xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามฉลองใหญ่ 40 ปี “ยุทธการ 12 วัน 12 คืน” สอย B-52 สหรัฐฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>จรวดต่อสู้อากาศยาน S-75 ดวินา (Dvina) หรือ SA-2 หรือ SAM-2 จากโซเวียต ตั้งตระหง่านอยู่เหนือซากเครื่องบินบี-52 ที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งกรุงฮานอย ราวกับประกาศศักดาเหนือน่านฟ้าเมืองหลวง เวียดนามกำลังเฉลิมฉลองรำลึก 40 ปี ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ ซึ่งหมายถึงการต่อสู้การโจมตีทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินบี-52 ของสหรัฐ 12 วัน 12 คืน ระหว่างวันที่ 18-29 ธ.ค.2515 อันเป็นเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าพลิกผันอนาคตของสงครามเวียดนาม ทำให้สหรัฐฯ เสนอเจรจาหยุดยิง-ทำสัญญาสันติภาพในเดือน ม.ค.2516 ในกรุงปารีส. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วันที่ 18 ธ.ค.เมื่อ 40 ปีก่อน กลายเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อักวันหนึ่ง เป็นวันที่สหรัฐฯ เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดกรุงฮานอย กับจังหวัดสำคัญทางภาคเหนือ หวังกดดันให้คอมมิวนิสต์เวียดนามยอมศิโรราบ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับเปิดเผยให้เห็นจุดอ่อนของ “อสูรสงคราม” และกดดันให้สหรัฐฯ ต้องรีบทำความตกลงหยุดยิงกับเวียดนาม

นั่นคือช่วงปลายเหตุการณ์ที่เวียดนามเหนือเรียกว่า “ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ” เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ในเดือน ธ.ค.2515 ซึ่งเวียดนามยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์บี-52 ของสหรัฐฯ ตกถึง 34 ลำ เครื่องบินรบอื่นๆ อีกจำนวนมาก และทำให้ “สงครามกับสหรัฐฯ” ตามที่ฝ่ายเวียดนามเรียกขานไปสู่จุดจบเร็วขึ้น

เป็นเรื่องที่คาดล่วงหน้าได้อยู่แล้วว่า ไม่วันใดก็วันหนึ่ง กรุงฮานอยกับเมืองท่าหายฝ่อง (ไฮฟอง) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม หรือ “เวียดนามเหนือ” ในอดีตต้องตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทิ้งระเบิดครั้งใหญ่อย่างไม่มีทางเลี่ยง

สหรัฐ “หวังจะทำลาย 2 เมืองใหญ่ของเวียดนามให้กลับไปสู่ยุคหิน” และ “หวังจะทำลายความหวังกับความมุ่งมาดปรารถนาต่อเอกราช และสันติภาพของประชาชนเวียดนาม เป็นความพยายามที่จะหาความได้เปรียบในการเจรจาสันติภาพกรุงปารีส ทำลายล้างเศรษฐกิจ และการป้องกันในภาคเหนือ หวังจะจำกัดการสนับสนนุนขบวนการปฏิวัติในภาคใต้ ลดความเข้มแข็ง และลดฐานะตำแหน่งของพวกเรา เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลหุ่นไซ่ง่อน” หนังสือพิมพ์กวนโด่ยเญินซเวิน (Quan Doi Nhan Dan) หรือ “กองทัพประชาชน” กล่าวในสัปดาห์นี้

แต่เวียดนามเตรียมตัวล่วงหน้านานนับปีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดหวังทำลาย “เส้นทางโฮจิมินห์” ในช่วงต้นปี 2515 ไม่สามารถหยุดยั้งการขนส่งลำเลียงลงสู่ใต้ได้ การจัดเตรียมกองกำลังต่อสู้อากาศยานจึงเริ่มมีขึ้นและกลายเป็นยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูฯ มาตามบัญชาของประธานโฮจิมินห์
ผู้นำที่เป็นจิตวิญญาณของฝ่ายเวียดนามเหนือ ไม่เพียงแต่จะจัดเตรียมมาตรการป้องกันเท่านั้น หากยังบัญชาให้ตอบโต้ และทำลายการรุกรานของสหรัฐฯ อีกด้วย

