.
.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ข่าวการซื้ออาวุธรัสเซียล็อตใหญ่ของจีนที่รายงานโดยข่ายโทรทัศน์แห่งชาติจีนระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไปเยือนสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ทั่วภูมิภาคเอเชียตั้งแต่เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดียต่างจับตามอง และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังไปทั่ว ในขณะที่สื่อในรัสเซียต่างเงียบกริบ ไม่มีข่าวนี้ ยกเว้นเพียง 1 สำนักที่ได้ออกปฏิเสธรายงานของข่ายโทรทัศน์กลาง หรือ CCTV ในกรุงปักกิ่ง
เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากโทรทัศน์จีนรายงานเรื่องนี้ อิตาร์ทาส (ITAR-TASS) ซึ่งเป็นหนึ่งในสำนักข่าวของทางการรัสเซีย ได้รายงานตอบโต้ว่า “ไม่มีการเซ็นสัญญาซื้อขายอาวุธใดๆ ระหว่างการเยือนของประธานาธิบดีจีนสีจิ้นผิง สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา”
TASS รายงานเรื่องนี้โดยอ้างคำพูดของแหล่งข่าวกลาโหมที่อยู่วงใน ระหว่างการเยือนของผู้นำจีน และภริยา
“สองฝ่ายไม่ได้มีการเซ็นสัญญาใดๆ เกี่ยวกับการซื้อขายอาวุธใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีวาระนี้ระหว่างการเยือนของประธานาธิบดีจีนนายสีจิ้นผิง” TASS กล่าว
สำนักข่าวอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ อินเตอร์แฟ็กซ์ (InterFax) ที่มักจะเปิดเผยเรื่องการซื้อขายอาวุธก่อนใครๆ เสมอ และในหลายกรณีเป็นรายงานล่วงหน้า ก็ไม่มีข่าวนี้ เช่นเดียวกับสำนักข่าวโนวอสติที่ได้ชื่อในเรื่องความเร็วกับความรอบด้าน ขณะที่สำนักข่าวกลาโหมชั้นนำของรัสเซียคือ “เล็นตาด็อทอาร์ยู” รายงานแต่เพียงว่า “ทราบจากสื่อจีน”
ในเว็บไซต์นิตยสาร “คอมเมอร์ซันต์” สื่อของบริษัทส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ในสังกัดกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ก็ไม่มีข่าวนี้เช่นกัน ซึ่งปกติทั่วไปจะต้องเป็นข่าวใหญ่ เพราะเป็นการเน้นย้ำถึงคุณภาพของอาวุธรัสเซียเอง
การซื้อขายอาวุธในยุคใหม่ไม่ได้เป็นความลับสุดยอดอีกต่อไป ซึ่งต่างไปจากยุคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต ทั้งนี้ เนื่องจากรัสเซียมีข้อตกลงกับโลกตะวันตกที่จะต้องจำหน่ายอาวุธให้แก่ลูกค้ารายต่างๆ ด้วยความโปร่งใส การซื้อขายอาวุธใดๆ กับจีน หรือมิตรประเทศอื่นๆ ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน
เมื่อสงครามกลางเมืองในซีเรียปะทุขึ้นใหม่ๆ รัสเซียแถลงอย่างเปิดเผยว่า ได้ส่งอาวุธจำนวนหนึ่งให้แก่ฝ่ายรัฐบาลประธานาธิบดีอัสสาด ที่กำลังต่อสู้กับฝ่ายกบฏเรียกร้องประชาธิปไตย และเสรีภาพ แต่ทั้งนี้ เป็นการส่งมอบตามข้อตกลงซื้อขายที่เซ็นกันก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายปี..
ในเดือน ม.ค. ปีนี้ TASS เป็นแห่งแรกที่ออกปฏิเสธรายงานของสื่อในจีนที่ว่า รัสเซียได้ตกลงขายเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ความเร็วเหนือเสียงแบบ Tu-20M3 รุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน 12 ลำ ให้แก่จีน และเพียงข้ามวันต่อมา บริษัทส่งออกอาวุธของกระทรวงกลาโหมได้ออกยืนยันว่า “ไม่เคยมีการเจรจากันในเรืองนี้” ทั้งยังระบุด้วยว่า รัสเซียไม่สามารถส่งออก “อาวุธยุทธศาสตร์” ได้
โทรทัศน์แห่งชาติจีนซึ่งเป็นต้นตอของข่าวอื้อฉาวล่าสุดรายงานว่า สองฝ่ายได้เซ็นความตกลงซื้อขายเครื่องบินซู-35 “ซูเปอร์แฟล็งเคอร์” จำนวน 24 ลำ กับเรือดำน้ำชั้นลาดา (Lada-class) อีก 4 ลำ ในนั้น 2 ลำจะต่อในรัสเซีย อีก 2 ลำต่อในจีน รวมทั้งเครื่องยนต์ไอพ่นรุ่น 117S (เครื่องยนต์ Su-35) และเครื่องบินลำเลียงขนส่งขนาดใหญ่ “อิลยูชีน” Il-476 และเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ Il-78 ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ใน “กรอบเจรจา” ระหว่างการเยือนรัสเซียของผู้นำจีน วันที่ 22-24 มี.ค.ที่ผ่านมา CCTV กล่าว
นอกจากนั้น สองฝ่ายยังตกลงจะร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร รวมทั้งรัสเซียจะถ่ายทอดเทคโนโลยีของระบบจรวดป้องกันการโจมตีทางอากาศแบบ S-400 ให้แก่ฝ่ายจีนอีกด้วย โทรทัศน์จีนรายงานโดยไม่ได้อ้างแหล่งที่มาของข่าวสาร ..
