xs
xsm
sm
md
lg

อิเหนาทุ่มหนักซื้อเรือรบอีก 3 ลำ จรวดชุดบราซิล ปืนใหญ่ฝรั่งเศส

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>เรือนาโคดา รากัม (KDB Nakhoda Ragam - 28) ลำแรกของเรือคอร์แว็ตชั้นนี้ ลอยลำในอ่าวกลาสโก (Glasgow) สกอตแลนด์ มานานกว่า 10 ปี หลังจากกองทัพเรือบรูไนไม่ยอมรับ และตกทอดสู่อินโดนีเซียซึ่งซื้อต่อในราคาลำละ 50 ล้านดอลลาร์ ใช้เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ ติดอาวุธเพียบ.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อินโดนีเซียยังทุ่มงบประมาณจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อย่างต่อเนื่องอันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันประเทศในระยะ 10 ปี ล่าสุด ไม่นานมานี้ได้ตัดสินใจซื้อเรือคอร์แว็ตอีก 3 ลำ จากอังกฤษเพื่อใช้สำหรับตรวจการณ์ชายฝั่ง ซื้อปืนใหญ่ 155 มม.อัตตาจรจากฝรั่งเศส และจรวดชุดติดตั้งบนรถยนต์จากประเทศบราซิล รวมเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์

เรือรบที่จัดซื้อล่าสุดเป็นชั้นนาโคดา รากัม (Nakhoda Ragam-Class) บริษัท BAE System ต่อให้กองทัพเรือบรูไนแล้วเสร็จทั้งหมดตั้งแต่ปี 2547 แต่เกิดเป็นคดีความกัน พระราชาธิบดีแห่งบรูไนทรงไม่ชอบพระทัยที่ “ไม่ได้ตามพระประสงค์” จึงไม่ยอมรับมอบ

ตามรายงานของบีบีซีกรุงลอนดอนก่อนหน้านี้ การไกล่เกลี่ยยุติลงในปี 2550 บรูไนยอมจ่ายเงินค่าเรือทั้งหมด 600 ล้านปอนด์ แต่ไม่ยอมรับมอบ และให้บริษัทในเยอรมนีแห่งหนึ่งจัดการขยายให้ ซึ่งในที่สุดก็ลงเอยที่อินโดนีเซีย ซึ่งรายงานในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งในสัปดาห์นี้ระบุว่า ซื้อในราคาเพียง 20% เท่านั้น

สำนักข่าวกลาโหมปากีสถานที่ติดตามเรื่องนี้มานานได้รายงานว่า บรูไนตัดสินใจขายให้อินโดนีเซียในราคาลำละ 50 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากกองทัพเรือบรูไน (Kapal Diraja Brunei - KDB) ใช้เรือรบที่ติดเครื่องยนต์ดีเซลทั้งหมด แต่เรือคอร์แว็ตชั้นนี้ใช้เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ กลายเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่มีที่ซ่อมบำรุง

ตามรายงานในเว็บไซต์ naval-technology.com บรูไนเซ็นสัญญากับ BAE ในปี 2541 สองลำแรกคือ เรือนาโคดา รากัม (ตั้งชื่อตามนักเดินเรือชาวมาเลย์คนหนึ่ง) กับเรือเบดาฮารา สกัม (KDB Bendahara Skam) ต่อเสร็จในเดือน ม.ค. กับ มิ.ย.2544 ตามลำดับ จอดที่อู่สก็อตสทูน (Scotstoun ) ของบริษัท BAE Systems Marine เมืองกลาสโก ในสกอตแลนด์ตั้งแต่นั้น ลำสุดท้ายคือ เจรัมบัค (KDB Jerambak) เสร็จในเดือน มิ.ย.2545

เรือชั้นนาโคดารากัม มีขนาดเพียง 1,940 ตัน ยาว 95 เมตร ใช้ระบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด ติดระบบอำนวยการ และควบคุมอาวุธนอทิส 2 (Nautis II) ใช้นายทหารกับลูกเรือประจำการเพียง 79 คน เป็นอีกเวอร์ชันหนึ่งของเรือติดอาวุธนำวิถีแบบ F2000 ของกองทัพเรืออังกฤษ

