xs
xsm
sm
md
lg

รัฐบาลพม่าเปิดเจรจาสันติภาพรอบใหม่กับกบฏกะฉิ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> แฟ้มภาพเอเอฟพีวันที่ 16 พ.ค. 2555 ทหารของกลุ่มติดอาวุธกะฉิ่น เฝ้าประจำการอยู่ที่ด่านบนเส้นทางลำเลียงสินค้าระหว่างเมืองลายซา ที่อยู่ในความควบคุมของ KIA และเมืองปอจอ ในรัฐกะฉิ่น ทางเหนือของพม่า. --AFP PHOTO/Patrick BODENHAM. </font></b>

เอเอฟพี - รัฐบาลพม่าเปิดโต๊ะเจรจาสันติภาพกับกลุ่มกบฏกะฉิ่นรอบใหม่ในจีนวันนี้ (11 มี.ค.) นักวิเคราะห์รายหนึ่งเผย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายต้องการหาทางแก้ไขความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่บั่นทอนการปฏิรูปประเทศ

ผู้แทนจากองค์กรเอกราชกะฉิ่น (KIO) และกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มกะฉิ่น (KIA) ได้พบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพม่า นำโดยนายอ่อง มิน รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดี ที่เมืองรุ่ยลี่ พรมแดนจีน ในวันนี้

“ผมคิดว่าการหารือครั้งนี้จะมีประสิทธิผลมากขึ้นกว่าการหารือครั้งก่อน (เมื่อเดือน ก.พ.) แม้เราจะไม่สามารถคาดหวังได้มากนักก็ตาม” นายอ่อง กอ ซอ นักวิเคราะห์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ KIO ที่ร่วมสังเกตการณ์การหารือในเมืองรุ่ยลี่ กล่าว

“กองกำลังทหารพม่ายังไม่ถอนกำลังออกจากรัฐกะฉิ่น” นายอ่อง กอ ซอ กล่าว และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในการหารือครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่จีน และสมาชิกจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในพม่าเข้าร่วมด้วย

การหารือหลายสิบครั้งระหว่างรัฐบาลพม่า และกลุ่มกบฏกะฉิ่น นับตั้งแต่ปี 2554 มักไม่คืบหน้าเนื่องจากยังมีการสู้รบอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังกล่าวหาว่าทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งกล่าวว่า การเจรจาหารือเมื่อเดือน ก.พ. มีพัฒนาการในทิศทางบวก

กลุ่มกะฉิ่นที่ต่อสู้เรียกร้องการปกครองตนเองระบุว่า การเจรจาใดๆ ก็ตามควรระบุข้อเรียกร้องของกลุ่มที่ต้องการสิทธิทางการเมืองมากขึ้นเข้าเป็นประเด็นในการหารือด้วย

เมื่อเดือน ม.ค. รัฐบาลได้ประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวกับกะฉิ่น หลังเกิดการต่อสู้รุนแรง แต่แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศหยุดยิง การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปโดยที่กองทัพได้เข้ายึดที่มั่นสำคัญที่อยู่ใกล้กับศูนย์บัญชาการใหญ่ของกลุ่มกบฏใกล้พรมแดนจีนทางเหนือ

ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพไร้ที่อยู่นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.2554 เมื่อข้อตกลงหยุดยิง 17 ปี ระหว่างรัฐบาลและกะฉิ่นถูกละเมิดลง

ฝ่ายรัฐบาลจีนที่วิตกเกี่ยวกับสถานการณ์การไหลทะลักของผู้ลี้ภัย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่า และกลุ่มกะฉิ่นยุติการต่อสู้ที่บดบังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่ง หลังสิ้นสุดการปกครองโดยทหารในปี 2554.
กำลังโหลดความคิดเห็น