เรื่องราวทั้งหมดนี้ยิ่งดูเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นไปอีกเมื่อหนังสือพืมพ์ “ประชาชน” ของพรรคคอมมิวนิสต์นำเสนอข่าวในวันรุ่งขึ้น
Su-30 กับ TVC Youtube.Com
Su-33 เครื่องยนต์ AL-31FN Youtube.Com
สเตลธ์ "แบบจีนๆ"Youtube.Com
เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่า? สำนักข่าวเล็นตาด็อทอาร์ยู ตั้งคำถาม ..
เกี่ยวกับระบบ S-400 นี้ สื่อของทางการจีนรายงานตั้งแต่ปี 2554 ว่า รัสเซียได้ตกลงขายให้จีนแล้ว แต่เวลาต่อมา บริษัทส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียได้ออกปฏิเสธ รวมทั้งกล่าวย้ำว่า รัสเซียไม่สามารถส่งออกอาวุธป้องกันทางยุทธศาสตร์ได้ นอกจากนั้น S-400 ยังเป็นระบบใหม่ล่าสุด ทันสมัยมากที่สุด และเพิ่งจะนำออกติดตั้งในภาคตะวันออกไกลเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งตามแนวชายแดนติดกับจีนด้วย ซึ่งไม่สามารถจะจำหน่ายให้แก่ประเทศใดได้ ทั้งนี้ เป็นรายงานของสื่อในรัสเซีย
แต่เครื่องบิน Su-35 ไม่ใช่ “อาวุธยุทธศาสตร์” นอกจากนั้น ปัจจุบันก็ยังไม่ใช่เครื่องบินรบรุ่นที่ก้าวหน้ามากที่สุดของค่ายซูคอยซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอีกด้วย
ขณะที่โลกตะวันตกจัด Su-27/30 ไว้ระดับเดียวกับ F-15 ของสหรัฐฯ Su-35 ก็อยู่ในระดับเดียวกับ F/A-18E/F เท่านั้น คือ เป็นเครื่องบินรบยุค 4++ เท่ากันในด้านเทคโนโลยี
รัสเซียประกาศตั้งแต่ต้นปี 2551 เมื่อเครื่องต้นแบบ 1 ใน 4 ลำ ขึ้นบินเป็นครั้งแรกว่า จะผลิตรุ่นส่งออกสำหรับจำหน่ายให้ลูกค้าต่างประเทศด้วย โดยเวเนซุเอลาเป็นประเทศแรกในลิสต์ ลิเบีย เป็นรายที่ 2 แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทั้งสองประเทศทำให้ไม่ทราบอนาคตความตกลงเกี่ยวกับ Su-35
เวียดนามก็เป็นหนึ่งในบรรดาลูกค้า ซึ่งเมื่อปี 2553 รัสเซียเคยเสนอให้กองทัพอากาศเวียดนามใช้ Su-35 แทน Su-30MK2 ล็อตที่เหลืออยู่ในแผนการจัดซื้อทั้งหมด 44 ลำ ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวโนวอสติ
การเจรจาซื้อขาย Su-35 ระหว่างจีนกับรัสเซียนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่มีอะไรเป็นความลับ และยังเคยเป็นข่าวใหญ่ในปี 2554 เมื่อจีนขอซื้อถึง 48 ลำ มูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 88 ล้านดอลลาร์ต่อลำ ซึ่งเป็นราคาใกล้เคียงกับของกองทัพอากาศรัสเซีย
แต่เพียงข้ามปีต่อมา ผู้อำนวยการบริษัทส่งออกอาวุธได้ให้สัมภาษณ์ในมาเลเซียว่า การเจรจาได้ยุติลงแล้วเพราะสองฝ่ายไม่อาจตกลงกันได้ เนื่องจากในที่สุดฝ่ายจีนขอซื้อเพียง 4 ลำ ซึ่งรัสเซียมองว่า “ไม่คุ้มในเชิงเศรษฐกิจ” และยังระแวงจีนนำไปก๊อบปี้เทคโนโลยีอีกด้วย
