้งหมดในบัญชีของมาเลเซียได้แก่ ยูโรไฟเตอร์ (Eurofighter) “ไต้ฝุ่น” จากอังกฤษ JAS-39 “กริพเพน” โดยกลุ่มซาบ (SAAB) สวีเดน ราฟาล (Rafale) หรือ “ราฟาเล” โดยกลุ่มดาสซอลต์ (Dassault) ฝรั่งเศส เอฟ/เอ 18อี/เอฟ (F/A18 E/F) “ซูเปร์ฮอร์เน็ต” ของค่ายโบอิ้ง สหรัฐฯ กับ Su-30 โดยบริษัทซูคอย แห่งรัสเซีย
เป็นอันว่ามาเลเซียได้ตัดสินใจไม่รับข้อเสนอของซาบ ที่เปิดให้เช่า/ซื้อกริพเพน จำนวน 18 ลำ เมื่อปีที่แล้ว สำนักข่าวเบอร์นามาของมาเลเซียรายงานก่อนหน้านั้น อ้างการให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ
“เราขึ้นบัญชีเอาไว้ 5 รุ่น .. ยงไม่ทราบราคาในขณะนี้” ดร.ฮาห์เหม็ด ซาฮิด ฮามิดี รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียกล่าวกับรอยเตอร์
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมกล่าวว่า การจัดซื้อจัดหาเครื่องบินรบของมาเลเซียจะมีมูลค่านับพันๆ ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศสมัยยิ่งขึ้น ขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับจีนในกรณีพิพาทน่านน้ำทะเลจีนใต้ซึ่งจีนประกาศเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว รวมทั้งปัญหากบฏชนชาติส่วนน้อยในฟิลิปปินส์ที่ชายแดนภาคตะวันออกไกลในรัฐซาบาห์
ผู้ผลิตทั้ง 5 รายในบัญชีล้วนไปร่วมงาน LIMA ที่ลังกาวี และในนั้น 4 รายบอกแก่รอยเตอร์ว่า สามารถจัดหาเครื่องบินให้ตามความต้องการของมาเลเซียได้อย่างแน่นอน ขณะที่ยังไม่สามารถติดต่อผู้แทนของค่ายซูคอยได้
อย่างไรก็ตาม งานนิทรรศการลังกาวีครั้งนี้ รัสเซียได้จัดส่งฝูงบิน Su-27 “รัสเซียนไนต์” (Russian Knights) หรือ “อัศวินรัสเซีย” ไปร่วมบินแสดงด้วย ทั้งหมดรวมทั้งเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศร่วมทีม ได้แวะที่กรุงฮานอยกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะมุ่งหน้าสู่มาเลเซีย
เจ้าหน้าที่ของซูคอยให้สัมภาษณ์สื่อในรัสเซียก่อนออกเดินทางว่า บริษัทมั่นใจกองทัพอากาศมาเลเซียจะเลือก Su-30 ซึ่งปัจจุบัน มาเลเซียมีประจำการอยู่เรียบร้อยแล้ว และซูคอยสามารถจัดสร้างให้ได้ตามความประสงค์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเน้นเพื่อใช้ในภารกิจใดๆ
สำนักข่าวโนวอสติ (RIA Novosti) รายงานในวันที่ 28 มี.ค. ว่า ซูคอยเพิ่งจะเซ็นความตกลงมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์กับกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับ Su-30MKM ของกองทัพอากาศมาเลเซีย
ปัจจุบัน มาเลเซียมี Su-30MKM รวม 18 ลำ ทั้งหมดประจำการมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ฐานทัพอากาศเมืองอะลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ติดกับชายแดนไทย และ MiG-29 อีก 18 ลำ ตกไป 2 ลำ ปลดประจำการแล้ว 6 ลำ ที่เหลืออยู่ 10 ลำ ประจำที่ฐานทัพอากาศกวนตัน รัฐปะหัง ทางฝั่งทะเลจีนใต้
ปัจจุบัน มาเลเซียมี F/A18 D จำนวน 8 ลำ ซึ่งยังไม่ครบฝูง ประจำการมาตั้งแต่ปี 2540 ที่ฐานทัพอากาศเมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปินัง และในปี 2554 บริษัทโบอิ้ง แห่งสหรัฐฯ ได้เริ่มทำการอัปเกรดให้ และเมื่อปีที่แล้วเช่นกัน เจ้าหน้าที่มาเลเซียกล่าวว่า กองทัพอากาศต้องการที่จะขอซื้อ F/A18 E/F จากสหรัฐฯ.
.