เมื่อสหรัฐฯ นำบี-52 ออกปฏิบัติการโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณมุยา (Mu Gia) ใน จ.กว๋างบี่ง (Quang Binh) ในปี 2509 และขยายไปยังเมืองวีงลีง (Vinh Linh) จ.กว๋างจิ (Quang Tri) “ลุงโฮ” สั่งการให้กองกำลังป้องกันทางอากาศจัดเตรียมรับมือ และหาทางยิงทำลายเครื่องบินรบยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้ได้

“ไม่ช้าก็เร็วจักรพรรดินิยมอเมริกาจะส่งบี-52 มาทิ้งระเบิดกรุงฮานอย แต่พวกเขาจะต้องพ่ายแพ้ ขอให้เราใช้เวลาที่มีอยู่ในการจัดเตรียมรับมือ” ประธานโฮจิมินห์พูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในช่วงในฤดูใบไม้ผลิตปี 2511 เพื่อเป็นแนวทาง กวนโด่ยเญินซเวินกล่าว

เวียดนามเหนือได้ขยายกองกำลังป้องกันทางอากาศเป็นระดับกองพล แบ่งระดับกรม กับกองพัน กระจายกันโอบล้อมเมืองหลวง กับเมืองท่าหายฝ่อง และกระจายเครื่องบินรบซึ่งในช่วงปีโน้นมีเพียงมิก-17 มิก-19 กับ มิก-21 (MiG-21) ที่ได้รับจากสหภาพโซเวียตเป็นกำลังหลัก ไปยังสนามบินในจังหวัดใกล้เคียง พร้อมต่อกรกับบี-52 และเครื่องบินรบแบบอื่นๆ ของสหรัฐฯ ..

ทางการเวียดนามกำหนดให้จัดการเฉลิมฉลองรำลึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ในระดับชาติ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีการประชุมสัมมนาทางวิชาการเผยแพร่ความรู้มาหลายครั้ง จัดแสดงปาฐกถาโดยผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ และเปิดบริเวณพระราชวังเก่าทังลอง ที่เคยใช้เป็นศูนย์บัญชาการของบรรดาผู้นำให้สาธารณชนได้เข้าเยี่ยมชม
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพทำขึ้นใหม่ -- พล.อ.ฝุ่งกวางแทง (Phung Quang Thanh) รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนามต้อนรับทหารผ่านศึกกับอดีตผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมทหารผ่านศึกโซเวียตในเวียดนาม วันที่ 4 ธ.ค.2555 ทั้งหมดไปจากรัสเซีย เบลารุสและยูเครน เพื่อร่วมฉลอง 40 ปียุทธการฮานอย-เดียนฟูทางอากาศ อดีตผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มหนึ่งพบปะสหายเก่าชาวเวียดนาม (ภาพล่าง) ในโอกาสไปเยี่ยมเยือนวันที่ 4-12 เดือนนี้ ความช่วยเหลือบน จิตใจสากลนิยมชนชั้นกรรมาชีพ จากโซเวียตมีความสำคัญยิ่งยวดต่อชัยชนะของเวียดนาม จรวด SAM-2 เป็นปัจจัยชี้ขาดชัยชนะในยุทธการ 12 วัน 12 คืนป้องกันเมืองหลวง. -- ภาพ: กวนโด่ยเญินซเวิน. </b>
2
.

เป็นพิเศษก็คือ คณะจากสมาคมทหารผ่านศึกกับผู้เชี่ยวชาญโซเวียตในเวียดนาม ได้ไปเยือนกรุงฮานอย ระหว่างวันที่ 4-12 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนในเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อน คนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การต่อสู้ป้องกันเมืองหลวงของเวียดนามเข้มแข็ง จนสหรัฐฯ ต้องแปลกใจ

หลังกลับจากเวียดนามไปยังบ้านเกิดในเวลาต่อมา นายทหารกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น ทั้งบุรุษ และสตรีหลายคนได้รับการเลื่อนชั้นยศเป็นระดับนายพล ก่อนเกษียณอายุ

ตามรายงานของสื่อทางการ อดีตสหภาพโซเวียตภายใต้ “จิตใจสากลนิยมชนชั้นกรรมาชีพ” ที่ช่วยเหลือประเทศสังคมนิยมด้วยกัน ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานไปช่วยฝึกทหารเวียดนามมาตั้งแต่ปี 2508 ซึงเป็นช่วงปีที่สงครามกับสหรัฐฯ ปะทุรุนแรง ความช่วยเหลือจากโซเวียตเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดที่นำมาสู่ชัยชนะ