ตามรายงานของนิตยสารคอมเมอร์ซันต์ก่อนหน้านี้ รัสเซียไม่พอใจ และระมัดระวังจีนมาตลอดในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งเครื่องบินรบกับเครื่องบินลำเลียงขนส่งหลายรุ่นล้วนก๊อบปี้พื้นฐานไปจากเครื่องบินรัสเซีย หรือของสาธารณรัฐยูเครนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น J-7, H-6 (เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์), Y-5, Y-7 และ Y-8 ซึ่งต้นแบบคือ MiG-21, Tu-16, An-2, An-24 กับ An-12 ตามลำดับ
การเจรจาซื้อขาย Su-35 เริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือน ธ.ค.2555 เจ้าหน้าที่สองฝ่ายได้กลับสู่โต๊ะ และลงเอยด้วยการเซ็น “กรอบความตกลง” ที่มีใจความสำคัญว่า จีนจะซื้อ Su-35 จากรัสเซีย จำนวน 24 ลำ ในวงเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับเรือดำน้ำชั้นลาดาและอาวุธยุทธภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ระบุมูลค่า
“กรอบความตกลง” ดังกล่าวระบุด้วยว่า สองฝ่ายคาดหวังการเซ็นข้อตกลงซื้อขายจะมีขึ้นได้ในปี 2558 และการส่งมอบเครื่องบินจะมีขึ้นได้ “หลังปีนั้น” สื่อรัสเซียรายงานเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นปี 2556
ข่าวการเซ็นซื้อขาย Su-35 กับเรือดำน้ำกระฉ่อนในหน้าหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ข่าวภาษาจีนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พล.อ.เซอร์เก ชูกอย รมว.กลาโหมรัสเซีย ไปเยือนปักกิ่งในปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีการแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งส่อนัยว่าไม่มีการเซ็นความตกอะไร และสื่อของทั้งสองฝ่ายเงียบกริบ
ต่างกับเมื่อครั้ง พล.อ.ชอยกู ไปเยือนเวียดนามในเดือนนี้ ที่ฝ่ายรัสเซียเปิดเผยในทุกๆ เรื่อง รวมทั้งการตั้งฐานเรือดำน้ำ การฝึกทหารเรือให้เวียดนามหลายร้อยนาย และการสร้างท่าเรืออีก 1 แห่ง ในอ่างวกามแรง เพื่อให้เรือรบรัสเซีย และของชาติอื่นๆ แวะไปใช้ได้อีกด้วย เพราะทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดที่ผ่านการเซ็นสัญญา และตกลงกันเรียบร้อยแล้ว
บนสุดของยุคที่ 4Knaapo.Com/Sukoi.Com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาข้ามเดือนมานี้ สื่อกลาโหมในย่านเอเชียหลายสำนักได้ออกบทวิเคราะห์มากมายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ และเป็นไม่ได้ที่รัสเซียจะยอมขาย Su-35 รุ่นมาตรฐานที่ไม่ใช่เวอร์ชันสำหรับส่งออกให้แก่จีน อันเป็นความปรารถนาแรงกล้าของฝ่ายขอซื้อ
การที่โทรทัศน์กลางจีนระบุว่า มีการเซ็นสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ 117S ด้วย ก็ยิ่งส่อเจตนาให้เห็นว่า สิ่งที่จีนต้องการคือ “เครื่องยนต์” มากกว่า “เครื่องบิน” ซึ่งจีนยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตเองได้ และต้องพึ่งพาเครื่องยนต์ไอพ่นที่ซื้อจากรัสเซียตลอดมา