ทั้ง 3 ลำติดจรวดเอ็กโซเซ็ต (เอ็กโซเซ่?) MM40 Block II ของฝรั่งเศส ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานซีวูล์ฟ (Sea Wolf) ของอังกฤษ ปืนใหญ่โอโตเมลารา (Oto Melara) 76 มม. ที่มีชื่อเสียงของอิตาลี ระบบปืนใหญ่อัตโนมัติ 30 มม.ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 324 มม.อีก 2 ท่อ ติดตั้งระบบเรดาร์ Optoelectronic Ramadec 2500 ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งกองทัพเรือจีนด้วย

ระบบปืนใหญ่เรือ Oto Melara Youtube.Com


รล.สุโขทัย-ของเราก็มีYoutube.Com


.
<bR><FONT color=#000033>เรือเบดาฮารา สกัม (KDB Bendahara Skam -29) เป็นลำที่ 2 ในชั้นเดียวกัน ต่อเสร็จหลังเรือนาโคดา รากัม อยู่ 5 เดือน ลอยลำรอเจ้าของในสกอตแลนด์นาน 10 ปี ส่วนลำที่ 3 ต่อเสร็จในปี 2545 พระราชาธิบดีแห่งบรูไนไม่ยอมรับแต่ยอมจ่าย 600 ล้านปอนด์และให้บริษัทเอกชนในเยอรมนีแห่งหนึ่งติดต่อหาลูกค้าเพื่อ ขายทิ้ง และตกสู่มืออินโดนีเซียเพื่อนบ้าน. </b>
2
เรือชั้นนี้ยังมีลานจอดเฮลิตอปเตอร์อีก 1 ลำ และด้วยราคาดังกล่าวอินโดนีเซียได้ระบบอำนวยการ และควบคุมอาวุธ รวมทั้งอาวุธประจำเรือ กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมด ยกเว้นเพียง ฮ.เท่านั้น

“สหราชอาณาจักรได้ให้คำมั่นจะสนับสนุนอย่างเต็มที่การสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคง และการป้องกันชาติของอินโดนีเซีย” รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซียยุสกิอานโตโร (Yusgiantoro) ให้สัมภาษณ์ระหว่างไปเยือนกรุงลอนดอนปลายเดือนที่แล้ว ซึ่งได้พบหารือกับฝ่ายอังกฤษ รวมทั้งเข้าเยี่ยมคำนับนายเดวิด คาเมรอน ด้วย

ตามรายละเอียดที่เพิ่งจะมีการเปิดเผย อังกฤษได้ตกลงขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่อินโดนีเซียหลายรายการ รวมทั้งระบบจรวดสตาร์เตรค (Starstreak) ปืนสไนเปอร์ เรือรบ และอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง

ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ข่าวกลาโหมเจนส์ (Jane's) ที่มีชื่อเสียงในกรุงลอนดอนรายงานในสัปดาห์นี้ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อินโดนีเซียได้เซ็นซื้อปืนใหญ่แบบอัตตาจรขนาด 155 มม. แบบซีซาร์ (CAESAR -- CAmion Equipe d'un Systeme d'ARtillerie) จากฝรั่งเศส จำนวน 37 กระบอก มูลค่าประมาณ 240 ล้านดอลลาร์ สำหรับกรมทหารปืนใหญ่ 2 แห่ง โดยเริ่มส่งมอบปี 2556 เป็นต้นไป

แต่เว็บไซต์ข่าวกลาโหมอีกแห่งหนึ่งรายงานว่า ปืนใหญ่ล็อตนี้มีมูลค่าเพียง 170 ล้านดอลลาร์ และอินโดนีเซียซื้อครั้งแรกเพียง 2 กระบอกโดยได้รับมอบในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แต่เว็บไซต์แห่งนี้ไม่ได้อ้างแหล่งที่มาของข่าว

ตามรายงานของ Jane's กองทัพบกไทยมีปืนใหญ่ฝรั่งเศสแบบเดียวกัน จำนวน 6 กระบอก และได้นำออกปฏิบัติการสนามในช่วงที่เกิดการปะทะที่ชายแดนกัมพูชาในเดือน ก.พ.2554 ซึ่งฝ่ายไทยกล่าวว่า ทำลายรถบรรทุกระบบจรวดชุด BM-21 “กราด” ของกัมพูชาได้อย่างน้อย 4 คัน
.