พล.อ.ฝุ่งกวางแทง (Phung Quang Thanh) รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนามได้ต้อนรับคณะทหารผ่านศึก และอดีตผู้เชี่ยวชาญจากรัสเซีย เบลารุส และสาธารณรัฐยูเครนที่เข้าเยี่ยมคำนับ ในวันที่ 4 ธ.ค.และขอบคุณ “สหาย” เหล่านั้น ที่เคยช่วยเหลือเวียดนามในรูปแบบต่างๆ รวงทั้ง “การรบเคียงบ่าเคียงไหล่กัน” ในหลายโอกาสด้วย

ในช่วง 2-3 สัปดาห์มานี้ สื่อต่างๆ ในเวียดนามได้รายงานเหตุการณ์อันเป็นประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางในช่วง 12 วัน 12 คืน ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ (18-29 ธ.ค.2515) ก่อนสหรัฐฯ จะยื่นข้อเสนอหยุดยิง และเชื้อเชิญเวียดนามเหนือเข้าสู่โต๊ะเจรจาในเมืองหลวงฝรั่งเศส ในเดือน ม.ค.2516

ตามบันทึกของผู้เชี่ยวชาญโซเวียตผู้หนึ่ง ที่หนังสือพิมพ์ “เดิ๊ตเหวียด” (Dat Viet) นำออกเปิดเผยสัปดาห์นี้ เวียดนามระดมจรวด S-75 (System-75 “Dvina”) หรือ SAM-2 (หรือ SA-2 ตามรหัสของกลุ่มนาโต้) ที่ได้รับจากโซเวียตกว่า 330 ลูก เพื่อป้องกันกรุงฮานอยจากการโจมตีของบี-52 โดยเฉพาะ

เอกสารลับของเวียดนามอีกฉบับหนึ่ง ระบุว่า โซเวียตยังให้จรวดต่อสู้อากาศยานแบบ SAM-3 (เปชอรา -Pechora) อีกจำนวนมาก เช่นเดียวกับจีน ที่ส่งจรวดหงฉี-2 (HQ-2) ไปช่วยอีกทาง แต่แทบจะไม่มีโอกาสได้นำออกใช้ เพราะไม่สามารถต่อกรกับ บี-52 ได้

ตลอด 12 วัน 12 คืนในเดือน ธ.ค.2515 จรวด SAM-2 จึงเป็นอาวุธหลักในการป้องกันเมืองหลวง กับเมืองท่าหายฝ่อง
.
 <bR><FONT color=#000033>ผู้ไปเที่ยวชมเดินผ่านซากเครื่องบินบี-52 ที่พิพิธภัณฑ์ ชัยชนะเหนือบี-52 ในกรุงฮานอยในภาพวันที่ 7 ธ.ค.2555 เวียดนามจัดฉลองใหญ่ครบรอบ 40 ปีการณรงค์ที่เรียกว่า ฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ ซึ่งกินเวลา 12 วัน 12 คืน ระหว่างวันที่ 18-29 ธ.ค.2515 อันเป็นเหตุการณ์สำคัญมากในช่วง สงครามสหรัฐฯ ตามที่ฝ่ายเวียดนามเรียก. --  AFP Photo/Hoang Dinh Nam</b>
3
<bR><FONT color=#000033>นักท่องเที่ยวเดินผ่านล้อมหึมาของ ป้อมปราการบิน ที่ปนอยู่ในกองซากบี-52 ลำหนึ่งที่ถูกยิงตกเมื่อ 40 ปีก่อน ระหว่างการโจมตีทิ้งระเบิดกรุงฮานอยครั้งใหญ่ หวังกดดันให้เวียดนามเหนือยอมศิโรราบ แต่สถานการณ์กลับพลิกผัน สหรัฐฯ สูญเครื่องบินไปกว่า 80 ลำในปฏิบัติการ 12 วัน 12 คืน รวมทั้งบี-52 จำนวน 34 ลำด้วย วอชิงตันต้องเสนอเจรจาสันติภาพกับเวียดนามในกรุงงปารีส เดือน ม.ค.2516 และสงครามเวียดนามเริ่มนับถอยหลังสู่จุดจบ. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam</b>
4
<bR><FONT color=#000033>ทหารหญิงเดินผ่านจรวด SAM-2 หรือ S-75 Dvina ที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต ในภาพวันที่ 7 ธ.ค.2555 ที่ติดตั้งบริเวณหน้าอาคาร พิพิธภัณฑ์ชัยชนะเหนือบี-52 ในกรุงฮานอย เวียดนามกำลังฉลองใหญ่ครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ที่เรียกว่า ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ เป็นเวลา 12 วัน 12 คืนในเดือน ธ.ค.2515 ซึ่งระหว่างนั้นสหรัฐฯ สูญบี-52 ไป 34 ลำ รวมทั้ง 1 ลำที่ถูกยิงตกโดยเครื่องบินขับไล่มิก-21 ลำเล็กๆ และล้าสมัยของเวียดนาม. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam</b>
5
.