สำนักข่าวกลาโหม Kanwa.Com วิเคราะห์ไว้ในปลายเดือน ก.พ. ตอกย้ำว่า การขอซื้อ Su-35 รุ่นมาตรฐานจากรัสเซียได้แสดงให้เห็นจุดอ่อนในเรื่องเครื่องยนต์ ซึ่งปัจจุบันเครื่องบินกว่า 100 ลำของกองทัพประชาชนยังพึ่งพาเครื่องยนต์ที่ซื้อจากรัสเซียในช่วง 10 ปีมานี้ แม้แต่ J-20 “สเตลธ์” เครื่องบินรบยุคที่ 5 ก็ยังติดเครื่องยนต์รุ่น AL-31 แบบเดียวกับที่ใช้กับ Su-27/30 โดยนำไปปรับแต่งเพียงเล็กน้อย
ถ้าหากไม่สามารถหาเครื่องยนต์ที่ก้าวหน้ามากกว่าที่มีอยู่มาใช้ได้ J-20 ก็จะเป็นเพียงเครื่องบินรบยุคที่ 5 “แบบจีนๆ” เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญของสำนักนี้กล่าว
ในปี 2552 ซึ่งจีนเริ่มพัฒนาเครื่องต้นแบบ J-15 เพื่อใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน จีนได้ขอซื้อ Su-33 จากรัสเซียจำนวน 4 ลำ เพื่อใช้ในขั้นทดลองโดยให้คำมั่นจะซื้อ “ล็อตใหญ่” หลังจากนั้น แต่ฝ่ายรัสเซียไม่ขายให้เนื่องจาก Su-33 เป็นเครื่องบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จึงทำให้ J-15 ของจีนต้องใช้เครื่องยนต์ Su-27/30 ต่อไป
นักวิเคราะห์มองว่า การขอซื้อ Su-33 ของจีนก็เป็นอีกหนึ่งความพยายามเพื่อจะให้ได้เครื่องยนต์ไอพ่นรุ่น AL-31FN ซึ่งมีเทคโนโลยี “ธรัสต์เว็กเตอร์คอนโทรล” (Thrust Vector Controlling) ประสิทธิภาพสูงกว่า อันเป็นขุมพลังของ Su-33
การมีระบบ TVC ทันสมัยของเครื่องยนต์ไอพ่น เป็นสิ่งสำคัญมากในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเครื่องบิน สำคัญพอๆ กับความแรง และความเร็ว เพราะมีประโยชน์มากทั้งในยามขึ้นลง บินไต่ระดับ หรือลดระดับ การเปลี่ยนทิศทางกะหันหัน บินตีลังกา หมุนตัว หรือควงสว่านกลางอากาศขณะพยายามหลบอาวุธโจมตีของฝ่ายข้าศึก และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่ออยู่ในสถานการณ์พันตูใกล้ชิดกลางอากาศ หรือ “ด็อกไฟต์”
เมื่อพิจารณาจากจำนวน Su-35 ที่ขอซื้อล่าสุด เทียบกับราคา 1,500 ล้านดอลลาร์ แต่ละลำจะมีมูลค่า 62.5 ล้านดอลลาร์ อันเป็นราคาที่ต่ำกว่าเมื่อครั้งเจรจาขอซื้อ 48 ลำ ซึ่งยังไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้
แต่อย่างน้อยที่สุด ราคา 62.5 ล้านดอลลาร์ต่อลำก็ยังแสดงให้เห็นว่าจีนยังทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้เครื่องยนต์ 117S ซึ่งในที่สุดรัสเซียอาจจะไม่ยอมขายให้ และถ้าหากไม่ได้ตามนี้ ในปี 2558 จีนก็อาจจะไม่เซ็นสัญญาซื้อ
ผู้เชี่ยวชาญของ Kanwa.Com ที่คร่ำหวอดกับอาวุธยุทธภัณฑ์ของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นกล่าวว่า โอกาสที่เป็นไปได้ก็มีอยู่เช่นกัน ..
รัสเซียจะยอมขาย Su-35 แบบเดียวกับที่ตัวเองใช้ให้แก่จีน ก็ต่อเมื่อฝ่ายรัสเซียพัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่ประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่า 117S และนำไปใช้กับ T-50 “สเตลธ์” ยุคที่ 5 เป็นผลสำเร็จแล้วเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าว.
