xs
xsm
sm
md
lg

แต่งทรง “ปากฉลาม” ฝูงบินใหม่อิเหนาบินย้อนเวลาหาอดีต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ Jakarta Post ขยายและแต่งขึ้นใหม่ เครื่องบินซูเปอร์ทูคาโน (Super Tucano) หนึ่งในสี่ลำซึ่งมีพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการอาทิตย์ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะบินไปประจำการในจังหวัดชาตะวันออก ฐานทัพอากาศแห่งนั้นเคยเป็นที่ตั้งของ ฝูงฉลามบิน พี-51 มัสแตง (P-51 Mustang) ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ครั้งสงครามเอเชียบูรพา ซูเปอร์ทูคาโนทั้งฝูงแต่งแบบย้อนยุคเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของฝูงบินเอาไว้. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพอากาศอินโดนีเซียทำพิธีรับเครื่องบินซูเปอร์ทูคาโน (Super Tucano) ใหม่เอี่ยมจำนวน 4 ลำ ในวันอาทิตย์ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะส่งไปประจำการในจังหวัดชวาตะวันออกในวันเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ สื่อของทางการกล่าว

ซูเปอร์ทูคาโนทั้ง 4 ลำ ทำลวดลายเป็นรูปปากปลาฉลามที่ส่วนหน้าสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่พบเห็นต้องรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเอเชียบูรพาที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ เคยแต่งหน้าทาปากเครื่องบินขับไล่ พี-51 มัสแตง (Mustang) “ไอ้ม้าป่า” ไปประจำการในอินโดนีเซีย

ยังมีเครื่องบินรบยุคสงครามโลกอีกหลายรุ่นที่นิยมแต่งลวดลายปากฉลาม ซึ่งให้ความรู้สึกน่าเกรงขาม รวมทั้งโทมาฮอว์ก และวาร์ฮอว์กของสหรัฐฯ ที่เคยเข้าปฏิบัติการในจีน และในพม่ากับอีกหลายรุ่น หรือในยุโรปที่กองทัพอากาศอังกฤษเคยแต่ง “สปิตไฟร์” กับ “เฮอริเคน” แบบเดียวกันนี้

เครื่องบิน EMB-314 ทั้ง 4 ลำ ผลิตโดยบริษัทสร้างอากาศยานแห่งบราซิล (Empresa Brasileira de Aeronautica- EMBRAER) หรือ “เอ็มแบร” ("เอ็ม-บรา-แอร์” ในสำเนียงโปรตุเกส) ส่งถึงทัพอากาศฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา (Halim Perdanakusuma Air Force Base) ทางตะวันออกของกรุงกรุงจาการ์ตาในวันเสาร์ ทั้งหมดบินสู่ฝูงบินที่ 21 ในชวาตะวันออกในวันอาทิตย์

เมื่อครั้งสงครามเอเชียบูรพา ฝูงบินที่ 21 ซึ่งปัจจุบันประจำที่ฐานทัพอากาศอับดุลเราะห์มานซาเละ (Abdulrahman Saleh) ในเมืองมะลัง เคยเป็นฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งของ “ฝูงฉลามบิน” P-51 กองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อต่อต้านการขยายอำนาจของกองทัพอาทิตย์อุทัยเข้ามาในย่านนี้ หนังสือพิมพ์ในอินโดนีเซียกล่าว

“เครื่องบินทาสีเทาพรางลำตัวเพื่อให้กลมกลืนกับพื้นที่ปฏิบัติการ” พล.อ.ต.ดีดี รูซัมซี (Dede Rusamsi) รองเสนาธิการกองทัพอากาศกล่าวในพิธีต้อนรับซูเปอร์ทูคาโนทั้ง 4 ลำ

“ลวดลายปากฉลามทำขึ้นก็เพื่อธำรงขนบธรรมเนียมของฝูงบินนี้เอาไว้ตั้งแต่ยุคมัสแตง” นายทหารคนเดียวกันกล่าว

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม กองทัพอากาศอินโดนีเซียได้รับ P-51D ตกทอดมาจากสมัยสงครามจำนวน 7 ฝูง และใช้งานต่อมาอีกหลายสิบปี ประสบอุบัติเหตุไปหลายลำ ส่วนใหญ่ขึ้นบยินไม่ได้เพราะขาดอะไหล่ ที่เหลืออยู่ไม่กี่ลำในปัจจุบันวางแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์