บันทึกของผู้เชี่ยวชาญโซเวียตอีกคนหนึ่งระบุว่า มอสโกได้ช่วยฝึกการใช้จรวด SAM-2 ให้ฝ่ายเวียดนามเหนือมาตั้งแต่ปี 2509-2510 ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ประสบการณ์ในสนามรบโดยตรง และในนั้น มีจำนวนหนึ่งเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสหรัฐฯ ทั้งในฮานอย และในจังหวัดอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอาวุธดีใช้ แต่การต่อกรกับ “ป้อมบินยักษ์” บี-52 และมหาอำนาจที่มีกำลังทางอากาศใหญ่โต และทันสมัยที่สุดในโลกไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เชี่ยวชาญโซเวียตช่วยเวียดนามพัฒนายกระดับ SAM-2 มาเป็นระยะๆ โดยใช้เวลาหลายปี เนื่องจากฝ่ายสหรัฐฯ เองได้พัฒนา “สงครามอิเล็กทรอนิกส์” อย่างต่อเนื่อง

โซเวียตช่วยเวียดนามอัปเกรดทั้งจรวด ระบบระบบควบคุม จนถึงระบบเรดาร์เพื่อชี้เป้าหมายให้พ้นจากการรบกวนของฝ่ายข้าศึก ซึ่งทำให้การยิง SAM-2 แม่นยำยิ่งขึ้น จนกระทั่งทหารเวียดนามสามารถปฏิบัติการได้ด้วยตัวเองตลอด 12 วัน 12 คืน ในยุทธการสำคัญนี้

ในคืนแรกของปฏิบัติการวันที่ 18 ธ.ค. บี-52 ที่น่าเกรงขามถูกยิงตกไป 3 ลำ (ตัวเลขของสหรัฐฯ และเวียดนามตรงกัน) ในการต่อต้านอันเข้มแข็งที่ฝ่ายสหรัฐฯ ไม่เคยคาดคิดจะได้เห็น สหรัฐฯ ระบุว่า เวียดนามยิงจรวดราว 200 ลูกในวันแรก ไม่เคยคิดว่าเวียดนามเหนือจะมีจรวดต่อสู้อากาศยานมากมาย

อย่างไรก็ตาม เอกสารของฝ่ายเวียดนามระบุว่า “การปรับตัวอย่างทันท่วงทีจากบทเรียนในวันแรกๆ ทำให้การป้องกันน่านฟ้าเมืองหลวงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ในคืนวันที่ 20 ธ.ค.เพียงคืนเดียว เวียดนามยิงบี-52 ตกถึง 7 ลำ ด้วย SAM-2 เพียง 36 ลูก หรือเฉลี่ย 5.2 ลูกต่อลำ

ตัวเลขของเวียดนามระบุว่า ใน 3 วันแรก (18-21 ธ.ค.) สหรัฐฯ ส่งบี-52 ไปทิ้งระเบิดกรุงฮานอย 90 เที่ยว/ลำ ในนั้นถูกยิงตกรวม 12 ลำ ถึงแม้สหรัฐฯ จะบันทึกการสูญเสียเอาไว้เพียง 9 ลำ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด

การสูญเสียได้ทำลายขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานอย่างรุนแรง โรเบิร์ต โอ ฮาร์เดอร์ (Robert O Harder) อดีตนักบินบี-52 คนหนึ่งเขียนเอาไว้ในบันทึก “สงคราม 11 วัน” ของเขาในเวลาต่อมา

