xs
xsm
sm
md
lg

พระสงฆ์พม่าเดินขบวนประท้วงทั่วประเทศเหตุสลายชุมนุมต้านเหมืองจีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> พระสงฆ์พม่าเดินขบวนประท้วงในเมืองมัณฑะเลย์ วันที่ 12 ธ.ค. เรียกร้องให้มีการขอขมาต่อพระสงฆ์ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการประท้วงต่อต้านเหมืองทองแดงของจีนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเดือนก่อน . --  AFP PHOTO. </font></b>

เอเอฟพี - พระสงฆ์หลายร้อยรูปรวมตัวชุมนุมประท้วงในทั่วประเทศวันนี้ (12 ธ.ค.) เรียกร้องการขอขมาต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในการสลายการชุมนุมประท้วงต้านเหมืองทองแดงของจีนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อเดือนที่ผ่านมา

ผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่า พระสงฆ์ประมาณ 500 รูป เดินประท้วงไปตามถนนสายต่างๆ ในนครย่างกุ้ง ที่เป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจครั้งล่าสุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ประท้วงเหมืองมอญยอ ที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของพม่า

นอกจากการประท้วงที่นครย่างกุ้งแล้ว ในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า และในเมืองมอญยอ ยังมีพระสงฆ์หลายร้อยรูปชุมนุมประท้วงเช่นเดียวกัน เรียกร้องให้รัฐบาลขอขมาต่อพระสงฆ์ที่ได้รับบาดเจ็บ และบางรูปที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากแผลไฟไหม้จากการเข้าสลายค่ายพักแรมของผู้ชุมนุมประท้วงที่เหมืองมอญยอเมื่อเดือน พ.ย.

“เราต้องการให้พวกเขาขอขมาต่อพระสงฆ์ที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างการสลายการชุมนุมที่เหมืองทองแดง” ทูซานา แกนนำการชุมนุมประท้วงกล่าว

สื่อของทางการพม่ารายงาน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายมี้นต์ หม่อง รัฐมนตรีกระทรวงศาสนา ได้ขอขมาต่อพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของประเทศจ โดยระบุว่า เหตุการณ์ที่ทำให้มีพระสงฆ์อย่างน้อย 99 รูป และประชาชนทั่วไปอีก 11 คน ได้รับบาดเจ็บนั้น เป็นความเสียใจอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐบาล

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 100 นาย ได้กล่าวขอขมาต่อกลุ่มพระสงฆ์ในเมืองมอญยอหลังเกิดเหตุการณ์ปราบปรามการชุมนุมประท้วง แต่ความพยายามดังกล่าวไม่สามารถคลายความโกรธเคืองของประชาชนจากการปราบปรามการชุมนุมดังกล่าว ที่นับว่าเป็นการปราบปรามอย่างรุนแรงที่สุดต่อผู้ชุมนุมตั้งแต่รัฐบาลนักปฏิรูปเข้ามาบริหารประเทศเมื่อปีก่อน ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงอีกหลายระลอกตามมาในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้

ทูซานา แกนนำการชุมนุมประท้วงกล่าวว่า ผู้ชุมนุมต้องการให้ทางการขอโทษโดยตรงต่อผู้ได้รับบาดเจ็บ และระบุว่า หากรัฐบาลไม่ตอบสนอง ฝ่ายผู้ชุมนุมก็มีแผนที่จะตอบโต้เช่นกัน

ภาพอาการบาดเจ็บของผู้ประท้วงสร้างความไม่พอใจไปทั่วพม่า ซึ่งทำให้ประชาชนย้อนนึกถึงยุคสมัยรัฐบาลทหารที่ปราบปรามการชุมนุมประท้วงนำโดยพระสงฆ์อย่างรุนแรงเมื่อปี 2550

ความขัดแย้งที่เหมืองมอญยอมีประเด็นหลักอยู่ที่ข้อกล่าวหาว่ามีการบังคับไล่ที่ประชาชน และโครงการเหมืองที่เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทของจีน และกิจการของกองทัพพม่า สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ยุติโครงการเพื่อทำการศึกษาผลกระทบ แต่ฝ่ายจีนยืนยันว่า ประเด็นปัญหาที่ประชาชนวิตกกังวลนั้นได้รับการแก้ไขแล้ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น