เครื่องบินรบยุคที่ 4++ ซูคอย Su-35 ขึ้นบินสาธิตความคล่องแคล่วในงานมอสโกแอร์โชว์ 2554 หรือ MAKS 2011 ที่จัดขึ้นชานเมืองหลวงของรัสเซีย โทรทัศน์แห่งชาติของจีนรายงานว่า จีนได้ตกลงซื้อเครื่องบินรุ่นนี้จำนวน 24 ลำ ระหว่างการเยือนของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมกับซื้อเรือดำน้ำอีก 4 ลำ เครื่องยนต์ไอพ่นรุ่น 117S ที่รัสเซียใช้กับ Su-35 และ T-50 PAK FA ในปัจจุบัน รวมทั้งระบบจรวดป้องกันทางอากาศ S-400 ด้วย รายงานของโทรทัศน์จีนค่อนข้างสับสนกับข้อเท็จจริงหลายประการ และสื่อในรัสเซียเองที่โดยปกติจะไม่เคยละเว้นข่าวใหญ่เช่นนี้กลับเงียบกริบ... |
.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ข่าวการซื้ออาวุธรัสเซียล็อตใหญ่ของจีนที่รายงานโดยข่ายโทรทัศน์แห่งชาติจีนระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไปเยือนสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ทั่วภูมิภาคเอเชียตั้งแต่เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดียต่างจับตามอง และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังไปทั่ว ในขณะที่สื่อในรัสเซียต่างเงียบกริบ ไม่มีข่าวนี้ ยกเว้นเพียง 1 สำนักที่ได้ออกปฏิเสธรายงานของข่ายโทรทัศน์กลาง หรือ CCTV ในกรุงปักกิ่ง
เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากโทรทัศน์จีนรายงานเรื่องนี้ อิตาร์ทาส (ITAR-TASS) ซึ่งเป็นหนึ่งในสำนักข่าวของทางการรัสเซีย ได้รายงานตอบโต้ว่า “ไม่มีการเซ็นสัญญาซื้อขายอาวุธใดๆ ระหว่างการเยือนของประธานาธิบดีจีนสีจิ้นผิง สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา”
TASS รายงานเรื่องนี้โดยอ้างคำพูดของแหล่งข่าวกลาโหมที่อยู่วงใน ระหว่างการเยือนของผู้นำจีน และภริยา
“สองฝ่ายไม่ได้มีการเซ็นสัญญาใดๆ เกี่ยวกับการซื้อขายอาวุธใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีวาระนี้ระหว่างการเยือนของประธานาธิบดีจีนนายสีจิ้นผิง” TASS กล่าว
สำนักข่าวอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ อินเตอร์แฟ็กซ์ (InterFax) ที่มักจะเปิดเผยเรื่องการซื้อขายอาวุธก่อนใครๆ เสมอ และในหลายกรณีเป็นรายงานล่วงหน้า ก็ไม่มีข่าวนี้ เช่นเดียวกับสำนักข่าวโนวอสติที่ได้ชื่อในเรื่องความเร็วกับความรอบด้าน ขณะที่สำนักข่าวกลาโหมชั้นนำของรัสเซียคือ “เล็นตาด็อทอาร์ยู” รายงานแต่เพียงว่า “ทราบจากสื่อจีน”
ในเว็บไซต์นิตยสาร “คอมเมอร์ซันต์” สื่อของบริษัทส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ในสังกัดกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ก็ไม่มีข่าวนี้เช่นกัน ซึ่งปกติทั่วไปจะต้องเป็นข่าวใหญ่ เพราะเป็นการเน้นย้ำถึงคุณภาพของอาวุธรัสเซียเอง
การซื้อขายอาวุธในยุคใหม่ไม่ได้เป็นความลับสุดยอดอีกต่อไป ซึ่งต่างไปจากยุคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต ทั้งนี้ เนื่องจากรัสเซียมีข้อตกลงกับโลกตะวันตกที่จะต้องจำหน่ายอาวุธให้แก่ลูกค้ารายต่างๆ ด้วยความโปร่งใส การซื้อขายอาวุธใดๆ กับจีน หรือมิตรประเทศอื่นๆ ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน
เมื่อสงครามกลางเมืองในซีเรียปะทุขึ้นใหม่ๆ รัสเซียแถลงอย่างเปิดเผยว่า ได้ส่งอาวุธจำนวนหนึ่งให้แก่ฝ่ายรัฐบาลประธานาธิบดีอัสสาด ที่กำลังต่อสู้กับฝ่ายกบฏเรียกร้องประชาธิปไตย และเสรีภาพ แต่ทั้งนี้ เป็นการส่งมอบตามข้อตกลงซื้อขายที่เซ็นกันก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายปี..
ในเดือน ม.ค. ปีนี้ TASS เป็นแห่งแรกที่ออกปฏิเสธรายงานของสื่อในจีนที่ว่า รัสเซียได้ตกลงขายเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ความเร็วเหนือเสียงแบบ Tu-20M3 รุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน 12 ลำ ให้แก่จีน และเพียงข้ามวันต่อมา บริษัทส่งออกอาวุธของกระทรวงกลาโหมได้ออกยืนยันว่า “ไม่เคยมีการเจรจากันในเรืองนี้” ทั้งยังระบุด้วยว่า รัสเซียไม่สามารถส่งออก “อาวุธยุทธศาสตร์” ได้
โทรทัศน์แห่งชาติจีนซึ่งเป็นต้นตอของข่าวอื้อฉาวล่าสุดรายงานว่า สองฝ่ายได้เซ็นความตกลงซื้อขายเครื่องบินซู-35 “ซูเปอร์แฟล็งเคอร์” จำนวน 24 ลำ กับเรือดำน้ำชั้นลาดา (Lada-class) อีก 4 ลำ ในนั้น 2 ลำจะต่อในรัสเซีย อีก 2 ลำต่อในจีน รวมทั้งเครื่องยนต์ไอพ่นรุ่น 117S (เครื่องยนต์ Su-35) และเครื่องบินลำเลียงขนส่งขนาดใหญ่ “อิลยูชีน” Il-476 และเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ Il-78 ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ใน “กรอบเจรจา” ระหว่างการเยือนรัสเซียของผู้นำจีน วันที่ 22-24 มี.ค.ที่ผ่านมา CCTV กล่าว
นอกจากนั้น สองฝ่ายยังตกลงจะร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร รวมทั้งรัสเซียจะถ่ายทอดเทคโนโลยีของระบบจรวดป้องกันการโจมตีทางอากาศแบบ S-400 ให้แก่ฝ่ายจีนอีกด้วย โทรทัศน์จีนรายงานโดยไม่ได้อ้างแหล่งที่มาของข่าวสาร ..