แต่งสปิตไฟร์ Youtube.Com


แต่งให้เริด จากหลากหลายแหล่งอินเทอร์เน็ต
<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก Mustangmustang.Com โดย Marc Koelich ปัจจุบัน P-51 ไอ้ม้าป่า ของอินโดนีเซีย ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ เมืองจ๊อกการ์ตา เท่าที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ในช่วงสงครามเอเชียบูรพา ในอินโดนีเซียเคยมี P-51 ของสหรัฐฯ ประจำอยู่ถึง 7 ฝูง ทั้งหมดได้ตกทอดสู่เจ้าบ้านในช่วงหลังสงคราม วาระสุดท้ายเหลืออยู่ 7 ลำและถูกนำเข้าพิพิธภัณฑ์ ซูเปอร์ทูคาโน จากบราซิลจะเข้าแทนที่เป็นการย้อนอดีต. <i>[เปลี่ยนภาพประกอบใหม่-ปรับปรุงแก้ไข]</i></b>
2
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากวิกิพีเดียอ้างแหล่งที่มาจาก airliners.net โดย Chris Lofting เป็นซูเปอร์ทูคาโนของกองทัพอากาศเปรู แต่งลวดลายปากฉลามเช่นเดียวกับของกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่ได้รับมอบ 4 ลำแรก เพื่อรำลึกอดีต.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>เครื่อง A-29 ซูเปอร์ทูคาโน กองทัพอากาศโคลัมเบีย ภาพจากวิกิพีเดีย วันที่ 29 มิ.ย.2551 โดย Neoreich.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>ภาพจาก 12af.acc.af.mil/news โดย Lt Col Jonas Reynoso กองทัพอากาศสาธารณรัฐโดมินิกัน เป็น A-29B ซูเปอร์ทูคาโนขณะบินตรวจการณ์ แต่งลาดลายปากฉลามเช่นกัน. <b>
5
แต่งต้นแบบ P-51


6

7

8
<bR><FONT color=#000033>ภาพขาวดำทั้งหมดอยู่ใน raf-112-squadron.org ของฝูงบิน 112 กองทัพอากาศอังกฤษ เป็น P-51C Mustang MK III, Mark IV และ P-51C-1-NT ที่พัฒนาต่อเนื่อง ทั้งหมดปฏิบัติการในยุโรปและแอฟริการะหว่างปี 1944-1945 ช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 มัสแตงรุ่นต่างๆ กันแต่งหน้าทาปากเป็นรูปฉลามเหมือนกัน แต่ลวดลายต่างกัน. <b>
9
กองทัพอากาศอินโดนีเซียซื้อซูเปอร์ทูคาโน เพื่อใช้แทนโอวี-10 “บรองโก” ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และประสบอุบัติเหตุตกไปหลายลำในระยะหลังเนื่องจากใช้งานมานาน จำนวนที่เหลือไม่สามารถจะขึ้นบินได้อีกแล้วเนื่องจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ไม่ได้ผลิตอะไหล่อีกแล้ว

ผู้ผลิตในบราซิลพัฒนาซูเปอร์ทูคาโนต่อจาก “ทูคาโน” ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพ ออกแบบมาเพื่อการโจมตีภาคพื้นดิน แต่สำหรับอินโดนีเซียจะใช้ซูเปอร์ทูคาโนแบบ 2 ที่นั่งในภารกิจบินตรวจการณ์ชายแดน กับภารกิจฝึกบินเป็นหลัก หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์รายงานในวันจันทร์ 3 ก.ย.นี้

อินโดนีเซียสั่งซื้อซูเปอร์ทูคาโน 2 ล็อตๆ ละ 8 ลำ ล็อตแรกซื้อจากเอ็มแบรโดยตรงในปี 2553 อีกล็อตซื้อในงานปารีสแอร์โชว์ 2009

รองเสนาธิการกองทัพอากาศกล่าวว่า ล็อตที่ 1 มีมูลค่า 143 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งแพกเกจการบำรุงรักษา และสำหรับการฝึก ซึ่งนักบินชาวบราซิลทั้ง 4 คน จะยังประจำที่ฐานทัพในชวาตะวันออกต่อไปเพื่อฝึกนักบินอินโดนีเซียจำนวน 8 คน

การมีซูเปอร์ทูคาโน 16 ลำ ทำให้จะต้องมีนักบินอย่างน้อย 24 คน นายทหารคนเดียวกันกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น