1
2
3
4
ฝูงบิน Su-27 “อัศวินรัสเซีย” (Russian Knights) ไปร่วมงานนิทรรศการการอวกาศและทางทะเล 2013 ที่เกาะลังกาวี สัปดาห์ที่ผ่านมา มาเลเซียมี Su-30 อยู่ 18 ลำ เป็นกำลังหลักของทัพฟ้าในปัจจุบัน ผู้ผลิตค่ายรัสเซียมั่นใจว่าอีก 18 ลำ ที่จะซื้อแทน MiG-29 ก็จะเป็น Su-30MKM ฝูงที่ 2 กระทรวงกลาโหมมาเลเซียเปิดเผยว่า กำลังพิจารณา 5 แบบด้วยกัน ซึ่งรวมทั้ง F/A18 E/F “ซูเปอร์ฮอร์เน็ต” ของสหรัฐฯ ด้วย การตัดสินใจจะมีขึ้นในปี 2558 ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์. |
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้ผลิตเครื่องบินรบชั้นนำของโลกทุกค่าย ต่างส่งเครื่องบินของตน หรือส่งคณะผู้แทนไปร่วมงานนิทรรศการการอวกาศและทางทะเล ที่เกาะลังกาวี (Lankawi International Maritime and Aerospace Exhibition) สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศเจ้าภาพกำลังพิจาณาคัดเลือกเครื่องบินรบจำนวน 18 ลำ เพื่อทดแทนฝูงบิน มิก-29 ที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2538 และกำลังจะปลดประจำการทั้งหมด
มาเลเซียวางแผนจัดซื้อจัดหาในปี 2558 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า แต่กระบวนการพิจารณาได้เริ่มขึ้นแล้ว ทางการได้คัดเลือกเครื่องบินรบเอาไว้ทั้งหมด 5 รุ่น จากผู้ผลิต 5 ค่าย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากการสัมภาษณ์รัฐมนตรีกลาโหม
ทั้งหมดในบัญชีของมาเลเซียได้แก่ ยูโรไฟเตอร์ (Eurofighter) “ไต้ฝุ่น” จากอังกฤษ JAS-39 “กริพเพน” โดยกลุ่มซาบ (SAAB) สวีเดน ราฟาล (Rafale) หรือ “ราฟาเล” โดยกลุ่มดาสซอลต์ (Dassault) ฝรั่งเศส เอฟ/เอ 18อี/เอฟ (F/A18 E/F) “ซูเปร์ฮอร์เน็ต” ของค่ายโบอิ้ง สหรัฐฯ กับ Su-30 โดยบริษัทซูคอย แห่งรัสเซีย
เป็นอันว่ามาเลเซียได้ตัดสินใจไม่รับข้อเสนอของซาบ ที่เปิดให้เช่า/ซื้อกริพเพน จำนวน 18 ลำ เมื่อปีที่แล้ว สำนักข่าวเบอร์นามาของมาเลเซียรายงานก่อนหน้านั้น อ้างการให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ
“เราขึ้นบัญชีเอาไว้ 5 รุ่น .. ยงไม่ทราบราคาในขณะนี้” ดร.ฮาห์เหม็ด ซาฮิด ฮามิดี รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียกล่าวกับรอยเตอร์
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมกล่าวว่า การจัดซื้อจัดหาเครื่องบินรบของมาเลเซียจะมีมูลค่านับพันๆ ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศสมัยยิ่งขึ้น ขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับจีนในกรณีพิพาทน่านน้ำทะเลจีนใต้ซึ่งจีนประกาศเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว รวมทั้งปัญหากบฏชนชาติส่วนน้อยในฟิลิปปินส์ที่ชายแดนภาคตะวันออกไกลในรัฐซาบาห์
ผู้ผลิตทั้ง 5 รายในบัญชีล้วนไปร่วมงาน LIMA ที่ลังกาวี และในนั้น 4 รายบอกแก่รอยเตอร์ว่า สามารถจัดหาเครื่องบินให้ตามความต้องการของมาเลเซียได้อย่างแน่นอน ขณะที่ยังไม่สามารถติดต่อผู้แทนของค่ายซูคอยได้
อย่างไรก็ตาม งานนิทรรศการลังกาวีครั้งนี้ รัสเซียได้จัดส่งฝูงบิน Su-27 “รัสเซียนไนต์” (Russian Knights) หรือ “อัศวินรัสเซีย” ไปร่วมบินแสดงด้วย ทั้งหมดรวมทั้งเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศร่วมทีม ได้แวะที่กรุงฮานอยกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะมุ่งหน้าสู่มาเลเซีย
เจ้าหน้าที่ของซูคอยให้สัมภาษณ์สื่อในรัสเซียก่อนออกเดินทางว่า บริษัทมั่นใจกองทัพอากาศมาเลเซียจะเลือก Su-30 ซึ่งปัจจุบัน มาเลเซียมีประจำการอยู่เรียบร้อยแล้ว และซูคอยสามารถจัดสร้างให้ได้ตามความประสงค์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเน้นเพื่อใช้ในภารกิจใดๆ
สำนักข่าวโนวอสติ (RIA Novosti) รายงานในวันที่ 28 มี.ค. ว่า ซูคอยเพิ่งจะเซ็นความตกลงมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์กับกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับ Su-30MKM ของกองทัพอากาศมาเลเซีย
ปัจจุบัน มาเลเซียมี Su-30MKM รวม 18 ลำ ทั้งหมดประจำการมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ฐานทัพอากาศเมืองอะลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ติดกับชายแดนไทย และ MiG-29 อีก 18 ลำ ตกไป 2 ลำ ปลดประจำการแล้ว 6 ลำ ที่เหลืออยู่ 10 ลำ ประจำที่ฐานทัพอากาศกวนตัน รัฐปะหัง ทางฝั่งทะเลจีนใต้
ปัจจุบัน มาเลเซียมี F/A18 D จำนวน 8 ลำ ซึ่งยังไม่ครบฝูง ประจำการมาตั้งแต่ปี 2540 ที่ฐานทัพอากาศเมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปินัง และในปี 2554 บริษัทโบอิ้ง แห่งสหรัฐฯ ได้เริ่มทำการอัปเกรดให้ และเมื่อปีที่แล้วเช่นกัน เจ้าหน้าที่มาเลเซียกล่าวว่า กองทัพอากาศต้องการที่จะขอซื้อ F/A18 E/F จากสหรัฐฯ.
.
1
2
3
4