เรื่องราวทั้งหมดนี้ยิ่งดูเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นไปอีกเมื่อหนังสือพืมพ์ “ประชาชน” ของพรรคคอมมิวนิสต์นำเสนอข่าวในวันรุ่งขึ้น
Su-30 กับ TVC Youtube.Com
Su-33 เครื่องยนต์ AL-31FN Youtube.Com
สเตลธ์ "แบบจีนๆ"Youtube.Com
เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่า? สำนักข่าวเล็นตาด็อทอาร์ยู ตั้งคำถาม ..
เกี่ยวกับระบบ S-400 นี้ สื่อของทางการจีนรายงานตั้งแต่ปี 2554 ว่า รัสเซียได้ตกลงขายให้จีนแล้ว แต่เวลาต่อมา บริษัทส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียได้ออกปฏิเสธ รวมทั้งกล่าวย้ำว่า รัสเซียไม่สามารถส่งออกอาวุธป้องกันทางยุทธศาสตร์ได้ นอกจากนั้น S-400 ยังเป็นระบบใหม่ล่าสุด ทันสมัยมากที่สุด และเพิ่งจะนำออกติดตั้งในภาคตะวันออกไกลเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งตามแนวชายแดนติดกับจีนด้วย ซึ่งไม่สามารถจะจำหน่ายให้แก่ประเทศใดได้ ทั้งนี้ เป็นรายงานของสื่อในรัสเซีย
แต่เครื่องบิน Su-35 ไม่ใช่ “อาวุธยุทธศาสตร์” นอกจากนั้น ปัจจุบันก็ยังไม่ใช่เครื่องบินรบรุ่นที่ก้าวหน้ามากที่สุดของค่ายซูคอยซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอีกด้วย
ขณะที่โลกตะวันตกจัด Su-27/30 ไว้ระดับเดียวกับ F-15 ของสหรัฐฯ Su-35 ก็อยู่ในระดับเดียวกับ F/A-18E/F เท่านั้น คือ เป็นเครื่องบินรบยุค 4++ เท่ากันในด้านเทคโนโลยี
รัสเซียประกาศตั้งแต่ต้นปี 2551 เมื่อเครื่องต้นแบบ 1 ใน 4 ลำ ขึ้นบินเป็นครั้งแรกว่า จะผลิตรุ่นส่งออกสำหรับจำหน่ายให้ลูกค้าต่างประเทศด้วย โดยเวเนซุเอลาเป็นประเทศแรกในลิสต์ ลิเบีย เป็นรายที่ 2 แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทั้งสองประเทศทำให้ไม่ทราบอนาคตความตกลงเกี่ยวกับ Su-35
เวียดนามก็เป็นหนึ่งในบรรดาลูกค้า ซึ่งเมื่อปี 2553 รัสเซียเคยเสนอให้กองทัพอากาศเวียดนามใช้ Su-35 แทน Su-30MK2 ล็อตที่เหลืออยู่ในแผนการจัดซื้อทั้งหมด 44 ลำ ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวโนวอสติ
การเจรจาซื้อขาย Su-35 ระหว่างจีนกับรัสเซียนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่มีอะไรเป็นความลับ และยังเคยเป็นข่าวใหญ่ในปี 2554 เมื่อจีนขอซื้อถึง 48 ลำ มูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 88 ล้านดอลลาร์ต่อลำ ซึ่งเป็นราคาใกล้เคียงกับของกองทัพอากาศรัสเซีย
แต่เพียงข้ามปีต่อมา ผู้อำนวยการบริษัทส่งออกอาวุธได้ให้สัมภาษณ์ในมาเลเซียว่า การเจรจาได้ยุติลงแล้วเพราะสองฝ่ายไม่อาจตกลงกันได้ เนื่องจากในที่สุดฝ่ายจีนขอซื้อเพียง 4 ลำ ซึ่งรัสเซียมองว่า “ไม่คุ้มในเชิงเศรษฐกิจ” และยังระแวงจีนนำไปก๊อบปี้เทคโนโลยีอีกด้วย
ตามรายงานของนิตยสารคอมเมอร์ซันต์ก่อนหน้านี้ รัสเซียไม่พอใจ และระมัดระวังจีนมาตลอดในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งเครื่องบินรบกับเครื่องบินลำเลียงขนส่งหลายรุ่นล้วนก๊อบปี้พื้นฐานไปจากเครื่องบินรัสเซีย หรือของสาธารณรัฐยูเครนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น J-7, H-6 (เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์), Y-5, Y-7 และ Y-8 ซึ่งต้นแบบคือ MiG-21, Tu-16, An-2, An-24 กับ An-12 ตามลำดับ
