xs
xsm
sm
md
lg

พม่า-กะฉิ่น เห็นชอบหารือต่อเนื่องจนกว่าบรรลุข้อตกลงหยุดยิง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ทหารของกองกำลังกะฉิ่น KIA เข้าแถวเพื่อรับการฝึกในช่วงเช้าที่ค่ายฝึกนอกเมืองลายซา ที่เป็นพื้นที่ควบคุมของกลุ่ม ในรัฐกะฉิ่น ทางเหนือของพม่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2555 ผู้แทนจาก KIO และกองกำลังติดอาวุธ KIA ได้ร่วมเจรจาหารือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพม่า โดยทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงที่จะหารือกันจนกว่าจะมีฐานความเข้าใจในข้อตกลงหยุดยิงร่วมกัน. -- AFP PHOTO/Patrick BODENHAM. </font></b>

เอเอฟพี - รัฐบาลพม่า และกลุ่มกบฏกะฉิ่นได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะเจรจาหารือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงในระหว่างการเจรจาสันติภาพที่มีจีนเป็นเจ้าภาพ ตามการแถลงร่วมของทั้งสองฝ่ายวานนี้ (12)

ผู้แทนจากองค์กรกะฉิ่นอิสระ (KIO) และกองกำลังติดอาวุธของกลุ่ม (KIA) ได้พบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า นำโดยนายอ่อง มิน รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดี ในเมืองรุ่ยลี่ พรมแดนจีน เมื่อวันจันทร์ และอังคาร

“ข้อตกลงได้บรรลุว่าจะดำเนินการหารือกันจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะมีฐานความเข้าใจร่วมกันทั้งในข้อตกลงหยุดยิง ความไว้วางใจ และความเชื่อใจ เพื่อเริ่มต้นการหารือทางการเมืองอย่างแท้จริงต่อไป” แถลงการณ์ร่วมระบุ

การหารือในแต่ละขั้นนั้น กองกำลังระดับล่างของทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินตามคำสั่งที่มีขึ้นด้วย แม้ว่ากองกำลังของทั้งคู่จะยังคงกล่าวโทษกันถึงการเปิดฉากโจมตีก่อนหน้านี้ นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะจัดการหารือกันอีกก่อนวันที่ 10 เม.ย. ที่จะเป็นการหารือกันครั้งที่ 3 ในปีนี้

ฝ่ายโฆษกหญิงของกระทรวงต่างประเทศจีน กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายจะจัดการหารือในประเด็นทางทหาร โดยมีจีนเป็นเจ้าภาพตามความประสงค์ของสองฝ่าย

การหารือหลายสิบครั้งระหว่างรัฐบาลพม่า และกลุ่มกบฏกะฉิ่น นับตั้งแต่ปี 2554 มักไม่คืบหน้าเนื่องจากยังมีการสู้รบอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังกล่าวหาว่า ทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมื่อเดือน ม.ค. รัฐบาลได้ประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวกับกะฉิ่น หลังเกิดการต่อสู้รุนแรง แต่แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศหยุดยิง การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปโดยที่กองทัพได้เข้ายึดที่มั่นสำคัญที่อยู่ใกล้กับศูนย์บัญชาการใหญ่ของกลุ่มกบฏใกล้พรมแดนจีนทางเหนือ

กลุ่มกะฉิ่นที่ต่อสู้เรียกร้องการปกครองตนเองระบุว่า การเจรจาใดๆ ก็ตามควรระบุข้อเรียกร้องของกลุ่มที่ต้องการสิทธิทางการเมืองมากขึ้นเข้าเป็นประเด็นในการหารือด้วย

ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพไร้ที่อยู่นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.2554 เมื่อข้อตกลงหยุดยิง 17 ปี ระหว่างรัฐบาล และกะฉิ่นถูกละเมิดลง

ฝ่ายรัฐบาลจีนที่วิตกเกี่ยวกับสถานการณ์การไหลทะลักของผู้ลี้ภัย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่า และกลุ่มกะฉิ่นยุติการต่อสู้ที่บดบังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่ง หลังสิ้นสุดการปกครองโดยทหารในปี 2554.
กำลังโหลดความคิดเห็น