xs
xsm
sm
md
lg

รัฐบาลพม่าเปิดโต๊ะหารือกบฏกะฉิ่นในจีนยุติความขัดแย้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายอ่อง มิน รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดี (ที่ 3 จากซ้ายแถวหลัง) พร้อมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า ร่วมเจรจาหารือกับผู้แทนกองทัพอิสรภาพกะฉิ่น ในเมืองรุ่ยลี่ วันที่ 4 ก.พ. โดยมีเจ้าหน้าที่จีนเข้าร่วมด้วย. --  AFP PHOTO / Myanmar Peace Centre  . </font></b>
.

เอเอฟพี - รัฐบาลพม่า และกลุ่มกบฏกะฉิ่นได้พบปะกันในวันนี้ (4 ก.พ.) เพื่อหารือสันติภาพรอบใหม่โดยมีจีนเป็นเจ้าภาพ ในความพยายามที่จะยุติความขัดแย้งที่บดบังการปฏิรูปการเมืองของประเทศ

คณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลพม่านำโดยนายอ่อง มิน รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดี ได้ร่วมหารือกับแกนนำองค์กรอิสรภาพกะฉิ่น (KIO) ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองรุ่ยลี่ ที่อยู่บริเวณพรมแดนจีน

“เจ้าหน้าที่อาวุโสจีนส่วนหนึ่งได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้” นายอ่อง กอว์ ซอว์ นักวิเคราะห์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ KIO ซึ่งเข้าร่วมสังเกตการณ์การหารือครั้งนี้กล่าว

“ผลการหารือน่าจะออกมาดีเมื่อทางการจีนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการหารือครั้งนี้ด้วย รัฐบาลจีนต้องการให้การต่อสู้บริเวณพรมแดนยุติลง เพราะพวกเขาต้องการความมั่นคง” นายกอว์ ซอว์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวผ่านทางโทรศัพท์

ฝ่ายโฆษกหญิงกระทรวงต่างประเทศจีน ได้แถลงข่าวยืนยันเกี่ยวกับการประชุม โดยระบุว่า ทั้งสองฝ่ายแสดงความรู้สึกขอบคุณจีนสำหรับความช่วยเหลือในการหารือ พร้อมแสดงจุดยืนว่า จีนต้องการที่จะมีบทบาทสร้างสรรค์ต่อการเจรจาสันติภาพนี้ แต่ไม่ให้รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด

แม้ว่าการเจรจาหลายสิบรอบระหว่างรัฐบาลกับกะฉิ่นนับตั้งแต่ปี 2554 จะไม่มีความคืบหน้า แต่การหารือกันเป็นครั้งแรกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของทั้งสองฝ่ายพบว่า มีการพัฒนาในทิศทางบวก

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่าได้ประกาศหยุดยิงกับกะฉิ่น แต่การต่อสู้กลับยังดำเนินต่อเนื่อง และกองกำลังรัฐบาลได้เข้ายึดด่านทหารสำคัญที่อยู่ใกล้กับฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏซึ่งอยู่ใกล้กับพรมแดนจีน

ฝ่ายกะฉิ่นที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองกล่าวว่า การเจรจาใดๆ ที่เกิดขึ้นควรหยิบยกประเด็นความต้องการของกลุ่มเกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองเข้าหารือด้วย

นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2554 ที่ข้อตกลงหยุดยิง 17 ปี ระหว่างรัฐบาล และกะฉิ่นถูกละเมิดลง ประชาชนหลายหมื่นคนในพื้นที่ต้องอพยพไร้ที่อยู่ ซึ่งรัฐบาลจีนแสดงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การไหลทะลักของผู้ลี้ภัย และได้เรียกร้องให้มีการยุติการต่อสู้ที่บดบังความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเต็งเส่ง หลังสิ้นสุดการปกครองของทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษเมื่อปี 2554.
กำลังโหลดความคิดเห็น