การเจรจาซื้อขาย Su-35 เริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือน ธ.ค.2555 เจ้าหน้าที่สองฝ่ายได้กลับสู่โต๊ะ และลงเอยด้วยการเซ็น “กรอบความตกลง” ที่มีใจความสำคัญว่า จีนจะซื้อ Su-35 จากรัสเซีย จำนวน 24 ลำ ในวงเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับเรือดำน้ำชั้นลาดาและอาวุธยุทธภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ระบุมูลค่า
“กรอบความตกลง” ดังกล่าวระบุด้วยว่า สองฝ่ายคาดหวังการเซ็นข้อตกลงซื้อขายจะมีขึ้นได้ในปี 2558 และการส่งมอบเครื่องบินจะมีขึ้นได้ “หลังปีนั้น” สื่อรัสเซียรายงานเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นปี 2556
ข่าวการเซ็นซื้อขาย Su-35 กับเรือดำน้ำกระฉ่อนในหน้าหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ข่าวภาษาจีนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พล.อ.เซอร์เก ชูกอย รมว.กลาโหมรัสเซีย ไปเยือนปักกิ่งในปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีการแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งส่อนัยว่าไม่มีการเซ็นความตกอะไร และสื่อของทั้งสองฝ่ายเงียบกริบ
ต่างกับเมื่อครั้ง พล.อ.ชอยกู ไปเยือนเวียดนามในเดือนนี้ ที่ฝ่ายรัสเซียเปิดเผยในทุกๆ เรื่อง รวมทั้งการตั้งฐานเรือดำน้ำ การฝึกทหารเรือให้เวียดนามหลายร้อยนาย และการสร้างท่าเรืออีก 1 แห่ง ในอ่างวกามแรง เพื่อให้เรือรบรัสเซีย และของชาติอื่นๆ แวะไปใช้ได้อีกด้วย เพราะทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดที่ผ่านการเซ็นสัญญา และตกลงกันเรียบร้อยแล้ว
บนสุดของยุคที่ 4Knaapo.Com/Sukoi.Com
ซูคอยผลิตต้นแบบออกมา 4 ลำ เพื่อทดลองกับเครื่องยนต์รุ่นต่างๆ กัน และทดสอบในด้านอื่นๆ และจะเริ่มผลิตให้กองทัพอากาศรัสเซียไปจนถึงปี 2563 สายการผลิตเวอร์ชันสำหรับส่งออกอาจจะตามมาหลังจากนั้น สื่อในรัสเซียกำลังสงสัยรายงานของโทรทัศน์จีนที่ว่า สองฝ่ายเซ็นสัญญาซื้อขายกันเรียบร้อยแล้วในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ฝ่ายรัสเซียเองรายงานก่อนหน้านี้ว่า ที่เซ็นกันปลายปีที่แล้วเป็นเพียง “กรอบความตกลง” และการเซ็นสัญญาซื้อขายจริงอาจจะมีขึ้นได้ในปี 2558 ทั้งหมดต่อไปนี้เป็นภาพชุดล่าสุดของ Su-35 ที่ผู้ผลิตนำออกเผยแพร่ในเดือน ธ.ค.2555. |
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาข้ามเดือนมานี้ สื่อกลาโหมในย่านเอเชียหลายสำนักได้ออกบทวิเคราะห์มากมายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ และเป็นไม่ได้ที่รัสเซียจะยอมขาย Su-35 รุ่นมาตรฐานที่ไม่ใช่เวอร์ชันสำหรับส่งออกให้แก่จีน อันเป็นความปรารถนาแรงกล้าของฝ่ายขอซื้อ
การที่โทรทัศน์กลางจีนระบุว่า มีการเซ็นสัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ 117S ด้วย ก็ยิ่งส่อเจตนาให้เห็นว่า สิ่งที่จีนต้องการคือ “เครื่องยนต์” มากกว่า “เครื่องบิน” ซึ่งจีนยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตเองได้ และต้องพึ่งพาเครื่องยนต์ไอพ่นที่ซื้อจากรัสเซียตลอดมา