<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก Wikipedia ไม่ได้ระบุวันและสถานที่ถ่าย เป็นปืนใหญ่อัตตาจร ซีซาร์ 155 มม. กองทัพบกไทยมีใช้อยู่ 6 กระบอก ตามรายงานของเจนส์ (Janes) ไทยใช้ดวลกับฝ่ายเขมรในการปะทะชายแดนเดือน ก.พ.2554 และระบุว่าทำลายรถบรรทุกจรวดชุด BM-21 ของฝ่ายนั้นได้อย่างน้อย 4 คัน.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>ทหารฝรั่งเศสยิงปืนใหญ่ซีซาร์ 155 มม. ที่สนามบินบากรัม ในอัฟกานิสถาน วันที่ 14 ส.ค.2552 ปัจจุบันปืนใหญ่อัตตาจรที่ผลิตโดยบริษัทเน็กซ์ตาร์แห่งฝรั่งเศส มีใช้ในหลายประเทศทั่วโลก อินโดนีเซียเพิ่งสั่งซื้อ 37 กระบอก ยังไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่สัปดาห์เว็บไซต์ข่าวกลาโหมรายงานตัวเลขระหว่าง 150-240 ล้านดอลลาร์. -- US Army Photo/Sgt. Teddy Wade.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>ทหารฝรั่งเศสยิงปืนใหญ่ซีซาร์ 155 มม. ที่สนามบินบากรัม ในอัฟกานิสถาน วันที่ 14 ส.ค.2552 ปัจจุบันปืนใหญ่อัตตาจรที่ผลิตโดยบริษัทเน็กซ์ตาร์แห่งฝรั่งเศส มีใช้ในหลายประเทศทั่วโลก อินโดนีเซียเพิ่งสั่งซื้อ 37 กระบอก ยังไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่สัปดาห์เว็บไซต์ข่าวกลาโหมรายงานตัวเลขระหว่าง 150-240 ล้านดอลลาร์. -- US Army Photo/Sgt. Teddy Wade.</b>
5
ปืนใหญ่ซีซาร์ยังถูกนำเข้าใช้ในสงครามอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังฝ่ายพันธมิตร มีรัศมีการยิง 50 กิโลเมตร Jane's กล่าว

ลูกยาวจากฝรั่งเศส
Youtube.Com


เจนส์ยังรายงานในสัปดาห์นี้เช่นกันว่า อินโดนีเซียเพิ่งจะสั่งซื้อระบบจรวดชุดแอสโตรส์ 2 (Astros II) จากบราซิล จำนวน 36 ชุด มีท่อยิงติดตั้งบนรถบรรทุก และมีรถอำนวยการยิงอีก 1 คัน ทั้งหมดรวมมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์

ระบบจรวดหมู่แอสโตรส์ 2 ผลิตออกมา 5 เวอร์ชัน มีขนาดให้เลือก 127 180 และ 300 มม. รัศมีการยิงตั้งแต่ 30 จนถึง 150 กม. ปัจจุบันมีใช้ในกองทัพบราซิล บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อิรัก และมาเลเซีย ยังไม่มีรายละเอียดอื่นๆ ว่าอินโดนีเซียสั่งซื้อเป็นรุ่นใด

ซัดเป็นชุดๆ จากบราซิล
Youtube.Com


6

7

8
การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ 3 ประเภทล่าสุดนี้ มีขึ้นหลังจากตอนต้นปีได้ตกลงซื้อเรือฟรีเกตเทคโนโลยี “สเตลธ์” ที่ต่อในประเทศโดยบริษัทสวีเดน จำนวน 4 ลำ ซื้อเครื่องบินรบเอฟ-16 ของเก่าอัปเกรดจากสหรัฐฯ 16 ลำ กับเครื่องบินขนส่งลำเลียงซี-130 อีก 2 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินเก่าแต่อัปเกรดจากออสเตรเลีย ซื้อรถถังเลโอพาร์ด จากเยอรมนี

ในเดือน ส.ค.ปีนี้ อินโดนีเซียได้รับมอบ เครื่องบินฝึกใบพัดซูเปอร์ทูคาโน 4 ลำแรก จากทั้งหมด 8 ลำ ที่สั่งซื้อลอตแรกจากผู้ผลิตในบราซิล.
กำลังโหลดความคิดเห็น