ฉลอง 40 ปี “แจ็กล้มยักษ์”
เดิ๊ตเหวียด/กวนโด่ยเญินซเวิน


6

7

8

8

10

11

12

13

14

15

16
<bR><FONT color=#000033>อดีตนายกรัฐมนตรีเวียดนามฝ่ามวันดง (Pham Van Dong) ในภาพที่ไม่ได้ระบุวันถ่ายขณะไปเยี่ยมประชาชนในหลุมหลบภัยใต้ดินแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ในช่วงที่สหรัฐฯ โจมตีทิ้งระเบิดเมืองหลวงอย่างหนัก. -- เดิ๊ตเหวียดออนไลน์. </b>
17
<bR><FONT color=#000033>พล.อ.หวอ-งเวียน-ย้าป (Vo Nguyen Giap)  อดีตรัฐมนตรีกลาโหม-ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนาม ในภาพที่ไม่ระบุวันถ่าย ขณะฟังบรรยายสรุปที่กองบัญชาการกองพันต่อสู้อากาศยานแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ช่วงก่อนจะเริ่มยุทธการสำคัญ 12 วัน 12 คืน ป้องกันเมืองหลวงจากการโจมตีทิ้งระบิดของเครื่องบินบี-52.-- เดิ๊ตเหวียดออนไลน์. </b>
18
.

สหรัฐฯ สูญเสียหนักยิ่งขึ้นในการโหมโจมตีระลอกที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-29 ธ.ค.2515 ซึ่งตลอดช่วง 12 วัน 12 คืน มีบี-52 ถูกยิงตกทั้งหมด 34 ลำ อีกหลายลำที่รอดกลับไป เสียหายหนักจนไม่สามารถใช้การได้อีก มีนักบินกับลูกเรือบี-52 กับนักบินเครื่องบินรบแบบต่างๆ เสียชีวิต หรือถูกจับรวมนับร้อยๆ คน นับเป็นการสูญเสียแบบย่อยยับที่สุดอีกครั้งหนึ่งในสงครามทางอากาศระหว่างยักษ์ใหญ่กับ “แจ็ก” ตัวเล็กๆ

เอกสารที่เคยเป็นความลับของเวียดนาม ซึ่ง “เดิ๊ตเหวียด” นำออกเผยแพร่ ได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการเคลื่อนย้ายจรวด S-75 อันใหญ่โต หนีการโจมตีของเครื่องบินสหรัฐฯ รวมทั้งความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายเสริมกำลังหน่วยต่อสู้อากาศยานรอบๆ เมืองหลวง เนื่องจากเส้นทางขนส่งต่างๆ ถูกทิ้งระเบิดทำลายเสียหายหนัก

แต่ตลอดเวลา 12 วัน 12 คืนของยุทธการฯ เวียดนามใช้กำลังต่อสู้อากาศยานป้องกันเมืองหลวงรวม 13 กองพัน ต่อสู้กับบี-52 เกือบ 200 เที่ยว/ลำ (ราว 48% ของจำนวนทั้งหมด) ที่ไปจากฐานทัพอากาศแอนเดอร์สันบนเกาะกวม กับฐานบินอู่ตะเภาในประเทศไทย สามารถยิงบี-52 ตกทั้งหมด 25 ลำ ในนั้นมี 16 ลำถูก “ตกในทันที” รวมทั้ง 3 ลำ ทีตกลงในกรุงฮานอย

ก่อนจะถึงวันที่สหรัฐฯ ลงมือ ทางการเวียดนามได้อพยพประชาชนออกจากเมืองหลวงกว่า 55,000 คน ที่ยังเหลืออยู่เกือบทุกครอบครัวต้องขุดหลุมหลบภัยตามถนนหรือสวนสาธารณะ แต่ถึงกระนั้น การโจมตี 12 วัน 12 คืนได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันๆ รวมทั้งแพทย์ และพยาบาลกว่า 20 คน แห่งโรงพยาบาลบั๊กมาย (Bac Mai) ที่ถูกทิ้งระเบิดด้วย

หลัง “ยุทธการฮานอย-เดียนเบียนฟูทางอากาศ” ผ่านไป เวียดนามเหนือยังทำสงครามกับสหรัฐฯ ต่อมาอีก 2 ปีกับ 4 เดือน จึงยุติลง โดยสหรัฐฯ ถอนออกจากดินแดนเวียดนามทั้งหมด และในปีถัดมา เวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ก็ถูกรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกันภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์

จนถึงปัจจุบัน เวียดนามก็ยังเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยิงบี-52 ของสหรัฐฯ ตกในการสู้รบ.
กำลังโหลดความคิดเห็น