xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุนเซน” สงสัยเหตุใดพวกสิทธิมนุษยชนไม่แตะ ไทยห้ามเพื่อนแม้วกลับประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนพูดถึงเรื่องนี้ระหว่างปราศรัย ในพิธีก่อตั้งสภาเพื่อการเติบโตสีเขียว ที่ทำเนียบรัฐบาลกรุงพนมเปญวันพุธ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา. -- ภาพ: Cambodia Daily. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - นายกรัฐมนตรีกัมพูชาทำเป็นงง ตั้งคำถามเพราะเหตุใดกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนทั้งหลายจึงไม่กล้าวิจารณ์ประเทศไทย วิจารณ์แต่เขมร ทั้งๆ ที่ไทยละเมิดสิทธิมนุษยชนใหญ่โต รวมทั้งการทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ยุบพรรคการเมือง และห้ามทักษิณกลับประเทศด้วย

“การรัฐประหารโดยฝ่ายทหารยึดอำนาจ (ในไทย) ขับไล่ทักษิณ (ชินวัตร) และห้ามไม่ให้เขาเดินทางกลับประเทศ ทำลายพรรคการเมือง ตัดสิทธิทางการเมือง -- กลับไม่มีใครวิจารณ์” ฮุนเซนกล่าวในพิธีก่อตั้งสภาเพื่อการเติบโตสีเขียวแห่งชาติ (National Council on Green Growth) หรือ NCGG ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักนายกรัฐมนตรี กรุงพนมเปญ วันพุธ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

มีรายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์แคมโบเดียเดลี

“ทำไมพวกเขาไม่กล้าวิจารณ์ประเทศไทย ก็เพราะไทยมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และบางประเทศต้องการไทยเป็นอย่างมาก ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีการรัฐประหารยึดอำนาจ ก็เพราะว่าพวกนั้นมีฐานทัพอยู่ที่นั่น (ในไทย)” หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อ้างคำพูดของฮุนเซน ซึ่งดูจะหมายถึงสหรัฐฯ แต่ไม่ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ “ฐานทัพ”

ฮุนเซนกล่าวว่า ประชาคมระหว่างประเทศไม่ยุติธรรม วิจารณ์แต่กัมพูชาที่ยากจนกว่า และเข้มแข็งน้อยกว่าไทยต่อการปฏิบัติผู้นำฝ่ายค้านนายสัมรังสี ซึ่ง (ถูกตัดสินลงโทษเพราะ) กระทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม นายอู วิรัก (Ou Virak) ประธานศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนกัมพูชากล่าวว่า ความจริงแล้วประชาคมระหว่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์ไทยเช่นกันต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เขาก็กล่าวว่า ประเทศไทยมีระบบศาลที่เป็นอิสระ

“ศาลของเราไม่ได้เป็นอิสระ นี่เป็นพื้นฐานสำคัญมากสำหรับการร้องเรียนจากประชาคมระหว่างประเทศ” นายวิรัคกล่าว ทั้งชี้ให้เห็นความไร้อิสระของศาลกัมพูชาที่ยินยอมให้รัฐบาลใช้อำนาจเข้าแทรกแซง ในกรณีนายสัมรังสี ผู้นำฝ่ายค้านที่ลี้ภัยอยู่ในต่างแดนขณะนี้.

ไม่ต้องสงสัยเลย AFP/Reuters

2

3

4

5
<bR><FONT color=#000033>ส่วนภาพสุดท้ายนี้เป็นจินตนาการบรรเจิดของสื่อออนไลน์ภาษาเขมร Khmerization.Blogspot.Com ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา.  </b>
6
กำลังโหลดความคิดเห็น