xs
xsm
sm
md
lg

อินเดียเป็นงง อาวุธต่อสู้รถถังซื้อจากสวีเดนไปโผล่ในพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR ><FONT color=#000033>ทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพบกสหรัฐ ทดลองยิงปืนไร้แรงสะท้อนคาร์ล กุสตาฟ เอ็ม 3 ในภาพเดือน พ.ค.2552 ที่เมืองบาสรา ประเทศอิรัก เป็นอาวุธเอนกประสงค์ยิงเจาะทำลายเกราะกำบังข้าศึก รวมทั้งยิงต่อสู้รถถัง ปัจจุบันมีใช้ในกองทัพเกือบ 50 ประเทศทั่วโลกโดยเรียกชื่อต่างๆ กันไป รวมทั้งในกองทัพบกไทยด้วย และขณะนี้ตกถึงมือกองทัพพม่าโดยยังไม่ทราบที่มาที่ไป แต่สวีเดนผู้ผลิตกล่าวว่าเป็นลอตที่ขายให้แก่อินเดียซึ่งกำลังสอบสวนเรื่องนี้. -- ภาพ: Wikipedia.Org </b>
.

ย่างกุ้ง (เอเอฟพี) - อินเดียกำลังสอบสวนเพื่อดูว่าอาวุธที่ผลิตในสวีเดน และอินเดียซื้อไปใช้ในกองทัพบกไปโผล่ในพม่าได้อย่างไร รัฐมนตรีคนหนึ่งที่กำลังเยือนกรุงย่างกุ้งกล่าวในวันเสาร์ โดยปฏิเสธว่า อินเดียไม่ได้ให้การสนับสนุนด้านอาวุธแก่กองทัพพม่า ในขณะที่สหภาพยุโรปคว่ำบาตร

เมื่อวันพฤหัสบดี สวีเดนได้ขอให้อินเดียชี้แจงว่าอาวุธที่ผลิตในสวีเดนไปอยู่ในพม่าได้อย่างไร หลังจากได้ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นอาวุธที่ฝ่ายอินเดียซื้อไป รัฐมนตรีการค้าสวีเดน นางเอวา บจอร์ลิง (Ewa Bjorling) บอกแก่รัฐสภาแห่งสวีเดน

นางบจอร์ลิงกล่าวว่า องค์การเพื่อป้องกันการเผยแพร่และควบคุมการส่งออก (Agency for Non-Proliferation and Export Controls) หรือ ISP ของสวีเดน ได้แจ้งให้ทราบว่า อาวุธเหล่านั้นไปจากอินเดีย

ภาพที่ถ่ายในพม่า และตีพิมพ์เผยแพร่ในสวีเดนสัปดาห์นี้ ได้แสดงให้เห็นปืนไร้แรงสะท้อนต่อสู้รถถังแบบคาร์ลกุสตาฟ เอ็ม3 (Carl Gustaf M3) กระบอกหนึ่ง พร้อมกระสุนถูกทิ้งเอาไว้โดยทหารรัฐบาลพม่า หมายเลขซีรีส์ของปืนกระบอกนั้นปรากฏชัดเจนในภาพๆ หนึ่ง

“สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ ... เราไม่ได้ทำธุรกิจสนับสนุนอาวุธ” นายซัลมาน คูรชิด (Salman Khurshid) รัฐมนตรีฝ่ายกิจการภายนอกของอินเดียกล่าว ทั้งย้ำว่า อินเดียจะตรวจเช็กสต๊อก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้



ระหว่างการเยือน รัฐมนตรีอินเดียได้เข้าเยี่ยมคำนับหารือข้อราชการกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง และได้พบหารือกับนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน เกี่ยวกับโครงสร้างด้านพลังงาน และประเด็นเกี่ยวกับชายแดน

ตามข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อินดิเพนเด็นซ์ของอังกฤษ ทหารพม่าใช้อาวุธของสวีเดนต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายกบฏกะฉิ่นในตอนเหนือสุดของประเทศ

ฝ่ายกบฏได้เรียกร้องให้ฝ่ายรัฐบาลหยุดปฏิบัติการอันเป็นปรปักษ์ในเดือนกันยายน หลังจากการต่อสู้ปะทุขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ต่อเนื่องกับความล้มเหลวของข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสองฝ่าย ซึ่งทำให้ราษฎรนับหมื่นคนต้องหลบหนีจากถิ่นอาศัย และความพยายามฟื้นการเจรจาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาก็ล้มเหลวอันเนื่องจากการสู้รบ

สหภาพยุโรปได้ห้ามส่งอาวุธให้พม่ามาตั้งแต่ปี 2539

เมื่อวันพุธ โฆษกของ ISP ผู้หนึ่งกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ “ไม่ปกติธรรมดา” สำหรับอาวุธสวีเดนที่ไปปรากฏอยู่ในมือของฝ่ายที่สาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น