สำนักข่าวกลาโหม Kanwa.Com วิเคราะห์ไว้ในปลายเดือน ก.พ. ตอกย้ำว่า การขอซื้อ Su-35 รุ่นมาตรฐานจากรัสเซียได้แสดงให้เห็นจุดอ่อนในเรื่องเครื่องยนต์ ซึ่งปัจจุบันเครื่องบินกว่า 100 ลำของกองทัพประชาชนยังพึ่งพาเครื่องยนต์ที่ซื้อจากรัสเซียในช่วง 10 ปีมานี้ แม้แต่ J-20 “สเตลธ์” เครื่องบินรบยุคที่ 5 ก็ยังติดเครื่องยนต์รุ่น AL-31 แบบเดียวกับที่ใช้กับ Su-27/30 โดยนำไปปรับแต่งเพียงเล็กน้อย
ถ้าหากไม่สามารถหาเครื่องยนต์ที่ก้าวหน้ามากกว่าที่มีอยู่มาใช้ได้ J-20 ก็จะเป็นเพียงเครื่องบินรบยุคที่ 5 “แบบจีนๆ” เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญของสำนักนี้กล่าว
ในปี 2552 ซึ่งจีนเริ่มพัฒนาเครื่องต้นแบบ J-15 เพื่อใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน จีนได้ขอซื้อ Su-33 จากรัสเซียจำนวน 4 ลำ เพื่อใช้ในขั้นทดลองโดยให้คำมั่นจะซื้อ “ล็อตใหญ่” หลังจากนั้น แต่ฝ่ายรัสเซียไม่ขายให้เนื่องจาก Su-33 เป็นเครื่องบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซีย จึงทำให้ J-15 ของจีนต้องใช้เครื่องยนต์ Su-27/30 ต่อไป
นักวิเคราะห์มองว่า การขอซื้อ Su-33 ของจีนก็เป็นอีกหนึ่งความพยายามเพื่อจะให้ได้เครื่องยนต์ไอพ่นรุ่น AL-31FN ซึ่งมีเทคโนโลยี “ธรัสต์เว็กเตอร์คอนโทรล” (Thrust Vector Controlling) ประสิทธิภาพสูงกว่า อันเป็นขุมพลังของ Su-33
การมีระบบ TVC ทันสมัยของเครื่องยนต์ไอพ่น เป็นสิ่งสำคัญมากในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเครื่องบิน สำคัญพอๆ กับความแรง และความเร็ว เพราะมีประโยชน์มากทั้งในยามขึ้นลง บินไต่ระดับ หรือลดระดับ การเปลี่ยนทิศทางกะหันหัน บินตีลังกา หมุนตัว หรือควงสว่านกลางอากาศขณะพยายามหลบอาวุธโจมตีของฝ่ายข้าศึก และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่ออยู่ในสถานการณ์พันตูใกล้ชิดกลางอากาศ หรือ “ด็อกไฟต์”
เมื่อพิจารณาจากจำนวน Su-35 ที่ขอซื้อล่าสุด เทียบกับราคา 1,500 ล้านดอลลาร์ แต่ละลำจะมีมูลค่า 62.5 ล้านดอลลาร์ อันเป็นราคาที่ต่ำกว่าเมื่อครั้งเจรจาขอซื้อ 48 ลำ ซึ่งยังไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้
แต่อย่างน้อยที่สุด ราคา 62.5 ล้านดอลลาร์ต่อลำก็ยังแสดงให้เห็นว่าจีนยังทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้เครื่องยนต์ 117S ซึ่งในที่สุดรัสเซียอาจจะไม่ยอมขายให้ และถ้าหากไม่ได้ตามนี้ ในปี 2558 จีนก็อาจจะไม่เซ็นสัญญาซื้อ
ผู้เชี่ยวชาญของ Kanwa.Com ที่คร่ำหวอดกับอาวุธยุทธภัณฑ์ของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นกล่าวว่า โอกาสที่เป็นไปได้ก็มีอยู่เช่นกัน ..
รัสเซียจะยอมขาย Su-35 แบบเดียวกับที่ตัวเองใช้ให้แก่จีน ก็ต่อเมื่อฝ่ายรัสเซียพัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่ประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่า 117S และนำไปใช้กับ T-50 “สเตลธ์” ยุคที่ 5 เป็นผลสำเร็จแล้วเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าว.